Please Wait
11405
การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ
การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต
เบื้องต้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ กฎของการทำความผิดซ้ำซากคืออะไร? การทำความผิดซ้ำซากมี 2 ความหมาย:
1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง: ความอันเป็นที่รู้กันของการทำความผิดซ้ำซาก,คือ การทำซ้ำในความผิดนั้นเสมอ โดยไม่มีการสำนึกผิดหรือคิดกลับตัวกลับใจ ดังที่ทั่วไปกล่าวว่า เขาได้ทำความผิดจนเคยชินเสียแล้ว เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้ที่ทำความผิดซ้ำซาก เขาจะไม่สำนึกผิดในสิ่งที่ได้กระทำแน่นอน
2- กระทำผิด (แม้เพียงครั้งเดียว) แต่มิได้ตัดสินใจหรือไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยคิดกลับตัวกลับใจ รายงานฮะดีซจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : การทำความผิดซ้ำซากคือ การที่บุคคลนั้นได้ทำความผิดแล้วมิได้ขออภัยในความผิด อีกทั้งมิได้ตั้งใจว่าจะขออภัยในความผิด[1] อีกรายงานหนึ่งจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า : มิได้กระทำความผิดซ้ำซากคือ ผู้ที่สำนึกในความผิด แม้วาวันหนึ่งเขาจะทำในความผิดเดียวกันซ้ำถึง 70 ครั้งก็ตาม[2]
เมื่อพิจารณาฮะดีซนี้และฮะดีซอื่นๆ เข้าใจได้ว่าการทำความผิดซ้ำซากจะมีความหมายก็ต่อเมื่อ ผู้กระทำความผิดแล้ว ไม่ได้ขออภัยโทษในความผิด หรือมิได้คิดกลับตัวกลับใจ
ผลของการทำความผิดซ้ำซาก
การทำความผิดซ้ำซากบ่อยๆ ทั้งอัลกุรอานและรายงานฮะดีซต่างตำหนิไว้อย่างรุนแรง ซึ่งบางครั้งก็ระบุถึงผลอันเลวร้ายของความผิดนั้นเอาไว้ เช่น :
1.เปลี่ยนจากความผิดเล็กให้กลายเป็นความผิดใหญ่ : รายงานฮะดีซกล่าวว่า “ไม่มีบาปเล็กอันใดทั้งสิ้นถ้ามิได้ทำซ้ำซาก ไม่มีบาปใหญ่อันใด ถ้ามิได้ปราศจากการขออภัยโทษ”[3] หมายถึงถ้าบุคคลหนึ่งทำความผิดบ่อยครั้ง แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นความผิดเล็กๆ น้อยๆ แต่มันก็จะเปลี่ยนกลายเป็นความผิดใหญ่ทันที ถ้าผู้นั้นไม่วิงวอนขออภัยโทษ แต่ถ้าเขาวิงวอนขออภัยโทษแม้ว่าจะเป็นความผิดใหญ่ เขาก็จะได้รับการอภัยจากพระองค์
2.ออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน : อัลกุรอานกล่าวถึงคุณลักษณะของผู้มีความสำรวมตนว่า : บรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขากระทำสิ่งชั่วร้าย หรืออยุติธรรมต่อตัวเอง พวกเขารำลึกถึงอัลลอฮฺ (เนื่องจากไม่มีผู้ใดอภัยได้นอกจากอัลลอฮฺ) แล้วขออภัยโทษในความผิดของพวกเขา แล้วผู้ใดเล่าจะอภัยความผิดทั้งหลายได้ นอกจากอัลลอฮฺ เช่นกันพวกเขาไม่ดื้อรั้นปฏิบัติในสิ่ง [ความผิด] โดยพวกเขารู้ดี”[4]
3.อิบาดะฮฺจะไม่ถูกตอบรับ : ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า อัลลอฮฺจะไม่ทรงตอบรับการงานใดๆ จากปวงบ่าวผู้ซึ่งปฏิบัติความผิดซ้ำซากบ่อยๆ[5]
4.อับโชคเฮงซวย : ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า : สัญลักษณ์ของความอับโชคเฮงซวยคือ : ดวงตาแห้งเผือด (ไม่เคยร้องไห้น้ำตาไม่เคยไหล) จิตใจที่แข็งกระด้าง (ใจหินใจร้าย) มีความโลภทางโลกอย่างหนัก และทำความผิดซ้ำซากเสมอ”[6]
