การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7350
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa14355 รหัสสำเนา 19933
คำถามอย่างย่อ
ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
คำถาม
ความสำคัญ ความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
คำตอบโดยสังเขป

กลุ่มฮะดีซจากหนังสือ บิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็น ดาอิเราะตุลมะอาริฟ ฉบับใหญ่ของชีอะฮฺ ซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่น ตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆ อีก

บางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือ บิฮารุลอันวาร คือ :

เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน มีความครอบคลุมเหนือหัวข้อต่างๆ, กล่าวถึงสาส์นต่างๆ อันเป็นเอกเทศในกลุ่มฮะดีซ, ใช้ประโยชน์ทั้งจากแหล่งที่หาง่าย และต้นฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขแช้ว,อธิบายฮะดีซต่างๆ

แน่นอน ทั้งหมดเหล่านี้มิได้หมายความว่า รายงานทั้งหมดที่มีอยู่ในตำราเล่มนี้,จะได้รับการยอมรับทั้งหมด หรือมิต้องมีการตรวจสอบสายรายงานและเนื้อหาสาระอีกต่อไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนังสือบิฮารุลอันวาร อัลญามิอะฮฺ ลิดุรเราะริ อัคบาร อัลอะอิมตุลอัฏฮาร, หมายถึงทะเลแห่งรัศมี,ที่ได้เลือกสรรฮะดีซของอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์.

หนังสือฮะดีซชุดนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นหนังสือชุดที่สำคัญที่สุดจากบรรดาผลงานทั้งหลายของ อัลลามะฮฺ มุฮัมมัด บากิร มัจญิลิซซียฺ และยังถือว่าเป็นแหล่งอ้างอิงฮะดีซที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺอีกด้วย ซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาส่วนใหญ่ของศาสนาเอาไว้ เช่น ตัฟซีรกุรอาน,ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และอื่นๆ อีกมากมาย

) ความพิเศษต่างๆ

บางส่วนที่เป็นความพิเศษที่สำคัญที่สุดของหนังสือ บิฮารุลอันวาร คือ :

1.จัดวางอย่างมีระบบ : ตำราฮะดีซชุดนี้ถือได้ว่าเป็นแก่นอันมั่นคง ลุ่มลึก และครอบคลุมฮะดีซส่วนใหญ่ของชีอะฮฺ ซึ่งรายงานหนังสือฮะดีซต่างๆ ได้ถูกจัดไว้อย่างสมบูรณ์และเป็นระบบที่สุด

2. ทุกหมวดหมู่จะเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน : อัลลามะฮฺมัจญฺลิซซียฺ ได้นำเอาโองการที่เหมาะสมกับหมวดหมู่และหัวข้อ มากล่าวเอาไว้ตอนเริ่มต้นหมวด หลังจากนั้น ถ้าโองการต้องอาศัยการอรรถาธิบาย, ท่านจะนำเอาทัศนะของนักตัฟซีรมากล่าวไว้ด้วย หลังจากนั้นจึงกล่าวเสนอรายงานฮะดีซประจำหมวด

3. ความครอบคลุมของหนังสือบิฮารุลอันวารที่มีต่อหัวข้อต่างๆ : การวิเคราะห์หัวข้อต่างๆ และรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังบิฮาร นั้นแสดงให้เห็นว่า หนังสือชุดนี้ได้ครอบคลุมปัญหาต่างๆ ของศาสนาเอาไว้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าไม่มีหัวข้อใดในอิสลาม (ในยุคสมัยของท่าน) ที่มิได้ถูกกล่าวถึงไว้ ท่านอัลลามะฮฺ ได้กล่าวถึงประเด็นเหล่านั้นพร้อมกับรวบรวมรายงานฮะดีซกำกับไว้ด้วย

4.มีการกล่าวสาส์นต่างๆ อันเป็นเอกเทศไว้ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร : ท่านอัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ ขณะที่กล่าววิภาษต่างๆ แล้ว ในตำราชุดนี้บางครั้งถ้าได้เผชิญกับหนังสือ หรือสาส์น และเนื่องจากท่านอัลลามะฮฺ ให้ความสำคัญต่อสาส์นเหล่านั้น และสาส์นก็มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ หนังสือบิฮาร กำลังวิภาษถึง ท่านจะนำเอาสาส์นนั้นกล่าวไว้ในหมวดเฉพาะโดยสมบูรณ์ เช่น, สาส์นของท่านอิมามฮาดี (.) ที่ได้ตอบข้อสงสัยเรื่อง การบังคับและการปล่อยวาง, หรือริซาละตุลฮุกูกของท่านอิมามซัจญาด (.) , เตาฮีด มุฟัฎฎอล, และ ...

