Please Wait
6783
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอาน, ถึง 4 ครั้งด้วยกันเกี่ยวกับการลืมของปวงบ่าว โดยสัมพันธ์ไปยังพระองค์ ดังเช่น โองการหนึ่งกล่าวว่า : วันนี้เราได้ลืมพวกเขา ดังที่พวกเขาได้ลืมการพบกันในวันนี้” โองการข้างต้นและโองการที่คล้ายคลึงกันนี้สนับสนุนประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดีว่า ในปรโลก (หรือแม้แต่โลกนี้) จะมีชนกลุ่มหนึ่งถูกอัลลอฮฺ ลืมเลือนพวกเขา, แต่จุดประสงค์ของการหลงลืมนั้นหมายถึงอะไร?
การพิสูจน์ในเชิงสติปัญญา และเทววิทยาที่มีอยู่ในปัจจุบันในตำราของอิสลามกล่าวว่า การหลงลืมหมายถึงการไม่ครอบคลุมทั่วถึงเหนือสภาพของสิ่งถูกสร้าง แน่นอน สิ่งนี้อยู่นอกเหนืออาตมันสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ ดังเช่นพระดำรัสของพระองค์ตรัสว่า “องค์พระผู้อภิบาลมิใช่ผู้หลงลืมการงาน”
จากคำพูดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้ประจักษ์ชัดเจนว่า จุดประสงค์ของการหลงลืมของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้หมายถึงการลืมเลือน การไม่มีภูมิความรู้ และการไม่รู้แต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงรอบรู้ทุกสิ่งแม้แต่ความรู้ที่ซ่อนเร้นพระองค์ก็ทรงล่วงรู้ในสิ่งนั้น. ทว่าจุดประสงค์หมายถึงการตัดความเมตตาของพระเจ้าจากสิ่งนั้น,ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : การลืมเลือนของอัลลอฮฺหมายถึง ทรงกีดกันพวกเขาให้พ้นไปจากความดีทั้งหลาย.ดังนั้น ในพระดำรัสที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงลืมเลือน หมายถึง การปล่อยให้บ่าวระหนไปตามลำพังหรือตามสภาพของตนเอง โดยพระองค์ได้ถอดถอนหัตถ์แห่งความเมตตาไปจากเขา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วผลของการลืมเลือนของปวงบ่าวนั้น เกิดจากตนได้หมกมุ่นอยู่กับภารกิจทางโลกมากเกินความจำเป็น, อีกนัยหนึ่งการหลงลืมของพระเจ้าเป็นผลมาจากการลืมเลือนของมนุษย์เอง โดยที่พวกเขาไม่ใส่ใจต่อคำสอนของพระองค์ และไม่ใส่ใจต่อคำสอนของศาสนา
ในช่วงตรงนี้, อันดับแรกจะขออธิบายโองการซึ่งได้ถูกตั้งคำถามจากพวกเขาเสียก่อน หลังจากนั้นจะตอบข้อสงสัยของพวกเขาด้วยเหตุผลทางสติปัญญา รายงานฮะดีซ และโองการอัลกุรอาน, ดังนั้น เจตนารมณ์ของเราคือการตีความคำถาม หลังจากนั้นจะขจัดความสงสัยคลางแคลงใจ และข้อบกพร่อง
อัลกุรอาน หลายโองการได้กล่าวอธิบายไว้ซึ่งเป็นพื้นฐานของคำถามที่ว่า (พระองค์อัลลอฮฺทรงลืมชนบางกลุ่มกระนั้นหรือ?) โองการกล่าวว่า :
1) “ดังนั้น วันนี้เราจะลืมพวกเขาบ้าง ดั่งที่พวกเขาเคยลืมการพบกับวันของพวกตนวันนี้”[1]
2) “และจะมีการกล่าวขึ้นว่า "วันนี้เราจะลืมพวกเจ้า เช่นที่พวกเจ้าได้ลืมการพบในวันนี้ของพวกเจ้า"[2]
3) “เช่นนั้นแหละเมื่อโองการทั้งหลายของเราได้มีมายังเจ้า เจ้าก็ทำเป็นลืมมัน และในทำนองเดียวกัน วันนี้เจ้าก็จะถูกลืม”[3]
4) “โดยที่พวกเขาลืมอัลลอฮฺ แล้วพระองค์ก็ทรงลืมพวกเขาบ้าง”[4]
เราจะเห็นว่าอัลกุรอาน โองการเหล่านี้ได้อธิบายให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จะมีชนกลุ่มหนึ่งถูกลืมเลือนไปจากอัลลอฮฺ ซึ่ง 3 โองการแรกกล่าวว่า การหลงลืมนี้เกี่ยวข้องกับวันสอบสวน ส่วนโองการที่ 4, เกี่ยวข้องกับโลกนี้
ขณะที่คำถามได้ถูกถามขึ้นว่า ประการแรก : อัลลอฮฺ ทรงประสบปัญหาการลืมเลือนด้วยกระนั้นหรือ? และเราสามารถนำเอาคุณลักษณะของการลืมเลือน (ในความหมายที่ว่าพระองค์ไม่มีความรู้ประจักษ์) สัมพันธ์ไปยังพระองค์ได้หรือไม่? ประการที่สอง : ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงทั้งในแง่ของความเป็นไปได้ และเป็นอย่างไรนั้นจะสามารถกล่าวได้อย่างไร?
