Please Wait
17550
ความเชื่อคือ ความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คน และพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้น
ความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติ ศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้
ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลาม ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ 3-ทฤษฎีด้วยกันกล่าวคือ
1 – ทัศนะของ อะชาอิเราะฮฺ ความเชื่อคือ การยืนยันถึงการมีอยู่ของพระเจ้า ศาสดาของพระองค์ คำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ของพระองค์
2 – ทัศนะของ มุอ์ชิละฮฺ ความเชื่อคือ การปฏิบัติไปตามหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งพระเจ้าได้สาธยายแก่เรา
3 – ทัศนะของนักปรัชญา, และนักศาสนศาสตร์อิสลามความเชื่อคือ ความรู้และการรู้จักโลกของความเป็นจริง และการทำให้จิตของตนสมบูรณ์ด้วยวิธีนี้
ในทัศนะของ อิรฟาน ความเชื่อคือ การหันคืนสู่พระเจ้าและหันห่างไปจากทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า
ความเชื่อสมัยใหม่ในศาสนาคริสต์ตะวันตกและโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในสองรูปแบบ :
1 – ความศรัทธาขั้นรุนแรงชนิดสุดโต่ง และการต่อต้านสติปัญญาซึ่งไม่เปิดทางให้สติปัญญาได้มีส่วนร่วมในในคำสอนทางศาสนา ความเชื่อในพระเจ้าและอภิปรัชญา
2 – ความเชื่อในทางสายกลางหรือทางภูมิปัญญา ซึ่งยอมรับว่านอกเหนือจากสติปัญญาแล้ว การใช้ประโยชน์อื่นเพื่อสติปัญญาในการพิสูจน์เหตุผล เพื่อเสริมสร้างหลักการทางศาสนาและความเชื่อ แม้ว่าจำนำเอาความเชื่อนำหน้าด้วยเหตุผลและสติปัญญาก็ตาม
ในหมู่นักคิดอิสลาม, ทัศนะของนักอิรฟานค่อนข้างคล้ายเหมือนแนวคิดความเชื่อชนิดสุดโต่ง ส่วนเฆาะซาลีย์ และ เมาละวีย์ สามารถกล่าวได้ว่ามีความเชื่อใกล้เคียงกับอีมานในสายกลาง
ดูเหมือนว่า การพิสูจน์แบบแห้งแล้วและไม่มีชีวิตชีวา มาไปด้วยข้อโต้แย้งทางปรัชญาคือปฐมบททางความเชื่อในแนวใหม่ได้เป็นอย่างดี
สรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายย่อมมีความผูกพันด้านจิตใจของตน มนุษย์ก็เช่นเดียวกันนอกเหนือจากการมีจิตผูกพันกับวัตถุแล้วเขายังมีจิตผูกพันด้านจิตวิญญาณ เช่น การรู้จักและความงามและ ... ความเชื่อจัดว่าเป็นสภาพหนึ่งของการมีจิตผูกพัน ซึ่งสรรพสิ่งอื่นนั้นอยู่ภายใต้รัศมีของความศรัทธา
ขอบเขตของความเชื่อสำหรับมนุษย์ทุกคนคือความเป็นส่วนตัวที่ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือความผูกพันของมนุษย์ในที่สุดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นองค์ประกอบของความกล้าหาญ และความรักก็จะงอกเงยเกิดขึ้นมา
สิ่งย้อนกลับของความศรัทธาคือสิ่งแน่นอนเสมอ ดังนั้น ผู้ศรัทธาทุกคนจึงควรจะรู้จักสิ่งนั้นเป็นอย่างดี[1]
สำหรับคำว่า "อีมาน"ตามนิยามต่างๆ ได้มีการตีความที่แตกต่างกันออกไป อัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอีย์ ดในฐานะที่เป็นนักปรัชญาชีอะฮฺ เป็นนักตัฟซีรอัลกุรอาน, ท่านได้ให้นิยามความเชื่อ (อีมาน) ไว้ดังนี้ :
