Please Wait
7187
1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดา การได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง หรือผ่านสื่อกลาง
2- วะฮฺยูตามความมายของคำนั้น,ไม่เพียงแต่ไม่ใช้สำหรับมนุษย์ที่มิได้เป็นนบีเท่านั้น แม้แต่สรรพสัตว์และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นก็ถูกใช้ด้วย และ ... นอกจากนี้ยังนำมาใช้เป็นวัฒนธรรมของกุรอาน, เช่น แรงบันดาลใจที่มีต่อมารดาของศาสดามูซา (อ.), และเรื่องราวอันเป็นสัญชาติญาณ เช่น การสร้างรวงรังของผึ้ง, หรือภารกิจอันเป็นการกำหนด เช่น การโคจรของฟากฟ้าและแผ่นดิน สิ่งเหล่านี้เป็นวะฮฺยูเช่นกัน
3- บรรดานักเอรฟานบางท่านยังเรียกร้องว่า ตนมีแรงบันดาลใจ “วะฮฺยู" ซึ่งจุดประสงค์ของพวกเขาคือ วะฮฺยู ในความหมายเชิงภาษาหรือแรงบันดาลใจนั่นเอง ส่วนวะฮฺยูในเชิงของโวหารนั้นสำหรับบรรดานบี (อ.) เท่านั้น, แต่แรงบันดาลใจอาจจะครอบคลุมถึงคนอื่นด้วย
4- ถ้ามีคนเรียกร้องวะฮฺยูพร้อมกับการเป็นนบีและมีสาส์น ดังนั้นเพื่อระบุคำพูดของเขาว่าเป็นจริงในอันดับแรกจะมี "ปาฏิหาริย์" แสดงออกมา
5- ปาฏิหาริย์ (มุอฺญิซะฮฺ) เป็นภารกิจพิเศษเหนือธรรมชาติ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจมนุษย์และออกนอกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งบุคคลที่อ้างว่าตนเป็นนบีจะแสดงออกมาเพื่อพิสูจน์การเป็นนบีของตน พร้อมกับเป็นการโต้ตอบการร้องขอหรือคำท้าทาย (ตะฮัดดี) ของคนอื่น เช่น ไม้เท้าของศาสดามูซา (อ.) ได้กลายเป็นงู หรือการที่ศาสดาอีซา (อ.) ได้ทำให้สิ่งที่ตายแล้วฟื้นคืนชีพขึ้นมา หรืออัลกุรอานมะญีดอันเป็นความอัศจรรย์ของพระศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ผู้เป็นศาสดาสุดท้าย ดังนั้น หากใครกำลังมองหาการกระทำพิเศษเหนือธรรมชาติ ซึ่งจะไม่เรียกการกระทำของเขาว่าเป็น มุอฺญิซะฮฺ ทว่าจะเรียกเป็น กะรอมัต หรือ ... ขณะเดียวกันถ้าหากการกระทำของเขาไม่ตรงกับคำกล่าวอ้างการเป็นนบี จะไม่เรียกสิ่งนั้นว่าเป็นมุอฺญิซะฮฺเช่นกัน
6- สิ่งที่บ่งว่ามุอฺญิซะฮฺนั้นรับรองคำกล่าวอ้างการเป็นนบีว่าเป็นความจริง ก็คือ: ทั้งมุอฺญิซะฮฺและวะฮฺยู (แรงบันดาลใจ) ทั้งสองเป็นภารกิจเหนือธรรมชาติและเป็นปรากฏการณ์เร้นลับ ทว่าวะฮฺยูมิใช่ว่าบุคคลอื่นจะสามารถเห็นได้ การมองเห็นมลาอิกะฮฺเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคลอื่นที่มิใช่นบี ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาศาสดาทั้งหลายที่ได้แสดงปาฏิหาริย์นั้นถือเป็นภารกิจเหนือธรรมชาติ และเหนืออำนาจของมนุษย์,เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งนั้นได้มาจาก แหล่งอันเป็นอำนาจสูงสุดหรือสัมพันธ์อยู่กับอำนาจสูงสุด ด้วยเหตุนี้ “กฏเกณฑ์ที่ว่ากฏแห่งความคล้ายเหมือนในสิ่งอนุญาต และสิ่งที่ไม่อนุญาตจึงเป็นหนึ่งเดียวกัน” เราจึงสามารถสรุปได้ว่า คำกล่าวอ้างของบรรดาศาสดาทั้งหลายเกี่ยวกับการประทานวะฮฺยูลงมายังพวกท่าน ถือเป็นความจริงและถูกต้อง