แล้วเราสามารถนำเอาคุณลักษณะของการลืมเลือน ในความหมายที่ว่าการไม่มีความรู้ประจักษ์สัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ ได้หรือไม่?
ตามหลักความเชื่อของอิสลาม หรือความเชื่อทางศาสนา ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของการพิสูจน์จะเห็นว่า คุณลักษณะบกพร่องทั้งหมด (ที่ไม่มีอยู่จริง) เช่น การลืมเลือนในความหมายที่ว่าสิ่งนี้ได้ถูกปฏิเสธไปจากอัลลอฮฺ ทั้งที่พระองค์ทรงสัมบูรณ์ในทุกสิ่ง ทรงรอบรู้ และทรงปรีชาญาณยิ่ง, อีกทั้งพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากคุณลักษณะบกพร่องทั้งหลาย ซึ่งได้ถูกอธิบายไว้ในตำราอ้างอิงทั้งด้านความเชื่อ และเทววิทยา เป็นตำราที่เชื่อถือได้เนื่องจากได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลทางสติปัญญา และปรัชญา แน่นอนว่าการอธิบายตำราเหล่านั้นคงไม่เหมาะสมตรงนี้[5]
อัลกุรอาน ยืนยันว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์ยิ่งจากคุณลักษณะบกพร่องดังกล่าวนี้ อัลกุรอานกล่าวว่า “พระผู้อภิบาลของเจ้านั้นไม่ทรงหลงลืมสิ่งใดเลย”[6] ในอีกที่หนึ่งกล่าวว่า : “พระผู้อภิบาลของฉันจะไม่ทรงผิดพลาด และไม่ทรงหลงลืม”[7]
ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่านี่คือหลักฐานส่วนหนึ่งสจากคำยืนยันของอัลกุรอานว่า พระผู้อภิบาลไม่ทรงลืมเลือนแน่นอน. ขณะที่คำถามกล่าวว่า โองการที่กล่าวว่าอัลลอฮฺ ทรงลืมปวงบ่าวบางคนหมายความว่าอย่างไร?
รายงานจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) จำนวนมากมาย พร้อมกับเป็นคำอธิบายกำกับโองการเหล่านี้, ซึ่งทำให้ความคลางแคลงใจเหล่านี้หมดไปอย่างปริยาย, รายงานฮะดีซจากท่านอิมามริฎอ (อ.) ตอนอธิบายโองการที่กล่าวว่า :
" فَالْیَوْمَ نَنْساهُمْ.."
ซึ่งประโยคที่ว่า (نْساهُمْ) หมายถึงพระองค์ได้ละทิ้งพวกเขาไป เนื่องจากพวกเขาได้ละเลยวันฟื้นคืนชีพก่อน ซึ่งได้ถูกเตรียมพร้อมไว้สำหรับพวกเขา, ซึ่งเราก็จะลืมพวกเขาเหมือนกันในวันนั้น[8] ดังนั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่า จุดประสงค์ของการลืม คือการเบือนสายตาแห่งพระเมตตาไปจากพวกเขา
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ว่า “การลืมเลือนของอัลลอฮฺหมายถึงการที่พระองค์กีดกันพวกเขาให้พ้นไปจากความดี”[9] แน่นอน วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิทยปัญญาที่วางอยู่บนความยุติธรรม บนพื้นฐานของการดัดนิสัยของพวกที่หลงลืม เช่น บ่าวคนนี้เมื่อสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ หรือเหมือนกับนักเรียนคนหนึ่งซึ่งตลอดทั้งปีการศึกษา เขาไม่เคยสนใจหรือให้ความสำคัญต่อบทเรียนแม้แต่น้อย, แน่นอนอนาคตทางการศึกษาของเขา บทเรียน และคุณครูได้ถูกเขาล้อเล่น และเย้ยหยันสิ้นดี ในทางกลับกันอาจารย์ที่เห็นว่านักเรียนคนนี้อยู่ในสภาพดังกล่าว อาจารย์ก็จะปล่อยเขาไว้เช่นนั้น และในวันสอบอาจารย์ก็จะปล่อยเขาให้อยู่ในสภาพนั้น โดยไม่ให้ความช่วยเหลือเขาแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันต้องใส่ใจต่อประเด็นดังต่อไปนี้กล่าวคือ การตัดความเมตตาของพระเจ้าจากปวงบ่าว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่าปวงบ่าวได้หลงลืมพระเจ้าก่อน ได้นำเอาคำสอนของศาสนา และศาสนามาเป็นเครื่องล้อเล่น, และตนมุ่งมั่นอยู่กับภารกิจทางโลก[10] กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ตอบแทนรางวัลการหลงลืมแก่มนุษย์ที่หลงลืม, ดังเช่นทีพวกเขาได้หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ดังที่อัลกุรอานเตือนสำทับว่า “สูเจ้าจงรำลึกถึงเราเพื่อเราจะได้รำลึกถึงเจ้า”