"ความเชื่อ” ไม่ได้หมายถึง"ความรู้"และ"การรู้จัก"เพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวถึงบุคคลที่ตกศาสนา (มุรตัด) ว่าทั้งที่มีความรู้แต่เขาได้เบี่ยงเบนออกไปจนได้ตกมุรตัด ทว่าผู้ศรัทธานอกจากจะมีความรู้แล้ว เขายังจำเป็นต้องยึดมั่นบนความรู้ของตน และต้องมีคำมั่นสัญญาทางจิตใจต่อความรู้นั้น ในลักษณะที่ว่าร่องรอยของความรู้ต้องปรับปรุงเขาในแต่ละวันได้ ดังนั้น ผู้ใดที่มีความรู้ว่าพระเจ้าคือพระเจ้าซึ่งนอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีเจ้าอื่นใดอีก ฉะนั้น จำเป็นสำหรับเขาคือต้องยึดมั่นในความรู้ของตน กล่าวคือการก้าวไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการต่างๆ หรือปฏิบัติอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นใครก็ตามที่ปฏิบัติเช่นนี้เราเรียกเขาว่า ผู้ศรัทธา[2]
เนื่องจากอัลกุรอาน กล่าวถึงความปรารถนาของอัลลอฮฺต้องการให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางความเชื่อ จึงได้มีการเน้นย้ำและการตีความต่างๆ เอาไว้มากเกินกว่า 100 โองการ ซึ่งต้องการให้ผู้ที่กล่าวถึงมีความเชื่อศรัทธา เพื่อให้ความศรัทธาได้ช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากภยันตราย[3] ดังนั้น ความหมายของคำว่า อีมาน ในทัศนะของนักคิดอิสลามจะเห็นว่ามีความสำคัญอันเฉพาะเจาะจงพิเศษไว้
ในหมู่นักศาสนศาสตร์อิสลาม ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับแก่นแท้ของความเชื่อไว้ 3 ทฤษฎีด้วยกันคือ :
1-- ทัศนะของอะชาอิเราะฮฺ กล่าวว่า แก่นแท้ของความเชื่อคือ การยอมรับถึงการมีอยู่ของพระเจ้า รวมไปถึงบรรดานบี และคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ที่ได้ถูกสาธยายโดยบรรดานบีเหล่านั้น การสารภาพด้วยปากตามทุกสิ่งที่หัวใจได้ยอมรับ กล่าวคือกรปฏิญาณตนยืนยันถึงความจริงที่เปิดเผยและการยอมรับความจริงนั้น ในสภาพเช่นนี้ด้านหนึ่งคือการยอมจำนน และความอ่อนน้อมถ่อมตนด้านจิตใจ (สัญญาใจ) อีกด้านหนึ่งคือความสัมพันธ์ชนิดหนึ่งในแง่ของความพยายามกับเรื่อง การยอมรับและการปฏิญาณยืนยัน[4]
2— มุอ์ตะซิละฮฺ กล่าวว่า แก่นแท้ของอีมานคือ : การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้ถูกกำหนด
การยอมรับในการมีอยู่จริงของพระเจ้าและศาสดาต่างๆ ถือว่าเป็นการปฏิบัติไปตามหน้าที่ ซึ่งหน้าที่อื่นก็คือการปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ และการละทิ้งสิ่งต้องห้าม ซึ่งบุคคลใดปฏิบัติหน้าที่ของเขาได้ครบบริบูรณ์เราเรียกเขาว่า "ผู้ศรัทธา" ตามทัศนะของเขาจะเห็นว่า ความศรัทธาจะเป็นจริงต้องขึ้นอยู่กับการกระทำไม่ใช่ความเชื่อหรือทฤษฎีเท่านั้น[5]
3 -- มุมมองนี้เป็นวิสัยทัศน์ของนักปรัชญาส่วนใหญ่, และนักศาสนศาสตร์ซึ่งได้แสดงทัศนะไว้ว่า แก่นแท้ของเชื่อความเชื่อคือ ความรู้และการรู้จักทางปรัชญาในเกี่ยวกับความเป็นจริงต่างๆ ของจักรวาล
