การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6641
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10515 รหัสสำเนา 19581
คำถามอย่างย่อ
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
คำถาม
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
คำตอบโดยสังเขป

แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้ กามิลุซซิยารอต ประพันธ์โดยญะฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กุละวัยฮ์ กุมี (เสียชีวิตฮ..348) และ มิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี (..385-460) ตามหลักบางประการแล้ว สายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้ แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้น ต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงาน ซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษ หนึ่ง: น่าเชื่อถือ
สอง: เป็นนักรายงานที่เชื่อถือได้ แต่อยู่ในชั้นเดียวกันกับนักรายงานที่ไม่มีการรับประกันความน่าเชื่อถือ
สาม: มีเบาะแสบ่งบอกว่าเป็นนักรายงานที่น่าเชื่อถือ
สรุปแล้ว สายรายงานของซิยารัตอาชูรอถือว่าเศาะฮี้ห์ไร้ข้อเคลือบแคลง
ส่วนในแง่เนื้อหาที่มีการตั้งข้อสงสัยเนื่องจากมีคำละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ทั้งตระกูล เราได้ชี้แจงรายละเอียดไว้แล้วในเว็บไซต์นี้ เพื่อทราบรายละเอียด กรุณาอ่านเพิ่มเติมจากคำตอบแบบสมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

ซิยารัตอาชูรอเป็นมรดกตกทอดมาจากอิมามบากิรและอิมามศอดิก(.) ฉะนั้น ควรจะเป็นที่ยอมรับทั้งในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหาก็จะต้องไม่ขัดต่อคำสอนของกุรอานและฮะดีษอื่นๆ ซึ่งหากมิได้เป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถจะนับเป็นฮะดีษที่น่าเชื่อถือได้ บทวิเคราะห์ต่อไปนี้จะกล่าวถึงทั้งสองแง่มุมอย่างสังเขป:

 หนึ่ง. สายรายงานซิยารัตอาชูรอ:
แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตดังกล่าวก็คือหนังสือสองเล่ม: กามิลุซซิยารอต ประพันธ์โดยญะฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กุละวัยฮ์ กุมี (เสียชีวิตฮ..348) และ มิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี (..385-460) ฉะนั้น ควรต้องพิจารณาหนังสือกามิลุซซิยารอตและมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนตามลำดับ

1-1. หนังสือกามิลุซซิยารอต อิบนิ กูละวัยฮ์
อิบนิ กูละวัยฮ์ กล่าวถึงผลบุญของซิยารัตอาชูรอดังนี้

حَدَّثَنِی حَکِیمُ بْنُ دَاوُدَ بْنِ حَکِیمٍ وَ غَیرُهُ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُوسَى الْهَمْدَانِی عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ خَالِدٍ الطَّیالِسِی عَنْ سَیفِ بْنِ عَمِیرَةَ وَ صَالِحِ بْنِ عُقْبَةَ جَمِیعاً عَنْ عَلْقَمَةَ بْنِ مُحَمَّدٍ الْحَضْرَمِی، وَ مُحَمَّدِ بْنِ إِسْمَاعِیلَ عَنْ صَالِحِ بْنِ عُقْبَةَ عَنْ مَالِکٍ الْجُهَنِی عَنْ أَبِی جَعْفَرٍ الْبَاقِرِ ع قَالَ مَنْ زَارَ الْحُسَینَ ع یوْمَ عَاشُورَاءَ مِنَ الْمُحَرَّمِ...". و بعد در باره سند اصل زیارت عاشورا می‌گوید: قَالَ صَالِحُ بْنُ عُقْبَةَ الْجُهَنِی وَ سَیفُ بْنُ عَمِیرَةَ قَالَ عَلْقَمَةُ بْنُ مُحَمَّدٍ الْحَضْرَمِی فَقُلْتُ لِأَبِی جَعْفَرٍ (ع) عَلِّمْنِی دُعَاءً أَدْعُو بِهِ فِی ذَلِکَ الْیوْمِ...".

