การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7540
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1267 รหัสสำเนา 14830
คำถามอย่างย่อ
กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
คำถาม
กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
คำตอบโดยสังเขป

ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภท อาทิเช่น
1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณ
. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)
. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำ อย่างเช่นดุอาที่นบี(..)สอนแก่ท่านอิมามอลี(.)[i]

سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل شى‏ء قدیر

. อัญเชิญอัลกุรอาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายะฮ์กุรซี
. งดเว้นสิ่งที่ทำให้หลงลืม เช่นการทำบาป
. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะขณะทบทวนตำรา
. ตัดความสนใจรอบข้าง
. ฝึกฝนสมาธิ

2. ปัจจัยทั่วไป
. สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(บริโภคอย่างเหมาะสม ออกกำลังกาย ดูแลสุขอนามัย)
. แปรงฟัน
. รับประทานอาหารที่มีกลูโคส(เช่น อินทผลัม น้ำผึ้ง ขนมหวานที่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ) อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันตับปลา ส้ม มะเขือเทศ ข้าวกล้อง ผักเขียว แครอท ตับ ฯลฯ
. ฝึกทบทวนเนื้อหาที่ต้องการจำ

3. วิธีที่แนะนำโดยนักจิตวิทยา
. แบ่งคำ .สร้างความหมาย .จัดระเบียบ .คืนภาวะแวดล้อม .เคล็ดลับจำเป็นเลิศ



[i] มะฟาตีฮุ้ลญินาน,ภาคแรก,บทแรก,ดุอาหลังนมาซ

คำตอบเชิงรายละเอียด

ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภท อาทิเช่น
1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณ
. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)
. อ่านบทดุอาที่มีผลเสริมความจำ ทั้งนี้ บรรดาอิมามสอนให้เราขอต่อพระองค์ให้ทรงเสริมปัญญาและความเข้าใจ ตัวอย่างดุอาที่มีผลต่อพัฒนาการทางสมอง[1]เช่น
-ดุอาที่ท่านนบี(..)สอนแก่อิมามอลี(.)[2]:

سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل شى‏ء قدیر


-ดุอาที่ซัยยิด บินฏอวู้ส ได้รายงานไว้ว่ามีผลบำรุงจิตใจ โดยให้อ่านสามจบว่า
یا حى یا قیوم یا لااله الا انت اسئلک أن تحیى قلبى اللّهم صل على محمد و آل محمد[3]
-ดุอาเพื่อการทบทวนตำรา

اللهم اخرجنى من ظلمات الوهم و اکرمنى بنور الفهم اللّهم افتح علینا ابواب رحمتک و انشر علینا خزائن علومک برحمتک یا ارحم الراحمین[4]

-หลังนมาซซุบฮิ ก่อนจะเอ่ยคำพูดอื่นใดให้กล่าวประโยคนี้ یا حى یا قیّوم فلا یفوت شیئا علمه و لایؤدّه[5]
.อัญเชิญกุรอาน โดยเฉพาะอายะฮ์กุรซี
. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้ความจำเลือนลาง เช่น การทำบาป การหมกมุ่นทางโลก การเล่นสนุกจนเกินขอบเขต เศร้าเสียใจเกี่ยวกับทางโลก[6]
. ขจัดความเครียด โดยเฉพาะในขณะทบทวนตำรา
. ลดความคิดฟุ้งซ่าน
. ฝึกฝนให้มีสมาธิแน่วแน่
เกร็ดน่ารู้: ต้องคำนึงว่า แม้วิธีต่างๆข้างต้นจะได้มาจากฮะดีษก็ตาม แต่ก็ไม่อาจจะถือเป็นมูลเหตุสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการบำรุงความจำ ทั้งนี้ก็เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยสำคัญอีกประการที่เกี่ยวข้องได้ นั่นก็คือปัจจัยทางพันธุกรรม
กล่าวคือ ความจำและไอคิวเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสภาพแวดล้อม วิธีที่นำเสนอทั้งหมดเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมซึ่งเรากำหนดได้ แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมอันเกี่ยวข้องกับปู่ย่าตายายของแต่ละคนนั้น เราไม่อาจะควบคุมได้ ฉะนั้น ไม่ควรคาดหวังว่าหากปฏิบัติตามวิธีต่างๆข้างต้นแล้ว ระดับไอคิวจะเพิ่มจาก 90 เป็น 120 ในชั่วข้ามคืน และหากมิได้เป็นไปตามที่คาดไว้ แสดงว่าวิธีที่บรรดาผู้นำศาสนาสอนไว้เป็นเรื่องเหลวไหลก็หาไม่ แต่สมมติในกรณีไอคิวระดับ100 หากต้องการจะพัฒนาศักยภาพความคิดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็อาจเป็นไปได้

