การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13906
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1068 รหัสสำเนา 17840
คำถามอย่างย่อ
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
คำถาม
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

“เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำ ละแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...

เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)

สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ซึ่งแหล่งน้ำนั้นเสมือนเป็นรากฐานของบัลลังก์ของอัลลอฮฺ

สระน้ำเกาษัร, คือสระน้ำอันเฉพาะสำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ผู้ที่จะส่งน้ำให้ดื่มคือท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามท่านอื่นๆ (อ.) และสำหรับบรรดาศาสดาท่านอื่นก็จะมีสระน้ำเฉพาะเอาไว้สำหรับประชาชาติของท่าน, แต่สระน้ำเหล่านั้นจะไม่มีความกว้างและไม่มีความจำเริญเหมือนสระน้ำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ)

คำตอบเชิงรายละเอียด

“เกาษัร” อยู่บนรูปของ “เฟาอัล” เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มาจากคำว่า “กิซรัต” หมายถึง “ความดีงานอันมากมายมหาศาล” ความกว้างในความหมายของคำๆ นี้กว้างและครอบคลุมซึ่งมีตัวอย่างนับจำนวนไม่ถ้วน เช่น “ความดีงามที่ไม่มีที่สิ้นสุด” ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่ารวมอยู่ในความหมายดังกล่าวด้วย. สำหรับคำว่า “เกาษัร” ซึ่งปรากฏอยู่ในบทอัลเกาษัร, ตามการอธิบายของชีอะฮฺและซุนนียฺได้กล่าวถึงความหมายจำนวนมากมายสำหรับคำว่า “เกาษัร” เอาไว้ ซึ่งประโยคหนึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้นก็คือ “ความดีงามจำนวนมหาศาล” นั่นเอง ตัวอย่างเช่น :

1.สระน้ำหรือแม่น้ำเกาษัร ...2.ตำแหน่งของการชะฟาอะฮฺอันยิ่งใหญ่ในวันฟื้นคืนชีพ, 3.นบูวัต, 4.วิทยปัญญาและความรู้, 5.อัลกุรอาน, 6.สหายและผู้ติดตามจำนวนมากมาย, 7.ปาฏิหาริย์จำนวนมาก, 8. ความรู้และการกระทำจำนวนมาก, 9.เตาฮีดและมิติของเตาฮีด, 10.ความโปรดปรานต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงมอบแด่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในโลกนี้และปรโลก, 11.ลูกหลานหรือทายาทจำนวนมากมาย ที่ยังคงหลงเหลืออยู่แม้กาลเวลาจะผ่านไปอย่างเนิ่นนานแล้วก็ตาม. ไม่ต้องสงสัยหรือคลางแคลงใจอีกต่อไปว่าทายาทและลูกหลานจำนวนมากมายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในขณะนี้สืบเชื้อสายมาจาก บุตรีผู้ทรงเกียรติอันสูงส่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ซะฮฺรอ (อ.). ดังนั้น องค์ประกอบที่ละเอียดอ่อนที่สุดของ “เกาษัร” ก็คือการมีอยู่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซซะฮฺรอ (อ.) ท่านคือคำอธิบายความสัจจริงและเป็นพยานที่ดีที่สุดของความจริงในประเด็นนี้ และท่านยังเป็นสาเหตุแห่งการประทานลงมาและเป็นบริบทของโองการในบท อัลเกาษัร อีกด้วย. แน่นอนการมีอยู่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) คือแหล่งที่มาของคุณงามความดีจำนวนมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของกำดำรงอยู่ของสาส์นแห่งศาสดา (ซ็อล ฯ) ตราบจนถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ และยังเป็นปัจจัยสำคัญแห่งการคงอยู่อย่างเป็นอมตะของเชื้อสายบริสุทธิ์[1]

ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณารายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสระน้ำเกาษัร สาเหตุแห่งการประทานลงมาของอัลกุรอานบทเกาษัร เนื้อหาสาระ และบริบทของโองการแล้ว, สามารถสรุปได้ว่า “เกาษัร” มี 2 องค์ประกอบสำคัญ หนึ่งในนั้นคือโลกนี้ สองคือปรโลกหน้า ซึ่งองค์ประกอบสำคัญสำหรับโลกนี้คือ “เกาษัรมุฮัมมะดียฺ” ฟาฏิมะฮฺอัซซะฮฺรอ (อ.) ผู้ซึ่งเป็นแหล่งสืบสกุลลูกหลาน และเชื้อสายอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งท่านศาสดาและลูกหลานของท่านในโลกนี้ ได้ทำให้ประชาชนได้อิ่มหนำกับวิชาการความรู้ จริยธรรมอันประเสริฐ บทบัญญัติอิสลาม และมารยาทแห่งพระเจ้า ส่วนองค์ประกอบอื่นก็คือ “เกาษัรแห่งสวรรค์” สระน้ำแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านอื่น (อ.) เป็นผู้มอบน้ำดื่มแก่ผู้หิวกระหายผู้เป็นชาวสวรรค์ ซึ่งผ่านการสอบสวนจากสนามสอบสวนแห่ง เยามุลมะชัร ไปแล้ว[2]

คุณลักษณะของสระน้ำเกาษัร

คำอธิบายเกี่ยวกับเกาษัร จากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) : เกาษัรคือแม่น้ำสายหนึ่งที่เปี่ยมด้วยความดีงามอันมหาศาลในสรวงสวรรค์ ซึ่งความดีนั้นจะไหลออกจากเกาษัรยังบริเวณรอบๆ ของมันเท่ากับจำนวนหมู่ดวงดาวแห่งฟากฟ้า, และถูกหลอมให้เป็นแก้ว ประชาชาติของฉันเมื่อผ่านการสอบสวนแล้วจะได้เข้าสู่สวรรค์ และเข้าไปยังเกาษัร.ซึ่ง ณ เบื้องหน้าของฉันจะมีสระน้ำใบหนึ่งซึ่งความใหญ่ของมันนับตั้งแต่มะดีนะฮฺ จนถึงเยเมน หรือจากมะดีนะฮฺจนถึงอุมมาน. บริเวณด้านข้างจะเป็นทองคำ เครื่องดื่มในนั้นมีความขาวยิ่งกว่าหิมะและน้ำนม,มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง, มีความหอมยิ่งกว่าชะมด และน้ำนั้นจะไหลผ่านหินก้อนใหญ่ และไข่มุก. บุคคลใดได้ดื่มน้ำจากเกาษัรแล้ว เขาจะไม่กระหายอีกต่อไป ซึ่งบุคคลแรกที่จะได้เข้าสู่สระน้ำเกาษัร,คือบรรดาผู้อพยพจากมักกะฮฺสู่มะดีนะฮฺ. ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของสระน้ำคอยส่งน้ำให้ดื่มคือ เมาลา,อมีรุลมุอฺมินีน, อะลี (อ.) และบรรดาผู้ศรัทธาหลังจากได้ดื่มน้ำแล้ว พวกเขาจะไปรวมตัวกัน ณ ศาสดา (ซ็อล ฯ) และแต่ละคนจะมีความปิติยินดีเมื่อได้พบกันอีกครั้ง, ตาน้ำแห่งเกาษัรจะไหลมาจากภายใต้บัลลังก์ของอัลลอฮฺ ซึ่งบริเวณสถานที่นั้นคือที่พำนักของบรรดาเอาซิยาอฺ (อ.) และชีอะฮฺของพวกเขา และจากที่นั้นจะมีรางน้ำ 2 อันไหลผ่านไปยังสระน้ำเกาษัร และหลังจากนั้นจะมีแม่น้ำ 2 สายไหลเวียนอยู่ในสวรรค์. สำหรับศาสดาแต่ละท่านจะมีแม่น้ำเฉพาะในสวรรค์ และเนื่องจากมีผู้เข้าสู่สระน้ำของตนมากมาย จึงมีการแข่งขันกัน, ซึ่งฉันหวังว่าผู้เข้าสู่สระน้ำของฉันจะมากมายยิ่งกว่าศาสดาท่านอื่น[3]

สระน้ำเกาษัรในทัศนะของอิมามมะอฺซูม (อ.) :