7- การกล่าวอ้างถึงปาฏิหาริย์ สำหรับผู้ที่กรุการกล่าวอ้างการเป็นนบีจึงเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้, เพราะไม่เข้ากับภูมิปัญญาและคำชี้นำของพระเจ้า และการกล่าวปาฏิหาริย์ทำนองนี้ด้วยน้ำมือของผู้กล่าวเท็จย่อมเป็นสาเหตุทำให้บุคคลอื่นหลงทาง,เนื่องจากถ้าหน้าที่ของประชาชนคือการยอมรับคำกล่าวอ้างการเป็นนบีของทุกคนแล้วละก็ ย่อมนำไปสู่ความเสียหายอย่างแน่นอน และยังเป็นสาเหตุทำให้มีผู้กรุการกล่าวอ้างการเป็นนบีเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือปฏิเสธทุกคนที่กล่าวอ้างว่าเป็นนบี แน่นอนสิ่งนี้ย่อมขัดแย้งกับเป้าหมายของการประทานศาสดา และการชี้นำประชาชนอย่างแน่นอน, หรือจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานสำหรับการจำแนกการเป็นนบีที่มาจากพระเจ้าแก่ประชาชน เพื่อจะได้จำแนกได้ทันทีว่าผู้กล่าวอ้างจริงและเท็จเป็นอย่างไร และแน่นอน มาตรฐานนั้นก็คือ “มุอฺญิซะฮฺ” นั่นอง
8- ยังมีวิธีอื่นที่จะรู้จักความจริงสำหรับการกล่าวอ้างการเป็นนบี เช่น : การตรวจสอบเนื้อหาของวะฮฺยูในที่ขัดแย้งกับด้านใน, หรือในแง่ที่ขัดแย้งกับสติปัญญา เหตุผล และธรรมชาติ. ดังนั้น การกล่าวอ้างเรืองวะฮฺยูถ้าหากว่าขัดยังกับเหตุผลแน่นอนหรือสติปัญญาหรือธรรมชาติแล้วละก็ ถือว่าเป็นเท็จ และถ้าแตกต่างกันระหว่างประโยคต่าง หรือพบว่ามีความขัดแย้งกันระหว่างวะฮฺยูเหล่านั้น สิ่งนี้ย่อมเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จนั้น
9- ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เรียกร้องการเป็นนบี ในแง่ของการมีความสมบูรณ์ทางศีลธรรม จิตใจ และพฤติกรรม, ซึ่งวิธีนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าคำกล่าวอ้างของเขาเป็นจริงหรือไม่
10- การแนะนำหรือการประกาศแจ้งของศาสดาคนก่อนหน้า หรือศาสดาร่วมสมัย,หรือคำชี้แจงที่อยู่ในตำราหรือคัมภีร์แห่งพระเจ้า ซึ่งสิ่งนี้นับว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งในการรู้จักนบี, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้จักท่านศาสดาอิสลาม (ซ็อล ฯ)
"วะฮฺยู" มีความหมายทางภาษาและความหมายในเชิงสติปัญญา[1] วะฮฺยูตามความหมายของคำหมายถึง "การโยกย้ายเรื่องราวโดยรวดเร็วอย่างลับๆ ไปยังบุรุษที่สอง"[2] ซึ่งครอบคลุมถึง "แรงบันดาลใจหรือการดลใจ" ส่วนความหมายในเชิงของสติปัญญา "วะฮฺยู" คือสติและการรับรู้พิเศษและลึกลับ (ไม่ใช่การคิดของปัญญา) จะไม่มีผู้ใดได้รับวะฮฺยู ยกเว้นมนุษย์ผู้ที่ได้รับความเมตตาพิเศษจากพระเจ้าเท่านั้น (บรรดาศาสดา) และวะฮฺยูจะถูกปกปิดไปจากความรู้สึกภายนอกด้วย[3]
