Please Wait
6993
อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย
ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ
ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด
มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก”
อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก[1] แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย[2]
ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ[3]
ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด เมื่อถึงจุดนี้ การล่อลวงใดๆก็ไม่สามารถทำอะไรเขาได้อีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่น
เราทุกคนรู้ดีว่าผู้ที่ตายไปแล้วย่อมจะไม่สามารถกระทำสิ่งใดได้เลย นี่คือสิ่งที่เรายอมรับด้วยเหตุและผล แต่ทว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่หยั่งรากลึกในหัวใจ ด้วยเหตุนี้เองที่หลายคนยังกลัวผู้ตายโดยเฉพาะในยามค่ำคืน แต่สัปเหร่อที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับผู้ตายกลับไม่หวาดกลัวใดๆ[4] ด้วยเหตุนี้เอง หากมนุษย์บรรลุถึงระดับขั้นแห่ง“การประจักษ์”ก็จะทำให้มีจิตใจที่สงบมั่น ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)ศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพอย่างแรงกล้าและบริสุทธิ์ใจโดยไม่มีความเคลือบแคลงใดๆ ทว่าท่านต้องการจะบรรลุถึงความสงบมั่นทางจิตใจ
มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจ แต่ทว่าขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ท่านอีก”[5]
ฮะดีษบางบทช่วยขจัดข้ออ้างที่ว่า ในเมื่อท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)เคยมีความเคลือบแคลงสงสัย หากเราจะสงสัยบ้างก็ไม่เห็นเป็นไร
มีฮะดีษหนึ่งกล่าวว่า มีชายคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงท่านอิมามมูซา กาซิม(อ.)ว่า กระผมมีความเคลือบแคลงในใจ และอยากให้ท่านแสดงอภินิหารให้ประจักษ์ ดังที่ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.เคยขอให้อัลลอฮ์แสดงกระบวนการคืนชีพซากศพ ท่านอิมาม(อ.)ตอบว่า “อันที่จริง นบีอิบรอฮีม(อ.)ศรัทธาอย่างแรงกล้า เพียงแต่ท่านประสงค์จะได้รับการเพิ่มพูนศรัทธา ส่วนเธอนั้นกำลังสงสัย และไม่มีข้อดีใดๆสำหรับผู้เคลือบแคลงสงสัยเลย”[6]
ฉะนั้น เราทุกคนจะต้องมีความมั่นใจในหลักศรัทธาทางศาสนาด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล อันจะทำไห้หลุดพ้นจากความเคลือบแคลงสงสัยทุกประการ และยังสามารถสอบถามผู้รู้ทางศาสนาเพื่อขจัดข้อครหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโองการกุรอานอย่างละเอียดถี่ถ้วนก็จะทราบว่า วิธีที่จะช่วยขจัดความกระวนกระวายใจก็คือ จะต้องเพิ่มพูนศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงวิทยปัญญาและทรงดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม ตลอดจนเสริมศรัทธาเกี่ยวกับวันปรโลก นรกและสวรรค์ และหมั่นบำเพ็ญอิบาดะฮ์อย่างเช่นการนมาซ เพื่อให้เข้าถึงความสงบมั่น
ตราบใดที่ผู้ศรัทธาสัมผัสถึงพระเมตตาและการสนับสนุนของพระองค์ ก็ย่อมไม่มีความประหวั่นพรั่นพรึงใดๆอีกต่อไป
و لا تهنوا و لا تحزنوا و انتم الاعلون ان كنتم مؤمنین
(และจงอย่าอ่อนและหวั่นเกรงใดๆ เพราะสูเจ้าอยู่ในสถานะที่เหนือกว่า มาตรว่าสูเจ้ามีศรัทธา)[7]
ในโองการเหล่านี้ อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะสื่อว่า มาตรว่าสูเจ้าอยู่ฝ่ายพระองค์ สูเจ้าจะได้รับมอบเดชานุภาพของชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยพระองค์ทรงทราบดีถึงปัญหาและความยากลำบากของสูเจ้า และทราบดีถึงความอุตสาหะวิริยะของเจ้าในการทำอิบาดะฮ์ ด้วยกับความเชื่อมั่นต่อคำสัญญาเหล่านี้ของพระองค์ มีหรือที่มนุษย์จะไม่ได้รับความสงบมั่นในหัวใจ? แน่นอนว่าวิธีคิดและความเชื่อเหล่านี้จะช่วยขจัดความกระวนกระวายใจของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์
[1] อิบนิมันซู้ร,มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม,ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 13,หน้า 21,สำนักพิมพ์ดารุ้ศศอดิร,เบรุต,ครั้งที่สาม,ฮ.ศ.1414 الإِيمان: بمعنى التصديق، ضدُّه التكذيب
[2] กุลัยนี,กาฟี,เล่ม 2,หน้า 27,ฮะดีษที่ 1,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี,1365 อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า الْإِيمَانُ هُوَ الْإِقْرَارُ بِاللِّسَانِ وَ عَقْدٌ فِي الْقَلْبِ وَ عَمَلٌ بِالْأَرْكَانِ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยกวับความหมายของอีหม่านและข้อแตกต่างจากอิสลามและความรู้ได้ที่ระเบียน “เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่าน คำถามที่1311 (ลำดับในเว็บไซต์1343) และ “ข้อแตกต่างระหว่างอีหม่านและความรู้ คำถามที่ 5382 (ลำดับในเว็บไซต์ 5651)
[3] รอฆิบ อิศฟะฮานี,ฮุซัยน์ บิน มุฮัมมัด,แปลและค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับ มุฟเราะด้าต อัลฟ้าซ อัลกุรอาน,โคสโรวี, กุลามริฎอ,สำนักพิมพ์มุรตะเฎาะวี,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สอง,ปี1375
[4] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 2,หน้า 304,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี1374
[5] อะรูซี ฮุวัยซี,อับดุอลี บิน ญุมอะฮ์,นูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม1,หน้า 330,สำนักพิมพ์อัตตารีคุลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1412
[6] เพิ่งอ้าง,เล่ม1,หน้า 336
[7] อาลิอิมรอน,139