ตรงกันข้ามกับกรณีของเด็กๆ หากพวกเขาได้รับการดูแลเอาใจใส่ทางโภชนาการตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยอนุบาล รวมถึงหากมีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้นเชาวน์ปัญญา ก็สามารถเพิ่มระดับไอคิวของเด็กได้ แต่ในกรณีของวัยรุ่นหรือวัยกลางคนนั้น ทำได้แค่เพียงป้องกันไม่ให้ระดับเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ลดลง และพยายามเพิ่มศักยภาพทางความคิดให้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงศักยภาพสูงสุดของระดับเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ โดยที่คำแนะนำจากผู้นำศาสนาที่นำเสนอข้างต้น ล้วนเป็นไปเพื่อดึงศักยภาพดังกล่าวทั้งสิ้น.

2. ปัจจัยทางวัตถุ
. สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(บริโภคอย่างเหมาะสม ออกกำลังกาย ดูแลสุขอนามัย)
. แปรงฟัน
. รับประทานอาหารที่มีกลูโคส(เช่น อินทผลัม น้ำผึ้ง ขนมหวานที่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ) อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันตับปลา ส้ม มะเขือเทศ ข้าวกล้อง ผักเขียว แครอท ตับ ฯลฯ
หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน(ฉบับเต็ม)แนะนำว่า ควรรับประทานลูกเกดโดยเฉพาะชนิดสีแดงเข้มจำนวนยี่สิบเอ็ดเม็ดระหว่างมื้อเช้า, ฮัลวา(งาบดหวาน), เนื้อบริเวณต้นคอ, น้ำผึ้ง, และถั่วอะดัส เนื่องจากมีคุณประโยชน์ต่อความจำทั้งสิ้น.[7]
. ฝึกทบทวนเนื้อหาที่ต้องการจำ(สำคัญอย่างยิ่ง)
. หลังอ่านหนังสือเป็นเวลาสี่สิบห้านาที ให้หยุดพักสิบนาที
. ฝึกหายใจ วิธีง่ายๆก็คือ ขณะยืนตรงหรือนอนหงาย ให้หายใจเข้าเต็มปอด แล้วจึงค่อยๆผ่อนลมหายใจออกมาช้าๆ

3. กลวิธีเสริมความจำจากผู้เชี่ยวชาญ
. วิธีผสมคำ: หมายถึงการผสมพยางค์หรือตัวเลขที่ต้องการจำ ให้เป็นคำหรือประโยคที่มีความหมาย อย่างเช่น ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง หรือกลอนสระที่เราคุ้นเคยกันดี
. เน้นจำความหมาย: วิธีนี้จะทำให้ท่องจำได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยเฉพาะหากเราเข้าใจความหมายของสิ่งที่ต้องการจำได้ลึกเท่าใด ก็ยิ่งทำให้จำง่ายยิ่งขึ้น ฉะนั้น แทนที่เราจะท่องจำประโยคเพียงผิวเผิน ก็ให้เราคำนึงถึงความหมายด้วย
. จัดระเบียบ: การเข้าใจ จำ และนึกทบทวนเนื้อหาที่ซับซ้อนจะไม่ไช่เรื่องยากอีกต่อไป หากมีการจัดให้เป็นระเบียบตามหมวดหมู่ที่เหมาะสม ไล่เรียงจากเนื้อหาองค์รวมไปสู่รายละเอียดปลีกย่อย แล้วจึงท่องจำตามแผนภูมิดังกล่าว
. คืนสู่บรรยากาศแวดล้อม: การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นในเวลาและสถานที่อันเฉพาะทั้งสิ้น เราเรียกภาชนะกาลเวลาและสถานที่เหล่านี้ว่าบรรยากาศแวดล้อมหากต้องการจะนึกทบทวนประเด็นใดเป็นพิเศษ ควรหาทางย้อนสู่บรรยากาศแวดล้อมที่คล้ายกับเมื่อครั้งที่เราเรียนรู้ประเด็นนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการจะนึกชื่อเพื่อนๆสมัยประถม ให้ลองเดินที่ระเบียงห้องในโรงเรียนประถมดู จะพบว่าสามารถนึกทบทวนได้ง่ายกว่า
.เคล็ดลับจำเป็นเลิศ: วิธีนี้เป็นกลยุทธการเรียนรู้และจดจำตำราที่มีประสิทธิภาพยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยหกขั้นตอนด้วยกัน 1.อ่านคร่าวๆ 2.สอบถามผู้อื่น 3.อ่านละเอียด 4.ไตร่ตรอง 5.จดจำ 6.ทบทวน
อธิบาย: สมมติว่าผู้อ่านต้องการจะท่องจำหนังสือสักเล่มให้ได้ ขั้นแรกให้อ่านหนังสือเล่มนั้นอย่างคร่าวๆเสียก่อน เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาหนังสือ และสามารถนำใจความสำคัญมาเรียงลำดับตามวิธีจัดระเบียบได้อีกด้วย ขั้นตอนที่สอง ให้ผู้อ่านตั้งคำถามเกี่ยวกับแต่ละหมวดในหนังสือ แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม นั่นคืออ่านจริงโดยจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบสำหรับขั้นตอนที่สอง ส่วนขั้นตอนที่สี่ ให้ผู้อ่านครุ่นคิดถึงความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาที่อ่าน เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีเน้นจำความหมายหลังจากนั้นก็ถึงขั้นตอนที่ห้าและหก ที่ผู้อ่านควรต้องจดจำและท่องเนื้อหาปากเปล่าได้ และสามารถทบทวนด้วยการตอบคำถามที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่สองได้โดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.[8]