วะฮฺยู ในแง่ของภาษานั้นมิได้จำกัดอยู่แค่มนุษย์ธรรมดาเท่านั้น, ทว่าได้ครอบคลุมถึงบรรดาสรรพสัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิตซึ่งภายนอกอาจจะไม่มีการรับรู้เช่น (หิน) เป็นต้น. ซึ่งตามวัฒนธรรมของอัลกุรอานสภาพอันเป็นธรรมชาติ สำหรับผึ้งที่สร้างรวงรังผึ้งและผลิตน้ำผึ้งได้นั้น เป็นไปตามวะฮฺยูของพระเจ้าพระผู้ทรงสร้างสรรค์ซึ่งได้อธิบายแก่มัน[4] หรือการดลใจที่มีต่อมารดาของศาสดามูซา (อ.) เพื่อให้ช่วยเหลือบุตรของตน,โดยนางได้วางบุตรชายลงในกล่องและปล่อยลอยไปตามแม่น้ำไนล์, ซึ่งสิ่งนี้ก็ถือว่าเป็นวะฮฺยูด้วยเช่นกัน[5] หรือดั่งเช่นที่พระองค์ได้วะฮฺยูแก่ท้องฟ้าและแผ่นดิน[6]
นักเอรฟานบางคนกล่าวอ้างถึงวะฮฺยู ซึ่งน่าจะเป็นความหมายในเชิงภาษา หรือที่เรียกว่า “การดลใจ” ซึ่งจุดประสงค์คือการได้รับหรือการประจักษ์นั่นเอง
อิบนุอะเราะบีย์ กล่าวว่า “การครอบคลุมวะฮฺยูมีเหนือจิตวิญญาณของบุคคลที่วะฮฺยูได้ประทานลงมาแก่เขา, มีความเข็มแข็งยิ่งกว่าการภาวะจิตใจซึ่งเป็นจิตวิญญาณของบุคคล, อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : และเราจะอยู่ใกล้ชิดกับเขายิ่งกว่าเส้นเลือดที่ลำคอของเขา” ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่คิดว่าอัลลอฮฺได้วะฮฺยูแก่ท่าน, จงพิจารณาตัวของท่าน,แล้วใคร่ครวญดูซิว่าท่านลังเลใจหรือเคลือบแคลงสงสัย หรืออยู่ในสภาพที่ขัดแย้งกับจิตด้านในหรือไม่? ถ้าหากว่าตอนนั้นยังสงสัย ยังครุ่นคิด และยังวิเคราะห์อยู่แสดงให้เห็นว่าท่านมิใช่เจ้าของวะฮฺยู และไม่มีวะฮฺยูใดๆ ลงมาที่ท่านอย่างแน่นอน, แต่ทุกครั้งสิ่งที่มีมายังท่าน, ทำให้ท่านลืมตัวเองไปชั่วขณะ ดวงตาพร่ามัวคล้ายมืดบอด ไม่ได้ยินเสียงใดๆ และระหว่างท่านกับความคิดใคร่ครวญเหมือนมีกำแพงขวางกั้นอยู่,ประหนึ่งว่าบัญชานั้นได้ครอบคลุมท่านไว้ทั้งหมด, พึงรู้ไว้เถิดว่าวะฮฺยูได้ลงมาที่ท่านแล้ว[7] แน่นอน ประเด็นนี้มีคำพูดมากมายที่กล่าวถึงไว้ ซึ่งจะขออธิบายในเวลาอื่น,ในที่นี้จะขอนำเสนอคำพูดของนักปราชญ์บางท่านอันเป็นที่ยอมรับ ที่กล่าวไว้เช่น. ซ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน ชีรอซีย์ (รฎ.) กล่าวไว้ในหนังสือ มะตีฮุลฆัยบฺ หลังจากอธิบายถึงแนวทางต่างๆ ในการศึกษาหาความรู้ (การศึกษาหาความรู้,ความโน้มน้าวในการให้) กล่าวคือการสั่งสอนของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อกลาง, อาจเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะดังนี้ ลักษณะแรก,คือการประทานวะฮฺยู,ลักษณะที่สองคือ การดลใจ,โดยกล่าวว่า : “สรุปว่าการดลใจคือภารกิจหนึ่งซึ่งครอบคลุมทั้งบุคคลที่เป็นศาสดาและหมู่มิตรของพระองค์, ส่วนวะฮฺยูนั้นเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลที่เป็นศาสดาเท่านั้น, เนื่องจากท่านเหล่านี้คือหลักประกันตำแหน่งการเป็นศาสดาและสาส์นของพระองค์[8] หลังจากนั้นท่านได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างวะฮฺยูกับการอิลฮาม,และยังได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อกลางในการถ่ายทอดวะฮฺยูและการอิลฮาม[9]
กัยซัรรีย์ กล่าวไว้ในบทนำของหนังสือ ฟุซูซุลฮิกัม ของอิบนุอะเราะบีย์ และได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอิลฮามกับวะฮฺยู หลังจากนั้นได้กล่าวถึงความแตกต่างๆ เอาไว้ โดยกล่าวว่า “วะฮฺยูคือความพิเศษอันเฉพาะสำหรับนบีเท่านั้น...ส่วนอิลฮามคือความเฉพาะพิเศษสำหรับวิลายะฮฺ และ ...[10]