อิมามอมีรุลมุอฺมินีน อะลี (อ.) กล่าวว่า : “สระน้ำเกาษัรของเราเต็มเปี่ยม จากที่นั้นจะมีแม่น้ำไหลแยกออกไป 2 สายจากสวรรค์, หนึ่งในนั้นแหล่งตาน้ำของมันคือ ตัสนีม และอีกสายหนึ่งคือ มะอีน”[4]

รายงานที่เชื่อถือได้จากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : บุคคลที่ได้เจ็บปวดหัวใจของเขาเนื่องจากโศกนาฏกรรมของเราที่มีมายังพวกเขา, เขาจะมีชีวิตชีวาเมื่อเวลาแห่งความตายได้มาถึง ชีวิตชีวาที่ไม่เคยออกไปจากหัวใจของเขาไปจนกว่าจะได้เข้ามาสู่สระน้ำเกาษัรของเรา  และสระน้ำเกาษัรจะทำให้พวกเขาดีใจ,เพราะความรักของเราที่มีต่อพวกเขา.แม้กระทั่งว่าได้ดึงดูดพวกเขาเอาไว้ และพวกเขาต่างมีความสุขสนุกสนานกับอาหารหลากหลายประเภท ทำให้พวกเขาไม่ต้องการเคลื่อนย้ายออกไปที่อื่น.และบุคคลใดก็ตามได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัร เขาจะไม่กระหายและไม่เหน็ดเหนื่อยอีกต่อไป.น้ำนั้นจะใสเย็นและมีกลิ่นหอมด้วยพิมเสนและกลิ่นชะมด มีรสชาติเหมือนขิง มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง มีความนุ่มนวลยิ่งกว่าความเรียบเนียน น้ำมีความใสแวว มีความหอมยิ่งกว่ากลิ่นหอมของชะมด. น้ำได้ไหลออกจากตาน้ำตัสนีมแห่งสวรรค์ เข้าไปรวมกับแม่น้ำทุกสายในสวรรค์ และน้ำได้ไหลไปบนโขดหิน ไข่มุก และทับทิม และ ...บุคคลใดที่ได้เห็นความเศร้าโศกของเราและได้แสดงความเศร้าออกมา,ในวันนั้นเขาจะสดชื่นและดีใจเมื่อได้มองสระน้ำเกาษัรของเรา น้ำจะถูกจัดแบ่งให้พรรคพวกเพื่อนพ้องของเราทุกคน ทุกคนจะได้รับความสุขไปตามความรักและการเชื่อฟังที่มีต่อเรา บุคคลใดที่รักเรามากเขาก็จะมีความสุขมาก ...”[5]

สิ่งที่สมควรกล่าวตรงนี้คือ บรรดาอิมามมะอฺซูมทั้งสิบสองท่าน (อ.) ในวันฟื้นคืนชีพคือผู้แจกน้ำจากสระน้ำเกาษัร ดังรายงานฮะดีซและเหตุผลภายนอกจากซัยยิดุชชุฮะดา (อ.) กล่าวว่า : و نحن وُلاة الحوض نسقى وُلاتنا “พวกเราคือเจ้าของสระน้ำเกาษัร,เราจะแจกน้ำให้มิตรสหายของเราได้ดื่ม”[6] ดังเช่นที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มีความหวังว่า ผู้เข้ามายังสระน้ำของท่านนั้นจะมีมากกว่าศาสดาท่านอื่น มุสลิมคนใดได้ยินชื่อของเกาษัรและคุณสมบัติของมันแล้ว ต่างมีความหวังว่าเขาคงจะได้เป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปยังสระน้ำเกาษัร และนบี (ซ็อล ฯ) แต่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าถ้าต้องการให้ความหวังนั้นเป็นจริง จำเป็นต้องขวนขวายพยายามอย่างยิ่งที่จะเข้าไปสู่สระน้ำเกาษัรให้จงได้ และหลังจากได้จัดเสบียงเตรียมพร้อมที่จะเดินทางแล้วจะต้องระมัดระวังตัวให้ดี เพื่อว่าทุนที่ได้จัดลงแรงไปนั้นจะได้ไม่อันตรธานสูญหายไป ด้วยน้ำมือของมารร้ายชัยฏอน ญิน และมนุษย์ หรือมีอันต้องเสียหายเปรอะเปื้อนความโสมมภายนอก มิเช่นนั้นแล้วความพยายามของตนก็จะสูญเสียไปอย่างไร้ค่า และทำให้เขาไม่อาจเข้าสู่สระน้ำเกาซัรได้ ทุกสิ่งจะกลายเป็นเพียงความฝันและการจินตนาการเท่านั้น ฉะนั้น จงอย่าเฝ้าดีใจกับความฝัน แต่จงพยายามและขวนขวายเพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมาย, ความหวังลมๆ แล้งๆ และความหลงลืมคือสิ่งไร้สาระที่สุด