อีกนัยหนึ่ง; ความเร้นลับของจิตมนุษย์ในขั้นตอนความสมบูรณ์ทางทฤษฎี คือตัวก่อร่างสร้างความจริงของความศรัทธา ดังนั้น การปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อบังคับและละเว้นสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ซึ่งเป็นความเร้นลับของจิตในขั้นความสมบูรณ์ในแง่ของการปฏิบัติ—ซึ่งร่องรอยภายนอกของความรู้นี้คือ การรู้จัก ด้งนั้น ถ้าหลักความเชื่อในทัศนะของผู้ศรัทธาถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมากเท่าใดความเชื่อของเขาก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังเช่น ซ็อดรุล มุตะอัลลิฮีน ได้กล่าวไว้ตอนเริ่มต้น อัสฟารอัรบะอะฮฺ หัวข้อ อิลาฮียาต บิลมะนัลอะคัส ว่า : ความศรัทธาที่แท้จริงต่ออัลลอฮฺ โองการต่างๆ วันแห่งการตัดสิน ดังที่โองการได้กล่าวว่า มุอฺมินคือผู้ศรัทธาในอัลลอฮฺ มลาอิกะฮฺ อัลกุรอาน และเราะซูลของพระองค์ และโองการที่กล่าวว่า บุคคลที่ปฏิเสธอัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺและเราะซูลอของพระองค์ ตลอดจนวันแห่งการตัดสิน แน่นอน เขาได้หลงทางอย่างไกลโพ้น อีมานได้ครอบคลุมอยู่เหนือความรู้ 2 ประการ หนึ่งในนั้นคือความรู้ในเรืองการสร้างสรรค์ และความรู้ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ สิ่งที่เกิดจากความรู้ในการสร้างคือ การรู้จักอัลลอฮฺและคุณลักษณะของพระองค์ การกระทำและร่องรอยของพระองค์ ส่วนความรู้ในเรื่องการฟื้นคืนชีพคือ การรู้จักตนเอง[6]
ทัศนะดังกล่าวได้ยืนยันถึงการมีอยู่ของพระเจ้า และศาสดาต่างๆ โดยการยืนยันด้วยเหตุและผลซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงภายนอก และบางส่วนเป็นความรู้เกี่ยวข้องกับจักรวาล ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ออกแนวความเข้าใจและความเชื่อ
แต่ในทัศนะของ อิรฟาน ความเชื่อไม่ใช่ความรู้ และไม่ใช่การกระทำ ไม่ใช่การเป็นพยานยืนยัน แต่สาระสำคัญของความเชื่อคือ การยอมจำนนต่อพระเจ้าและการหลีกเลี่ยงจากทุกสิ่งที่ไร้สาระ ดังนั้น อีมานคือ : การกลับไปสู่อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกร พระองค์ผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียว พระเจ้าผู้ทรงอำนาจยิ่ง ไม่มีอำนาจอื่นใดนอกจากพระองค์ ดังนั้น ไม่มีสิ่งใดที่เขาจะมกมุ่นได้อีกนอกจากสัจธรรม และเท่าจำนวนของการจำนนในสัจธรรมคือจำนวนของอีมาน ดังนั้น อีมานคือยอมจำนวนต่อความจริง ส่วนการปฏิเสธคือการต่อต้านความจริง (ดังนั้น สิ่งที่ต่อต้านกันไม่อาจรรวมกันได้)[7]
บรรดานักวิพากษ์ชาวคริสเตียน ก็เช่นเดียวกันส่วนใหญ่ได้ยึดถือแนวทางการตีความเชื่อ (อีมาน) ตามแนวทางของอิรฟาน
Barbvr Ian เขียนว่า:
"Tylykh"กล่าวว่า ศาสนาอยู่ร่วมกับปัญหาด้านความผูกพันมากกว่า ซึ่งมี 3 คุณสมบัติดังต่อไปนี้ หนึ่ง : ความผูกพันกล่าวคือ ความมุ่งมั่นจงรักภักดีอย่างตรงไปตรงมาและความจงรักภักดี ประเด็นดังกล่าวคือชีวิตและความตาย, รากฐานของสิ่งมีชีวิตในระหว่างนั้น ซึ่งมนุษย์และชีวิตของเขาจะผ่านพ้นช่วงนี้ไป หรือสัญญาว่าจะใช้เวลาหรือชีวิตให้ผ่านพ้นไป สอง : จิตผูกพันคือสิ่งมีค่าสูงส่ง ซึ่งสิ่งมีค่าอื่น ๆ ต่างวางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว สาม : จิตผูกพันในใจของตนคือทัศนะหนึ่งที่ครอบคลุมและสมบูรณ์, ถูกซ่อนไว้เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกพื้นที่ของชีวิต และการดำรงอยู่ของมนุษย์ทุกคน[8]
ในอีกที่หนึ่งจากคำกล่าวของ"ริชาร์ดสัน" กล่าวว่า :