ด้วยเหตุนี้ อาจเป็นไปได้ว่า, จะมีผู้กล่าวอ้างวะฮฺยูในทุกยุคสมัยก็ได้,แต่ต้องระบุให้ชัดเจนลงไปว่าจุดประสงค์ของเขาหมายถึง วะฮฺยูในเชิงสติปัญญาที่มาพร้อมการกล่าวอ้างการเป็นนบี หรือวัตถุประสงค์ของเขาคือการหยั่งรู้ไปถึงระดับหนึ่งที่เรียกว่าเป็นการค้นพบโดยสัญชาติญาต หรือเรียกว่าได้อิลฮามจากพระเจ้า? ตามสมมุติฐานที่สอง ถือว่าเขาเป็นอาริฟคนหนึ่ง มิใช่ศาสดา ดังนั้น เพื่อพิสูจน์คำพูดของเขาว่าเป็นความจริงหรือไม่ จำเป็นต้องย้อนไปศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประเด็นนี้
แต่ถ้าวัตถุประสงค์ของเขา,คือวะฮฺยูในเชิงสติปัญญาซึ่งมลาอิกะฮฺเป็นผู้นำวะฮฺยูลงมาให้เขา หรือนำดำรัสของพระเจ้ามายังเขา,เวลานั้นการวิพากษ์ด้านศาสนศาสตร์ก็จะเกิดขึ้นโดยปริยาย ซึ่งจะต้องเน้นย้ำให้เห็นว่า แนวทางการรู้จักนบีเป็นอย่างไร และเราจะจำแนกระหว่างผู้ที่เป็นนบีกับผู้แจ้งข่าวได้อย่างไร?
ปกติแล้วจุดประสงค์ของผู้ถามก็คือ เป้าหมาย และการรอบรู้ถึงแนวทางในการยืนยันความกล่าวอ้างการเป็นนบี, ด้วยเหตุนี้ เราสามารถตั้งคำถามเช่นนี้ว่า :”ถ้าหากมีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นนบี,จะสามารถรับรู้ถึงความจริงในการกล่าวอ้างของเขาได้อย่างไร?
ถ้าหากบุคคลหนึ่งกล่าวอ้างถึง วะฮฺยู นบูวัต และสาส์นจากพระเจ้า, ดังนั้น เขาต้องนำเสนอสัญลักษณ์หรือมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ หรือพยานหลักฐานต่างๆ เนื่องจาก “วะฮฺยู” มิใช่ภารกิจสำหรับทุกคนหรือใช่ว่าทุกคนจะได้รับวะฮฺยู ประกอบกับมลาอิกะฮฺแห่งวะฮฺยูจะไม่มีผู้ใดได้พบเห็นเด็ดขาดนอกจากผู้ที่เป็น ศาสดา เท่านั้น และจะไมปรากฏสัญญาณแก่ผู้ใดด้วย. การพิสูจน์ปาฏิหาริย์ที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาได้ ต้องอาศัยปาฏิหาริย์อีกประการหนึ่งที่มองเห็นได้ เพื่อว่าเมื่อผู้คนได้เห็นปาฏิหาริย์แล้ว เขาจะได้เชื่อถือได้ว่าผู้ที่กล่าวอ้างตนเป็นนบี มีการติดต่อกับแหล่งแห่งอำนาจที่เหนือธรรมชาติ และเหนือวัตถุทั้งหลาย เขาได้พึ่งพิงอำนาจที่ไม่ใช่อำนาจธรรมดาสามัญ หรือมิใช่อำนาจทางวัตถุ และวะฮฺยูได้ประทานลงมาที่เขา เขามีการสัมพันธ์ติดต่อกับพระเจ้า, เป็นเจ้าของปาฏิหาริย์, มีศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ซึ่งสามัญชนไม่อาจกระทำได้ และในที่สุดแล้วได้ยอมรับฟังคำพูดของเขา
จากคำอธิบายข้างต้นเข้าใจได้ว่า ทุกประชาชาติได้เรียกร้องการแสดงปาฏิหาริย์จากศาสดาแห่งยุคของตน อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขา และบรรดาศาสดาเหล่านั้นก็ได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพวกเขา ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์ และนำโองการต่างๆ มาสั่งสอน อัลกุรอานกล่าวว่า “โดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดาศาสนทูตของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง (ปาฏิหาริย์และเหตุผลอันชัดเจน) และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดํารงอยู่บนความเที่ยงธรรม”[11]