5.ใช้ประโยชน์จากแหล่งอ้างอิงที่พบน้อยและต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขแล้ว : หนึ่งในคุณค่าของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ ท่านอัลลามะฮฺมีหนังสืออยู่ในครอบครองจำนวนมากมาย ซึ่งบางเล่มสูญหายไปแล้วและมิได้ตกทอดมาถึงมือเรา, ด้วยเหตุนี้เอง, อัลลามะฮฺจึงได้รวบรวมรายงานของหนังสือเล่มนี้ด้วยศักยภาพมากมายที่อยู่ในมือท่าน, ท่านได้นำเอารายงานเหล่านั้นมาจากหนังสือที่ดีและเชื่อถือได้มากที่สุด แน่นอน ถ้าท่านไม่รวบรวมเอารายงานเหล่านั้นเอาไว้ ป่านฉะนี้เราคงไม่มีรายงานใดๆ เอาไว้อ้างอิงอีกต่อไป

6.อธิบายฮะดีซต่างๆ : ท่านอัลลามะฮฺได้อธิบายคำศัพท์ใหม่ๆ และยาก ซึ่งโอกาสน้อยที่จะพบเจอคำศัพท์เหล่านั้น พร้อมกับอธิบายตัวบทฮะดีซเอาไว้หลังจากได้บันทึกแล้ว, ท่านอัลลามะฮฺได้ใช้ประโยชน์ จากแหล่งอ้างอิงความหมายของคำศัพท์, หนังสือฟิกฮฺ, ตัพซีร, เทววิทยา, ประวัติศาสตร์, จริยศาสตร์, และอื่นๆ อีก เพื่ออธิบายรายงานเหล่านั้น ซึ่งคำอธิบายฮะดีซเหล่านั้นเองถือว่าเป็น ความพิเศษอันเฉพาะสำหรับมุอฺญิมฮะดีซชุดนี้.

7.การรายงานสายสืบและตำราอ้างอิงในทุกๆ หมวดหมู่ : อีกหนึ่งในความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ ท่านอัลลามะฮฺ จะรวบรวมฮะดีซที่เกี่ยวข้องกันในแต่ละหัวข้อเอาไว้เป็นจำนวนมาก, เพื่อเป็นประโยชน์และง่ายต่อการค้นคว้าของนักค้นคว้าทั้งหลาย อีกทั้งนักค้นคว้ายังสามารถจำแนกแยกแยะได้ทันทีว่ารายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับใด[1]

8.ที่อยู่ของแหล่งอ้างอิงต่างๆ ของรายงานฮะดีซได้ถูกกล่าวซ้ำ : อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ,จะกล่าวถึงรายฮะดีซที่ซ้ำกัน โดยจะให้ที่อยู่ของแหล่งอ้างถึงแหล่งเดียวกัน หรือจากหลายแหล่งอ้างอิงเอาไว้ นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงสายรายงานต่างๆ หรือเนื้อหาของรายงานที่คล้ายเหมือนกันไว้ในหนังสือต่างๆ อีกด้วย

) คำวิจารณ์

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญฺลิซคือ การรวบรวมรายงานต่างๆ เอาไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการสูญหายไปจากมือ, และเพื่อให้วิธีการนี้เป็นสื่อสำหรับการสืบทอดมรดกทางฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺ ไปสู่อนุชนรุ่นต่อๆ ไป, และเป็นธรรมชาติที่ว่าภารกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ ย่อมมีข้อบกพร่องหรือจุดที่อ่อนแออยู่ด้วย และแน่นอน ผลงานชิ้นนี้นอกจากจะเป็นผลงานของมนุษย์แล้ว ก็ยังเหมือนกับการงานอื่นๆ ของมนุษย์ที่ว่ายังมีข้อผิดพลาดอยู่, ซึ่งบรรดานักปราชญ์และผู้อาวุโสทางศาสนาของเราทุกคนก็ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ผลงานของท่านไม่มีข้อบกพร่องหรือไม่มีความผิดพลาดแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม, นักปราชญ์บางคนก็ถือว่าการมีรายงานที่อ่อนแอและเชื่อถือไม่ได้, ความไม่เพียงพอ หรือความผิดพลาดบางประการในการอธิบายความหมายของอัลลามะฮฺ คือจุดอ่อนและเป็นข้อบกพร่องของหนังสือชุดนี้ พวกเขาเชื่อว่าคำอธิบายต่างๆ ที่อัลลามะฮฺได้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายความฮะดีซ ได้ถูกเขียนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้เองกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดคุณค่าของหนังสือชุดนี้ และเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความผิดพลาดขึ้น[2]