5.หลงระเริงในบาปกรรม
6.นำพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของการปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า : อัลกุรอานกล่าวว่า : แล้วบั้นปลายของบรรดาผู้กระทำความชั่วเลวร้ายยิ่งกว่า เนื่องจากพวกเขาปฏิเสธต่อสัญญาณทั้งหลายของอัลลอฮฺ และพวกเขาได้เย้ยหยัน[7]
7.ทำให้การลงโทษรุนแรงขึ้น และการลงโทษจากบาปทั้งทางโลกและปรโลก : รายงานฮะดีซกล่าวว่า บุคคลใดกระทำความบาปใหญ่ เขาจะถูกลงโทษสองครั้ง และครั้งที่สามเขาจะถูกประหารชีวิต[8]
ทำนองเดียวกันรายงานฮะดีซกล่าวถึง การกระทำไม่ดีและน่าเกลียด เช่น การผิดประเวณี (ซินา) กล่าวคือผู้ผิดประเวณีหากถูกเฆี่ยนตี 3 ครั้งแล้ว ครั้งที่ 4 เขาจะถูกประหารชีวิต[9]
ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่ทำความผิดแล้วไม่ว่าความผิดใดก็ตาม แม้ว่าจะเป็นความผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องรีบขออภัยโทษทันที และต้องตัดสินใจว่าจะไม่กลับไปทำความผิดนั้นอีกต่อไป เนื่องจาก การทำความผิดซ้ำซากบ่อยๆ ครั้ง เป็นสาเหตุทำให้บ่าวต้องห่างไกลจากพระเจ้า จิตใจจะมัวหมองและใจดำในที่สุด เมื่อถึงขั้นนั้นแล้ว ความสัมฤทธิผล (เตาฟีก) ในการลุแก่โทษจะถูกถอดถอนไปจากมนุษย์
[1] มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนี, อุซูลกาฟียฺ, เล่ม 2 หน้า 288, หมวด การทำความผิดซ้ำซาก ฮะดีซที่ 2 กล่าวว่า
عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع فِي قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ وَ لَمْ يُصِرُّوا عَلى ما فَعَلُوا وَ هُمْ يَعْلَمُونَ قَالَ الْإِصْرَارُ هُوَ أَنْ يُذْنِبَ الذَّنْبَ فَلَا يَسْتَغْفِرَ اللَّهَ وَ لَا يُحَدِّثَ نَفْسَهُ بِتَوْبَةٍ فَذَلِكَ الْإِصْرَارُ،
[2] อันวาร อัตตันซีล, เล่ม 1, หน้า 182.
[3] อุซูลกาฟียฺ, เล่ม 2 หน้า 288, หมวด การทำความผิดซ้ำซาก ฮะดีซที่ 1
[4] บทอาลิอิมรอน, 135 กล่าวว่า
وَ الَّذِينَ إِذَا فَعَلُواْ فَاحِشَةً أَوْ ظَلَمُواْ أَنفُسَهُمْ ذَكَرُواْ اللَّهَ فَاسْتَغْفَرُواْ لِذُنُوبِهِمْ وَ مَن يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا اللَّهُ وَ لَمْ يُصرُِّواْ عَلىَ مَا فَعَلُواْ وَ هُمْ يَعْلَمُون
[5] อุซูลกาฟียฺ, เล่ม 2 หน้า 288, หมวด การทำความผิดซ้ำซาก ฮะดีซที่ 3 กล่าวว่า
قال أَبِي بَصِيرٍ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع يَقُولُ لَا وَ اللَّهِ لَا يَقْبَلُ اللَّهُ شَيْئاً مِنْ طَاعَتِهِ عَلَى الْإِصْرَارِ عَلَى شَيْءٍ مِنْ مَعَاصِيهِ
[6] เชคโฮร อามิลียฺ, วะซาอิลชีอะฮฺ, เล่ม 15, หน้า 337, ฮะดีซที่ 20680, กล่าวว่า
عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص مِنْ عَلَامَاتِ الشَّقَاءِ جُمُودُ الْعَيْنِ وَ قَسْوَةُ الْقَلْبِ وَ شِدَّةُ الْحِرْصِ فِي طَلَبِ الدُّنْيَا وَ الْإِصْرَارُ عَلَى الذَّنْبِ .
[7] บทโรม, 10 กล่าวว่า ثُمَّ كانَ عاقِبَةَ الَّذِينَ أَساؤُا السُّوآي أَنْ كَذَّبُوا بِآيات اللَّهِ وَ كانُوا بِها يَسْتَهْزِؤُنْ.
[8] อุซูลกาฟียฺ, เล่ม 7 หน้า 191, ฮะดีซ 2
[9] อ้างแล้ว ฮะดีซที่ 1.