เพื่อศึกษาเพิ่มเติม โปรดอ่าน: คำถามที่808: ดัชนี,“เงื่อนไขและดุอาสำหรับการอ่านตำรา



[1] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม,หน้า,ฮะดีษที่,ฮะดีษอุนวาน บะศ่อรีย์.

[2] มะฟาตีฮุ้ลญินาน,ภาคแรก,บทแรก,ดุอาหลังนมาซ

[3] อ้างแล้ว,ภาคผนวก.

[4] อ้างแล้ว

[5] อ้างแล้ว

[6] อ้างแล้ว

[7] อ้างแล้ว

[8] คัดย่อมาจากเนื้อหาซีดีโพ้รเซมอนโดยปรับเปลี่ยนเล็กน้อย.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    6200 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    7288 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...
  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7793 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]
  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    7118 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • จะมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรบ้าง เพื่อให้บุตรหลานรักการอิบาดะฮฺ?
    6460 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    สำหรับการส่งเสริมและการสนับสนุนให้ปฏิบัติข้อบังคับของศาสนา เบื้องต้นสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการวิเคราะห์ความคิดของเขา หลังจากนั้นจึงจะหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมต่อไป, ทัศนะของบุคคลและความเชื่อที่มีต่ออัลลอฮฺ, โลกทัศน์ของพระเจ้า,มนุษย์, วันฟื้นคืนชีพ และ... เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความเชื่อ เพราะจะช่วยทำให้เขามั่นคงต่อการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติข้อบังคับต่างๆ และความประพฤติ การโน้มน้าวทางความเชื่อ การมีวิสัยทัศน์ที่ดี และการมีความคิดดีกับฝ่ายตรงข้าม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน) ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดมรรคผลในทางที่ดี การอบรมสั่งสอนและการส่งเสริม จึงจำเป็นต้องเริ่มจากความคิดของเขาก่อน แน่นอน การที่บิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตร โปรแกรมการอบรมสั่งสอนย่อมไม่ได้ผล หรือล้มเหลวแน่นอน โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมด้านการอบรม สามารถสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตรหลานของตนได้ บางวิธีการเป็นวิธีที่มีความจำเป็นและเหมาะสม ดังเช่น : 1 ให้เกียรติบุตร: ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า "จงให้เกียรติลูกๆ ของตนและจงอบรมสั่งสอนให้ดี" 2 รู้ถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนในช่วงวัยรุ่น (เช่นความเป็นอิสระ, อารมณ์, ฯลฯ) เป็นการรู้จักทั่วไปถึงสภาพจิตใจอันเฉพาะของลูกแต่ละคน ...
  • จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
    7414 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดาการได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26042 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
    8782 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆแล้วจะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบันซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมาซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคนตามความเชื่อความประพฤติ
  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    8988 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺและแสดงการตะอฺซีมหรือไม่ ?
    7295 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/09/25
    ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าการซัจญฺดะฮฺคือรูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้นและไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่นส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกันดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใดทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺเราจึงอิบาดะฮฺ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60334 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57882 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42436 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39697 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39098 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34185 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28222 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28161 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28091 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26042 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...