การกล่าวรายงานซ้ำในหนังสือชุดนี้ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความอ่อนแอของหนังสือบิฮาร, แน่นอน ด้วยการพิจารณาเนื้อความและประโยคของอัลลามะฮฺ สามารถเข้าใจได้ทันที่ว่า ท่านมีเจตนาในการกล่าวซ้ำ แต่มีปัจจัยต่างๆ อีก เนื่องจากความขัดแย้งที่มีอยู่ในสายรายงานและเนื้อความของฮะดีซ หรือความสัมพันธ์ของฮะดีซบทหนึ่งกับหนึ่งหรือสองหัวข้อที่แตกต่างกัน เหล่านี้ก็กลายเป็นสาเหตุของการกล่าวซ้ำด้วยเช่นกัน

กล่าวกันว่าบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องกล่าวซ้ำ เพื่อเป็นระเบียบในการจัดหัวข้อของฮะดีซ ดังเช่นที่กล่าวไปแล้วว่า อัลลามะฮฺมัจญฺลิซ ได้จัดรวบรวมฮะดีซไว้อย่างมีระบบ ท่านได้จัดแบ่งหมวดหมู่ฮะดีซของเป็นหัวข้อต่างๆ จากจุดนี้เองจึงทำให้บางรายงานมีการบันทึกซ้ำเอาไว้ ดังนั้น ผู้เขียนต้องการหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ บางครั้งก็ตัดรายงานออกไป และจะกล่าวไว้ในหมวดที่เกี่ยวข้องและมีความเหมาะสมกัน หรือบางครั้งก็บันทึกรายงานไว้เต็มรูปแบบสำหรับทุกหัวข้อที่กล่าวซ้ำ สิ่งนี้ทำให้หนังสือชุดนี้มีความหนามากมายหลายเล่ม สร้างความยากลำบากแก่ผู้ค้นคว้าทั้งหลาย

ท่านอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ ทราบเป็นอย่างดีว่าถ้าหากตัดทอนรายงานฮะดีซบางบท จะทำให้สัญลักษณ์สูญหายไป ดังนั้น เมื่อมีการตัดทอนฮะดีซสัญลักษณ์ต่างๆ ย่อมสูญหายไปแน่นอน ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอัลลามะฮฺบางครั้งได้รวบรวมฮะดีซไว้ในที่เดียวกัน หรือบางครั้งในหมวดอื่นได้อ้างเฉพาะบางส่วนของรายงานที่เหมาะสมกับหัวข้อเท่านั้น ซึ่งการกล่าวเฉพาะจุดนั้น ทำให้ฮะดีซในหมวดหมู่นั้นถูกกล่าวถึงทั้งหมด ซึ่งเท่ากับเป็นการขจัดปัญหาเรื่องการสูญหายของสัญลักษณ์



[1] ซีดี ญามิอุลอะฮาดีซ, ผลิตโดยศูนย์คอมพิวเตอร์วิชาการอิสลาม (นูร) , วิทยาลัยความรู้เกี่ยวกับฮะดีซ, ดานิชฮะดีซ, หน้า 250-251, พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ญะมาล, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1389.

[2] อะมีน,ซัยยิด มุฮฺซิน, อิอฺยานุลชีอะฮฺ, เล่ม 9, หน้า 183,ดารุตตะอารุฟ ลิลมัฏบูอาต, เบรูต, หน้า 1406.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9016 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    7062 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    6222 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14991 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8715 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5874 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8377 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่?
    9327 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/08
    เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ ...
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    7073 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6273 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60080 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57470 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42162 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39260 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38906 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33967 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27980 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27902 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27728 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25741 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...