คำนิยามของ มุอฺญิซะฮฺ : แน่นอนสำหรับมุอฺญิซะฮฺ ได้มีคำอธิบายไว้มากมาย, แต่ถ้าไม่ใส่ใจต่อคำนิยามเหล่านั้นละก็ เราสามารถกล่าวได้ดังนี้ว่า มุอฺญิซะฮฺคือ :”ภารกิจพิเศษที่เหนือการคาดหมายและพ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ซึ่งเฉพาะศาสดาของพระองค์เท่านั้นที่สามารถแสดงปาฏิหาริย์นั้นได้ มนุษย์สามัญชนทั่วไปแม้ว่าจะทุ่มเทพลังความสามารถทั้งหมดลงไป ก็ยังไร้ความสามารถในการแสดงมุอฺญิซะฮฺอยู่ดี[12]
จากนิยามดังกล่าว เข้าใจได้ว่ามุอฺญิซะฮฺต้องมีลักษณะพิเศษต่างไปจากภารกิจทั่วไป ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ประการแรก : มุอฺญิซะฮฺ ตามนามชื่อแล้วเป็นที่ประจักษ์ว่า,เป็นภารกิจหนึ่งซึ่งสามัญชนทั่วไปไร้ความสามารถในการแสดง อีกทั้งได้แสดงให้เห็นความไร้สามารถของคนอื่น,กล่าวคือ เป็นภารกิจที่เหนือธรรมชาติและอยู่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ปุถุชน อยู่เหนือศักยภาพและความสามารถของมนุษย์ มิใช่ภารกจิที่ได้มาจากการศึกษาร่ำเรียน หรือการฝึกฝนแต่อย่างใด, ประการที่สอง : มุอฺญิซะฮฺ คือการจำแนกระหว่างผู้เป็นนบีกับมิใช่นบี การแสดงปาฏิหาริย์นี้จะเป็นหลักฐานและเป็นเหตุผลที่ไม่มีวันพ่ายแพ้ อีกทั้งไม่สามารถทำลายได้ด้วย ...[13]
ตัวอย่าง เช่น การทำในซากศพที่ตายไปแล้วฟื้นคืนชีพอีกครั้งโดยท่านศาสดาอีซา (อ.) ซึ่งภารกิจดังกล่าวนี้, นอกจากจะเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติแล้ว, ยังเป็นการพิสูจน์คำกล่าวอ้างการเป็นศาสดาของท่านจากอัลลอฮฺอีกด้วย, อีกทั้งเป็นการพิสูจน์ความไร้สามารถของคนอื่นในการนำปาฏิหาริย์มาอีกด้วย และยังเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลที่ไม่อาจลบล้างได้
การแสดงภารกิจเหล่านี้โดยบรรดาศาสดาถือว่าเป็นเหตุผลอันชัดแจ้งแล้วว่า วะฮฺยู ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่เหนือธรรมชาติและเกิดขึ้นจริง ตามกฎเกณฑ์ที่รู้จักกันดีว่า
"حکم الامثال فیما یجوز و فیما لایجوز واحد"،[14]
สามารถสรุปได้ว่า : จากอำนาจเร้นลับหนึ่งที่ทำให้ไม้เท้าของศาสดามูซา (อ.) กลายเป็นงูใหญ่, พระดำรัสของพระเจ้าก็ถือว่าเป็นความเร้นลับหนึ่งเช่นกัน, เนื่องจากทำให้ตัวเองตื่นตัวในความรู้ และยังให้ความรู้แก่คนอื่นอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้, สำคัญที่สุดสำหรับการรู้จักความสัตย์จริงของบุคคลหนึ่ง ที่กล่าวอ้างการเป็นนบีและได้รับวะฮฺยูก็คือ “มุอฺญิซะฮฺ” ซึ่งเราสามารถเชื่อหรือมีอีมานกับบุคคลที่กล่าวอ้างการเป็นนบี โดยแสดงปาฏิหาริย์เพื่อพิสูจน์การเป็นนบีของเขา และยังสามารถยอมรับคำเชิญชวนของเขาได้ ดังนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว “มุอฺญิซะฮฺ