"เพื่อตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของพระคัมภีร์ หรือพระผู้เป็นเจ้าของชาวคัมภีร์เกี่ยวกับคำว่า อีมานหรือความเชื่อ จำเป็นต้องตระหนักประเด็นกังกล่าวคือ เป้าหมายของการรับความเข้าใจหนึ่ง หรือความคิดหนึ่งในลักษณะที่ว่าการรู้จักนั้นมิได้มีความสำคัญน้อยไปกว่าความรู้ ประเด็นปัญหาคือการเชื่อว่าไม่ใช่การพิสูจน์[9]
ในขณะที่ทฤษฎีนี้ต้องการบอกว่า ความเชื่อเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งที่เหนือความรู้ ภูมิปัญญาและเหตุผล ต้องการแสดงให้รู้ว่าความเชื่อมิได้เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเหตุผลหรือขัดแย้งกับสติปัญญา และไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติสุ่มสี่สุ่มห้าเยี่ยงคนตาบอด
"โองการหลายโองการและวลีหลายบทใน "พันธสัญญาใหม่” ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อคือประเด็นที่ตรงข้ามกับความกลัว และความวิตกกังวล ความศรัทธาคือ การได้รับหรือการชี้นำ ความประสงค์ ความเชื่อที่มีมากกว่าในคนๆ หนึ่ง อันเป็นข้อมูลความจริงที่มั่นใจ และความถูกต้องของประเด็น ความน่าเชื่อถือหรือปฏิกิริยามั่นใจ ซึ่งเกิดจากการยอมรับความมั่นใจนั้น อันเป็นแรงบันดาลใจจากพระเจ้า การอภัย และความโปรดปรานของพระองค์ และในขณะเดียวกันมนุษย์มีหน้าที่ทำให้เกิดความมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในพระเจ้าที่ว่า มนุษย์ได้รับพลังและอำนาจมาจากพระองค์ การหันกลับไปสู่พระเจ้าอันเป็นความจำเป็นที่ในการเพิ่มเติมบนทุกสิ่ง มากกว่าที่ความศรัทธาและความเชื่อมั่น ความศรัทธา ซึ่งความจำเป็นของมันคือ การมีความเชื่อ การมอบหมาย การให้สัตยาบัน และการจงรักภักดี[10]
ความเชื่อนิยม
ความเชื่อนิยม คำๆ นี้จะให้ความหมายตรงกันข้ามกับ เหตุผลนิยม หรือ"หลักการให้หรือใช้เหตุผล"นี่คือความหมายของคำพูดของเขา ในมุมมองของความเชื่อนิยมข้อเท็จจริงทางศาสนาอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ และเหตุผลที่ผ่านการไถพรวนและการพิสูจน์ความเป็นจริงไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้ ประวัติความเป็นมาของการคำกล่าวอ้างนี้มีความยึดยาว ไปถึงสมัยของเซนต์ปอลด้วยซ้ำไป แต่อุบัติการณ์การอย่างจริงจังและการมีอิทธิพลของแนวคิดนี้ ได้เริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้ในโลกตะวันตกและศาสนาคริสต์
ความเชื่อนิยมสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบที่สำคัญกล่าวคือ ความสุดโต่งและสายกลาง :
1 – ความเชื่อแบบสุดโต่ง หรือเหตุผลน่าสะพรึงกลัว (ต่อต้านสติปัญญา)
"Shstvf" หนึ่งในผู้มีความเชื่อสุดโต่งได้กล่าวว่า : การปฏิเสธเกณฑ์ของสติปัญญาทั้งหมดถื่อเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อจริง เขาเชื่อว่า ด้วยการยกตัวอย่าง คนสามารถมีความเชื่อตามพื้นฐานคำสอนของศาสนาได้ โดยไม่ต้องมีเหตุผลทางสติปัญญา เช่น เชื่อว่า (2 +2 = 5), ความศรัทธาและความเชื่อดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่แท้จริงของความเชื่อ[11]