ดังนั้น ตามที่อัลกุรอานได้อธิบายมา อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงนำการหลงลืมสัมพันธ์ไปยังพระองค์ ในทางตรงกันข้ามทั้งเหตุผลจากอัลกุรอาน และสติปัญญาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การหลงลืมอันเป็นผลลัพธ์มาจากการลืมเลือน การไม่มีความรู้ประจักษ์ และการไม่รู้ ไม่อาจพบได้ในอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งพระองค์ทรงสัมบูรณ์โดยแท้จริง ทรงรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ และไม่มีสิ่งใดเล็ดรอดไปจากองค์ความรู้ของพระองค์แม้เพียงเสี้ยวของผงธุลีก็ตาม อัลกุรอาน กล่าวว่า “พระผู้อภิบาลของฉัน ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัย มันจะเกิดขึ้นแก่พวกเจ้าอย่างแน่นอน ไม่มีแม้แต่น้ำหนักเพียงเท่าธุลีในเหล่าชั้นฟ้าและในแผ่นดิน และที่เล็กยิ่งกว่านั้นและที่ใหญ่กว่านั้น จะรอดพ้นจากพระองค์ เว้นแต่จะอยู่ในบันทึกอันชัดแจ้งทั้งสิ้น”[11] ฉะนั้น จุดประสงค์ของการหลงลืมของอัลลอฮฺ, ก็คือการไม่ใส่พระทัยของพระองค์ การถอดถอนความเมตตา และการกีดกันเขาให้พ้นไปจากความดีงาม
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราคงจะสัมฤทธิ์ผลในการใคร่ครวญโองการอัลกุรอาน และการเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพ และขอพระองค์อย่าได้ถอดถอนพระหัตถ์ไปจากเรา เพื่อว่าเราจะได้ไม่เป็นผู้หลงลืม และอยู่ในความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์ตลอดไป
.
[1] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 51 กล่าวว่า : فَالْیَوْمَ نَنْساهُمْ کَما نَسُوا لِقاءَ یَوْمِهِمْ هذا
[2] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ, 34 กล่าวว่า : وَ قیلَ الْیَوْمَ نَنْساکُمْ کَما نَسیتُمْ لِقاءَ یَوْمِکُمْ هذا.
[3] อัลกุรอาน บทฏอฮา, 126 กล่าวว่า : قالَ کَذلِکَ أَتَتْکَ آیاتُنا فَنَسیتَها وَ کَذلِکَ الْیَوْمَ تُنْسى
[4] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 67 กล่าวว่า : نَسُوا اللَّهَ فَنَسِیَهُم
[5] ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก อัลเกาลุซซะดีด ฟี ชัรฮิล ตัจญฺดีด, หน้า 274, หลังจากนั้นเป็นต้นไป และหลักความเชื่อในอิสลาม บทที่ 15 - 22
[6] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 64 กล่าวว่า : و ما کان ربک نسّیا
[7] อัลกุรอาน บทฏอฮา, 52 กล่าวว่า : : لا یَضِلُّ رَبِّی وَ لا یَنْسى
[8] ตัหซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ
[9] ตัฟซีรนูร อ้างมาจากตัฟซีรโบรฮาน, บทเตาบะฮฺ 67.
[10] เป็นบทสรุปมาจากโองการที่ 51, บทอะอฺรอฟ, และโองการที่ 34 – 35 , บทญาซียะฮฺ
[11] อัลกุรอาน บทสะบาอฺ, 3 กล่าวว่า : عالِمِ الْغَیْبِ لا یَعْزُبُ عَنْهُ مِثْقالُ ذَرَّةٍ فِی السَّماواتِ وَ لا فِی الْأَرْضِ وَ لا أَصْغَرُ مِنْ ذلِکَ وَ