 

...อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี เล่าว่า ฉันกล่าวต่ออบูญะฟัร(.)ว่า "กรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านขณะเยี่ยมเยียนใกล้กุโบรอิมามฮุเซน และกรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านจากแดนไกลบนดาดฟ้าเมื่อต้องการจะให้สลามแด่ท่านอิมาม"
ท่านตอบว่า "โอ้ อัลเกาะมะฮ์ หลังจากที่เธอให้สลามแด่ท่านอิมามฮุเซน และนมาซสองเราะกะอัตแล้ว จงกล่าวซิยารัตท่านอิมามฮุเซนในวันอาชูรอว่า: ศานติยังท่าน โอ้อบาอับดิลลาฮ์ ศานติยังท่าน โอ้บุตรของศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศานติยังท่าน โอ้ผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรร บุตรของผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรร ศานติยังท่าน โอ้บุตรของอมีรุ้ลมุอ์มินีน และบุตรของประมุขแห่งเหล่าตัวแทน ศานติยังท่าน โอ้บุตรของฟาฏิมะฮ์ นายหญิงแห่งปวงสตรีทั้งผอง..."[1]

สรุปได้ว่าที่ต้นทางของฮะดีษคือ อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี และ มาลิก บิน อะอ์ยุน ญะฮ์นี ซึ่งรายงานจากอิมามมะอ์ศูม ทั้งสองสายดังกล่าวรายงานผ่านศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ โดยที่สายหนึ่งมีชื่อ สัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ปรากฏอยู่ แต่อีกสายหนึ่งไม่มีบุคคลนี้
สายรายงานชั้นต้นก็คือศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ และสัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ รายงานจากอัลเกาะมะฮ์ บิน ฮัฎเราะมี จากอิมามบากิร(.) สรุปคือ ฮะดีษนี้มีสามสายรายงานดังต่อไปนี้:
. ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม และคนอื่นๆ จาก มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี จาก มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี จาก สัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ จาก อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี
. ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม และคนอื่นๆ จากมุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี จาก มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี จาก ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ จาก อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี
. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล จาก ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ จาก มาลิก ญะฮ์นี จาก อิมามบากิร 

สายรายงานที่สามมีข้อสันนิษฐานสองประการ
หนึ่ง. อิบนิ กูละวัยฮ์ รายงานซิยารัตนี้จากหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล ดังที่เชคฏูซีก็รายงานจากหนังสือดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้ สายรายงานก็จะเชื่อมจากมุฮัมมัด บิน อิสมาอีลถึงศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์
สอง. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล เชื่อมกับ มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี ในกรณีนี้สายรายงานจะเป็นดังนี้:
ฮะกีม บิน ดาวู้ด, มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี, มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์, ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์, มาลิก ญะฮ์นี
แต่ข้อสันนิษฐานนี้ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล เป็นที่แพร่หลายในยุคนั้น ซึ่งเชคฏูซี และอิบนิ กูละวัยฮ์ ต่างก็รายงานจากหนังสือเล่มดังกล่าว

วิจารณ์สายรายงานของอิบนิ กูละวัยฮ์
อิบนิ กูละวัยฮ์ กล่าวถึงหนังสือของตนในอารัมภบทว่า
ฉันมิได้มีความรู้ครอบคลุมฮะดีษทุกบทที่รายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับบทซิยารัตและเรื่องอื่นๆ แต่ทุกฮะดีษที่ฉันอ้างไว้ในหนังสือเล่มนี้ ล้วนรายงานจากมิตรสหายของเราที่เชื่อถือได้ และฉันไม่รายงานฮะดีษใดจากบุคคลนิรนาม ซึ่งมักจะรายงานเรื่องราวของบรรดาอิมามจากผู้ที่ไม่เป็นที่รู้จักในแง่ฮะดีษ และไม่คุ้นเคยกันในแวดวงวิชาฮะดีษ[2]
หลังจากที่เชค ฮุร อามิลีให้การยอมรับสายรายงานของตัฟซี้รอลี บิน อิบรอฮีมแล้ว ท่านกล่าวถึงสายรายงานของหนังสือกามิลุซซิยารอตว่า "ญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กูละวัยฮ์ให้คำมั่นว่าสายรายงานที่ปรากฏในกามิลุซซิยารอตล้วนน่าเชื่อถือ และการฟันธงดังกล่าวค่อนข้างจะชัดเจนกว่ากรณีของอลี บิน อิบรอฮีม[3]