จากมุมมองของ"เค Yrkgvr" และผู้มีความเชื่อนิยมชนิดรุนแรง เชื่อว่าความจริงทางศาสนาไม่เข้ากันกับการพิสูจน์หลักฐานด้วยสติปัญญา ความจริงทางศาสนาสามารถยอมรับบนพื้นฐานของความเชื่อศรัทธาเท่านั้น หลักการทางศาสนาที่ไม่เพียงแต่สูงส่งกว่าสติปัญญาเท่านั้น ทว่ายังเป็นสิ่งหนึ่งที่ต่อต้านปัญญา[12]
2 – ความศรัทธาสายกลาง หรือสิ่งที่นอกเหนือจากสติปัญญา :
ความเชื่อนิยมได้แอบแฝงอยู่ในแบบฉบับของ คริสต์ศาสนา "Agvsyny" ในมุมมองนี้ขณะที่เน้นถึงประเด็นที่ว่า ความเชื่อต้องมาก่อนสติปัญญา สติปัญญาและการพิสูจน์สำหรับการค้นหาความจริงทางศาสนา หรือการอธิบายและการทำความเข้าใจถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้ สามารถมีบทบาทได้ในระดับหนึ่ง[13]
ความศรัทธานิยมในแนวคิดของอิสลาม :
ถึงแม้ว่าเขตข้อมูลในกรณีที่จำเป็นของความเชื่อชนิดสุดโต่งในแนวคิดของอิสลาม จะไม่มีเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันตกและศาสนาคริสต์มีก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามตัวอย่างมากมายที่เกิดจาก ผลงานของนักคิดอิสลามก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากความเชื่อนิยมในตะวันตกเลย ซึ่งจะหยิบยกความคิดเหล่านั้นมาอธิบายในโอกาสต่อไป
[1] Paul Tylykh, พูยอยีย์อีมาน, แปล, ฮุซัยน์ นูรูซีย์, หน้า 16, 17, สำนักพิมพ์ฮิกมะฮฺ, เตหะราน, 1375 สุริยคติ
[2] เฏาะบาเฏาะบาอีย์, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮะซัยนฺ แปลตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 18, หน้า 411-412, มูลนิธีด้านภูมิปัญญาและแนวคิดของ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอีย์, 1363 สุริยคติ
[3] บทอัลอัศริ : (و العصر: بسم الله الرحمن الرحیم، والعصر. ان الانسان لفى خسر،الاّ الذین آمنوا و عملوا الصالحات و تواصوا بالحق و تواصوا بالصبر.)
ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริง มนุษย์อยู่ในการขาดทุน นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดี ตักเตือนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรมและความอดทน
[4] มะกอลาต อัลอิสลามียีน อบุลฮะซัน อัชอะรีย์ เล่ม 1 หน้า 347 อียิปต์ 1969 ค.ศ. อัลลุมะอ์ หน้า 75 พิมพ์มะดีนะฮฺ 1975 ค.ศ. ตักตาซานีย์ ชัรฮฺ อัลมะกอซิด เล่ม 2 หน้า 184 พิมพ์ อุสมานีย์ 1305 ฮ.ศ คัดลอกมาจากมุฮัมมัด มุจญฺตะฮิด ชุบบัสตะรีย์ อีมาน วะออซอดีย์ หน้า 12 สำนักพิมพ์ ตัรฮฺ นู เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1379 สุริยคติ
[5] ความเชื่อเกี่ยวกับ มุอฺตะซิละฮฺ, อะฮฺมัดอามิน, ฟัจญฺรุลอิสลาม วะ ฎุฮุลอิสลาม, หัวข้อมุอฺตะซิละฮฺ
[6] ซ็อดรุล มุตะอัลลิฮีน มุฮัมมัด ชีรอซีย์ อัลฮิกมะฮฺ อัลมุตะอาลียะฮฺ ฟิล อัสฟาร อัลอักลียะฮฺ อัลอัรบะอะฮฺ เล่ม 6 หน้า 7 สำนักพิมพ์ ดาร อะฮฺยาอุตตุรซิลอะเราะบียฺ เบรุต เลบานอน พิมพ์ครั้งที่ 4 ปี ฮ.ศ. 1990
[7] สรุปรายละเอียดของ ชัรฮฺ อัตตะอฺรีฟ จากเอรฟาน ศตวรรษที่ 5,หน้า 227, สำนักพิมพ์มูลนิธิวัฒนธรรมอิหร่าน
[8] Ian Barbvr ศาสตร์และศาสนา, แปลโดย, บะฮาอุดดีน โครัมชาฮี, หน้า 257, สำนักพิมพ์ ดานิชเกาะฮีย์ เตหะราน, 62
[9] อ้างแล้ว, หน้า 259
[10] อ้างแล้ว,หน้า 260
[11] อ้างแล้ว
[12] อ้างแล้ว
[13] อ้างแล้ว