เราต้องตั้งความหวังไว้ว่า บนโลกนี้อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้เราได้รับประโยชน์จากความรู้ของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) และความรักที่มีต่อพวกท่านแล้ว ส่วนในปรโลกเราจะได้เป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้าไปยังสระน้ำเกาษัร สายตาของเราจะสว่างไสวเมื่อได้พบท่าน จิตวิญญาณที่หิวกระหายจะได้ดื่มน้ำจากมือของท่าน ด้วยเหตุนี้ ในดุอาอฺนุดบะฮฺเราอ่านว่า :

: "... واسقنا من حوض جده صلى الله علیه وآله بکاسه و بیده ریّا رویّا هنیئاً سائغاً لاظمأ بعده یا ارحم الراحمین"

(โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า) โปรดให้พวกเราได้อิ่มหนำจากสระน้ำแห่งพระเจ้าตาของท่านอิมามซะมาน (อ.) ด้วยแก้วและถ้วยดื่มจากมือของท่าน (อิมามซะมาน) อิ่มอย่างเต็มรูปแบบดับความกระหาย ซึ่งเขาจะไม่กระหายอีกต่อไปหลังจากนี้ โอ้ ผู้เป็นเลิศแห่งความเมตตา”

แหล่งอ้างอิง :

1. โครัซมี,มักตัล, เล่ม 2, หน้า 33.

2.ซะมัคชะรีย์, มะฮฺมูดบินอุมัร, กิชาฟ, หน้า, 806 – 808.

3.เฎาะบาเฏาะบาอีย์, มุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน, เล่ม 20, หน้า 370 – 373.

4.เฏาะบัรระซีย์, ฟัฎลิบนิลฮะซัน, มัจมะอุลบะยาย, เล่ม 5 หน้า 548 – 549.

5.อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซ, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 18.

6.อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซ, ฮักกุลยะกีน, หน้า453 และ 455

7. ฟัยฎ์ กาชานีย์, มุลลามุฮฺซิน, มะฮัจญฺตุลบัยฏออ์, เล่ม 8, หน้า 352 – 353

8.มุฮัดดิซ กุมมี, อับบาส, มะฟาตีฮุลญินาน, ดุอาอฺนุดบะฮฺ

9.มิซบายัซดีย์,มุฮัมมัดตะกีย์, ญามี อัซซุลาลเกาษัร, หน้า 19 - 22



[1] มิซบาฮฺ ยัซดี, มุฮัมมัดตะกี,ญามีอัซซุลาลเกาษัร, หน้า 20 – 22, อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี, มุฮัมมัด ฮุเซน, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 20, หน้า 370, และตัฟซีรต่างๆอีกจำนวนมาก, ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[2] แน่นอน มีความสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่าง เกาษัรมุฮัมมะดี กับ เกาษัรแห่งสวรรค์, ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าและโอกาสที่มากกว่านี้ แต่สิ่งที่สามารถกล่าวได้คือส่วนใหญ่แล้วสติปัญญาของมนุษย์จะไม่ไร้ความสามารถ ในการสร้างความเข้าใจกับกรณีเช่นนี้

[3] ฟัยฎ์ กาชานีย์,มุฮฺซิน, มะฮัจญฺตุลบัยฎออฺ, เล่ม 8,หน้า 352 – 353,และตัฟซีรเล่มอื่นๆ ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[4] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซีย์, ฮักกุลยะกีน, หน้า 453, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 18

[5] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซีย์, ฮักกุลยะกีน, หน้า 455.

[6] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 45, หน้า 49

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...