Please Wait
7168
ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า
เกี่ยวกับระยะเวลาที่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) มีชีวิตอยู่หลังจากการจากไปของบิดาของท่าน (ซ.ล.) นั้น มีหลายทัศนะปรากฏในหนังสือฮะดิษและประวัติศาสตร์ บางคนเชื่อว่าระยะเวลานี้คือ 6 เดือน แต่บางกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน[1]
มัรฮูม อบุลฟะรัจ อิศฟะฮานีย์ ได้กล่าวในหนังสือมะกอติลุต ฏอลิบียีน ว่า “มีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับระยะเวลาที่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) มีชีวิตอยู่หลังจากท่านศาสดา (ซ.ล.) ซึ่งจำนวนวันที่น้อยที่สุดก็คือ 40 วัน และมากสุดคือ 8 เดือน แต่สิ่งที่เป็นที่เป็นที่ยอมรับสำหรับเราคือความเห็นจากบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งอิมามบากิร (อ.) เคยกล่าวว่า “แท้จริงวาระของการจากไปของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ก็คือสามเดือนหลังจากการจากไปของท่านศาสนทูตของอิสลาม (ซ.ล.)[2]
นอกจากนี้มัรฮูม เฏาะบะรีย์(รายที่เป็นชีอะฮ์) ได้กล่าวในหนังสือ ดะลาอิลุลอิมามะฮ์ โดยได้รายงานฮะดีษจากอิมามศอดิก (อ.) ผ่านสายรายงานของตนว่า “ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) เสียชีวิตลงในเดือนญะมาดิอุล อาคิร ในวันอังคารที่เป็นวันที่สามของเดือน ในปีฮ.ศ.11[3]
สองฮะดีษดังกล่าวเป็นพื้นฐานของความเชื่อของอุลามาอ์ส่วนใหญ่เช่นซัยยิดฏอวูสในหนังสืออิกบาลด้วย
แต่ทว่ามีฮะดีษที่น่าเชื่อถืออีกกลุ่มที่กล่าวว่าระยะเวลาดังกล่าวมี 75 วัน อาทิเช่นฮะดีษที่มัรฮูมกุลัยนีรายงานจากอิมามศอดิก (อ.) ว่า “แท้ที่จริงแล้วระยะเวลาที่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ 75 วันหลังจากที่บิดาของท่าน (ซ.ล.)จากโลกไป”[4]
ซึ่งฮะดีษกลุ่มนี้เป็นที่มาของความเห็นของอุละมาอ์ชีอะฮ์จำนวนหนึ่งเช่นเชคกุลัยนีย์ ความขัดแย้งระหว่างฮะดีษสองกลุ่มนี้อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสมัยที่การเติมจุดในคำยังไม่เป็นที่แพร่หลายนั้นเอง การที่คำว่า “คอมซะฮ์ วะ ซับอูน” และคำว่า “คอมซะฮ์ วะ ติซอูน” มีความคล้ายคลึงกันก็อาจบ่งชี้ถึงข้อสันนิษฐานดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ผู้รู้ส่วนใหญ่เชื่อว่า วันที่ 3 ญะมาดิอุซซานี (95 วันหลังจากการวะฟาตของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นทัศนะที่น่าเชื่อถือกว่า
อ่านเพิ่มเติมที่ระเบียน “ชะฮาดัตท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.ล.)จากแหล่งข้อมูลฝ่ายซุนนี, คำถามที่ 5256 (ลำดับในเว็บไซต์ 5512)
[1] มัจลิซีย์, มูฮัมหมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 43, หน้า 189, ฮะดีษที่ 19, - كشف الغمة] وَ نَقَلْتُ مِنْ كِتَابِ الذُّرِّيَّةِ الطَّاهِرَةِ لِلدُّولَابِيِّ فِي وَفَاتِهَا ع مَا نَقَلَهُ مِنْ رِجَالِهِ قَالَ لَبِثَتْ فَاطِمَةُ بَعْدَ النَّبِيِّ ص ثَلَاثَةَ أَشْهُرٍ وَ قَالَ ابْنُ شِهَابٍ سِتَّةَ أَشْهُرٍ وَ قَالَ الزُّهْرِيُّ سِتَّةَ أَشْهُرٍ وَ مِثْلُهُ عَنْ عَائِشَةَ وَ مِثْلُهُ عَنْ عُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ وَ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيٍّ ع خَمْساً وَ تِسْعِينَ لَيْلَةً فِي سَنَةِ إِحْدَى عَشْرَةَ وَ قَالَ ابْنُ قُتَيْبَةَ فِي مَعَارِفِهِ مِائَةَ يَوْمٍ وَ قِيلَ مَاتَتْ فِي سَنَةِ إِحْدَى عَشْرَةَ لَيْلَةَ الثَّلَاثَاءِ لِثَلَاثِ لَيَالٍ مِنْ شَهْرِ رَمَضَانَ وَ هِيَ بِنْتُ تِسْعٍ وَ عِشْرِينَ سَنَةً أَوْ نَحْوِهَا
[2] อบุลฟะร็อจ อิศฟะฮานีย์ (เสียชีวิต 356) , มะกอติลลุต ฏอลิบียีน, หน้า 59-60, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดยซัยยิดอะฮ์มัด ศ็อกร์, เบรุต, ดารุลมะอ์ริฟะฮ์
[3] เฏาะบัรซี, ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, อามีนุลอิสลาม, อิอ์ลามุลวะรอ, หน้า 152, บทที่ 3, ในการระบุเวลาของการจากไปของท่าน และสถานที่ฝังศพของท่าน (อ.), สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหราน. และ คอซาซ กุมีย์, อาลีบินมูฮัมหมัด, กิฟายะตุลอาซาร, หน้า 63, สำนักพิมพ์บีดอร, กุม, ฮ.ศ.1401
[4] อัลกาฟีย์, เล่ม 1, หน้า 458, باب مولد ِ الزَّهْرَاءِ فَاطِمَةَ ع، حدیث 1- مُحَمَّدُ بْنُ يَحْيَى عَنْ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنِ ابْنِ مَحْبُوبٍ عَنِ ابْنِ رِئَابٍ عَنْ أَبِي عُبَيْدَةَ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّ فَاطِمَةَ ع مَكَثَتْ بَعْدَ رَسُولِ اللَّهِ ص خَمْسَةً وَ سَبْعِينَ يَوْماً