อย่างไรก็ดี ผู้รู้บางท่านเชื่อว่าประโยคดังกล่าวจะมีผลต่อนักรายงานคนแรกเท่านั้น นั่นก็คือผู้ที่อิบนิ กูละวัยฮ์รายงานโดยตรง[4] หลักคิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของอายะตุลลอฮ์ คูอี้ในบั้นปลายชีวิตของท่าน[5] แม้ในอดีตท่านจะเคยกล่าวว่า "สำนวนนี้ระบุชัดเจนว่า อิบนิ กูละวัยฮ์ไม่เคยรายงานฮะดีษจากมะอ์ศูมีน นอกจากจะแน่ใจเสียก่อนว่าเป็นสหายของเราที่น่าเชื่อถือพอ[6]

อย่างไรก็ดี ควรวิเคราะห์นักรายงานฮะดีษเป็นรายบุคคลดังต่อไปนี้

ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม
แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือ แต่ก็มิได้ถูกตั้งข้อสงสัย อีกทั้งผู้ประพันธ์หนังสือตะฮ์ซีบุลอะห์กามก็ได้รายงานฮะดีษจากบุคคลนี้ด้วย[7] มุฮัดดิษ นูรี ถือว่าเขาเป็นหนึ่งในครูบาด้านฮะดีษของอิบนิ กูละวัยฮ์[8] จากการที่เขาได้รับการยืนยันในภาพรวม และไม่มีใครตั้งข้อสงสัยเขา ก็ถือว่าไว้ใจได้

มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี
บางคนถือว่าเขาไม่น่าเชื่อถือ[9] แต่มัรฮูมคูอี้ถือว่าคำยืนยันของอิบนิ กูละวัยฮ์เกี่ยวกับสายรายงานกามิลุซซิยารอตนับเป็นทัศนะที่มาหักล้าง และเนื่องจากมีการขัดแย้งกัน จึงปัดตกไปทั้งสองทัศนะ ผลก็คือ มุฮัมมัด บิน มูซา ถือเป็นมัจฮู้ล(นิรนาม)ในแง่วิชาริญ้าล[10]

มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี และ มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์
เราจะกล่าวถึงสองคนนี้เป็นลำดับต่อไป

อะเกาะบะฮ์ บิน เกส กูฟี
เขาคือบิดาของศอลิห์ และเป็นสหายของอิมามศอดิก(.) สันนิษฐานว่าไม่มีใครยืนยันหรือปฏิเสธความน่าเชื่อถือของเขา[11]

มาลิก ญะฮ์นี
ดังที่กล่าวไปแล้ว มาลิก ญะฮ์นี คือผู้รายงานจากอิมาม(.)ในสายรายงานที่สอง ซึ่งเขาก็คือ มาลิก บิน อะอ์ยัน ญะฮ์นี สหายของอิมามบากิร(.) ซึ่งเชคมุฟี้ดกล่าวว่ามาลิกเป็นที่ยกย่องของท่านอิมาม(.)[12]

ข้อสรุปจากการวิจารณ์บุคคลเหล่านี้ก็คือ แม้เราไม่อาจจะพิสูจน์ความถูกต้องของสายรายงานนี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากบางมาตรฐานเชื่อว่าสายรายงานนี้ไม่มีปัญหาใดๆ

1-2. หนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี
เชคฏูซีรายงานซิยารัตอาชูรอไว้ในหนังสือของตนผ่านสองสายรายงาน
1-2-1. สายรายงานแรกของเชคฏูซี
ท่านกล่าวถึงสายรายงานแรกว่า:

روى محمد بن إسماعیل بن بزیع عن صالح بن عقبه و سیف بن عمیره عن علقمه بن محمد الحضرمى «قلت لأبى جعفر: علمنى دعاءً أدعو به ذلک الیوم إذا أنا زُرته من قرب، و دعاءً ادعو به إذا لم أَزَره مِن قُرب و أَومات مِن بَعد البلاد، و من دارى بالسلام إلیه.  قال: فقال لى یا علقمه إذا أنت صلیت رکعتین

...อัลเกาะมะฮ์เล่าว่า ฉันกล่าวต่ออบูญะฟัร(.)ว่า "กรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านขณะเยี่ยมเยียนใกล้กุโบรอิมามฮุเซน และกรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านจากแดนไกลบนดาดฟ้าเมื่อต้องการจะให้สลามแด่ท่านอิมาม"
ท่านตอบว่า "โอ้ อัลเกาะมะฮ์ หลังจากที่เธอให้สลามแด่ท่านอิมามฮุเซน และนมาซสองเราะกะอัตแล้ว หลังจากนั้นให้สลามและชี้ไปยังกุโบรของท่านอิมาม จงกล่าวตักบี้รขณะชี้ และจงอ่านบทซิยารัตนี้ ซึ่งเป็นดุอาเดียวกันกับที่มะลาอิกะฮ์ใช้อ่านขณะซิยารัตท่านว่า ...ศานติยังท่าน โอ้อบาอับดิลลาฮ์...[13]

เกี่ยวกับสายรายงานข้างต้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ประเด็นต่อไปนี้:

. สายรายงานของเชคฏูซีจนถึงมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์
เชคฏูซีรายงานฮะดีษข้างต้นจากหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์ และได้ระบุสายรายงานที่เชื่อมต่อหนังสือดังกล่าวดังนี้

محمد بن إسماعیل بن بزیع؛ له کتاب فی الحج، أخبرنا به ابن أبی‏ جید عن محمد بن الحسن بن الولید عن علی بن إبراهیم عن أبیه عن محمد بن إسماعیل

อิบนิ อบี ญัยด์ จาก มุฮัมมัด บิน ฮะซัน บิน วะลี้ด, จาก อลี บิน อิบรอฮีม กุมี, จากพ่อของเขา, จาก มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์[14]

ฉะนั้น สายรายงานของฮะดีษจะเป็นเช่นนี้ เชคฏูซี, อลี บิน อะหมัด บิน มุฮัมมัด บิน อบี ญัยด์, มุฮัมมัด บิน ฮะซัน บิน วะลี้ด, จาก อลี บิน อิบรอฮีม กุมี, จาก อิบรอฮีม, จาก มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์

กล่าวได้ว่าทุกคนในสายรายงานดังกล่าวล้วนเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญวิชาริญ้าลทั้งสิ้น ครูบาฮะดีษเหล่านี้ล้วนน่าเชื่อถือ และไม่จำเป็นต้องสาธยายถึงสถานะดังกล่าว

มาถึงการวิจารณ์สายรายงานแรก
อิบนิ อบี ญัยด์ 
เป็นครูบาของเชคฏูซีและมัรฮูมนะญาชี ซึ่งครูบาของมัรฮูมนะญาชีล้วนเป็นที่ไว้วางใจของอุละมาอ์โดยไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ ดังที่มัรฮูมคูอี้กล่าวว่า "สายรายงานของเชคศ็อฟฟ้ารนอกเหนือจากหนังสือบะศออิ้ร ถือว่าเศาะฮี้ห์ทั้งสิ้น สันนิษฐานว่าสายรายงานในหนังสือดังกล่าวก็น่าจะเป็นเช่นนั้นด้วย เนื่องจากมีชื่ออิบนิ อบี ญัยด์อยู่ ซึ่งเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะเขาเป็นครูบาฮะดีษของนะญาชี

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12943 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7623 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    6113 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7035 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12781 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8963 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8623 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7974 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60039 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27869 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27678 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25699 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...