Please Wait
8847
อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้
คำว่า “ดีน” คือคำภาษาอะรับ โดยความหมายแล้วหมายถึง “ความเชื่อที่มีต่อพระผู้ทรงสร้างโลกและมนุษย์” ซึ่งมีคำสั่งอันเหมาะสมเป็นหลักปฏิบัติเคียงคู่กับหลักความเชื่อ”[1] เมื่อพิจารณาคำนิยามและการตีความคำว่า ดีน แล้ว เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทุกศาสนาจะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ กล่าวคือ :
1.หลักความศรัทธา หรือหลักความเชื่อซึ่งเป็นกฎระเบียบอันเป็นรากฐานสำคัญของศาสนานั้น
2.บทบัญญัติในการปฏิบัติ ซึ่งมีความเหมาะสมกับรากฐาน หรือเป็นรากฐานต่างๆ ทางความเชื่อ ซึ่งได้รับการตีความมาจากความเชื่ออีกทีหนึ่ง[2]
คำว่า “อุซูลลุดดีน” ถือเป็นส่วนแรก (หลักความศรัทธา) คำว่า “ฟุรูอิดีน” เป็นส่วนที่สอง (หลักปฏิบัติ)[3] ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอุซูลุดดีน เนื่องจากเป็นแก่นหรือ อัซร์ นั่นเอง อยู่ในขอบข่ายของความคิดและความศรัทธา หมายถึง สิ่งที่เป็นรากฐาน และพื้นฐานหลักของศาสนา, ดังนั้น ทั้งในแง่ของคุณภาพและปริมาณของคนๆ หนึ่ง ที่ให้ความสำคัญกับหลักปฏิบัติทางศาสนา ก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานทางความเชื่อของเขาที่มีต่อหลักศรัทธา ว่ามั่นคงหรือเข้มแข็งมากน้อยเพียงใด[4]
อุซูลลุดดีน มีนิยามอยู่ 2 อย่าง กล่าวคือ นิยามทั่วไปและนิยามเฉพาะ ซึ่งอุซูลลุดดีนที่ใช้เคียงคู่กับบทบัญญัติของศาสนา ถือว่าเป็น อุซูลลุดดีนในนิยามทั่วไป แต่สำหรับอุซูลลุดดีน ที่ครอบคลุมหลักความเชื่อหนึ่งหรือสองประการ อันเป็นสัญลักษณอันเฉพาะสำหรับศาสนา (ซึ่งนอกจากจะครอบคลุมอุซูลในนิยามทั่วไปแล้ว) ยังหมายถึง อุซูลในความหมายเฉพาะจำกัดอีกด้วย[5]
อุซูลลุดดีนของอิสลาม (ในความหมายทั่วไป) ครอบคลุมประเด็น เตาฮีด, นบูวัต, และมะอาด, ส่วนอุซูลลุดดีนในความหมายจำกัดเฉพาะ (อุซูลของนิกาย) นอกจากจะครอบคลุมปัญหา เตาฮีด นบูวัต และมะอาดแล้ว ยังครอบคลุมเรื่อง อัดล์ และอิมามัตอีกด้วย
จากคำอธิบายดังกล่าวนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า อุซูลลุดดีน นั้นหมายถึงอะไร และครอบคลุมเหนือภารกิจอันใดบ้าง, ในทำนองเดียวกันเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า วัตถุประสงค์จากฟุรูอิดีน หมายถึงบทบัญญัติในการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม, ระดับของอุซูลลุดดีน เนื่องจากมาจากภาคของความรู้ จึงอยู่ก่อนหลักฟุรูอิดีน ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ กล่าวคือตราบที่ยังไม่มีความรู้และความเชื่อ การปฏิบัติก็ไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น แน่นอน ความรู้ในหลักความเชื่อหรือหลักศรัทธา มิได้หมายถึงความรู้เรื่องภาษา, ทว่าหมายถึง ความรู้ที่มาพร้อมกับความเชื่อมั่น หรือที่เรียกว่า อิลมุลยะกีน นั่นเอง
มัรฮูม เฟฎกาชานียฺ (รฮ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ความประเสริฐของทั้งสอง (ความรู้และการปฏิบัติ) คือความรู้ ความรู้ประหนึ่งต้นไม้ ส่วนอิบาดะฮฺประหนึ่งผลไม้ของต้นไม้นั้น”[6]
ท่านยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับอีมาน (ยะกีน) ที่ย้อนกลับของอีมานคือความรู้, เนื่องจากอีมานคือการยอมรับต่อสิ่งหนึ่ง และนำไปสู่การมโนภาพของสิ่งนั้น ซึ่งได้แก่ความรู้นั่นเอง อีมานจะมีคุณค่าก็ขึ้นอยู่กับ ความรู้[7]
ดังนั้น วัตถุประสงค์จาก อุซูลลุดดีน หมายถึงหลักอุซูลซึ่งมนุษย์จะต้องมีความรู้ และเชื่อมั่นต่อสิ่งนั้นตั้งแต่แรกเสียก่อน เพื่อจะได้เข้าไปสู่ อิสลาม เวลานั้นโดยตัวของมันจะเรียกร้องไปสู่ การเรียนรู้บทบัญญัติของศาสนาอิสลาม[8] เมื่อ “ความรู้อยู่ก่อนการอิบาดะฮฺ”[9] ความประเสริฐของความรู้จึงมาก่อนการปฏิบัติ, ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกภารกิจลักษณะนี้ว่า เป็นหลัก (อัซรฺ) บุคคลหนึ่งหลังจากได้เข้ารับอิสลามแล้ว เขาจะได้พบกับหลักอิบาดะฮฺแบบเปิดเผย เช่น (นะมาซ, ซะกาต, ศีลอด, และ ..และอิบาดะฮฺที่แฝงอยู่ภายใน เช่น การตะวักกัลป์ ตักวา การขอบคุณ และ ...)[10] ซึ่งเราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า หลักฟุรูอิดีน, ดังเป็นที่ประจักษ์ว่า นิยามของฟุรูอิดีน จึงไม่มีวันขัดแย้งกับนิยามของ อิบาดะฮฺ หรืออิบาดะฮฺที่เป็นเสาหลักของศาสนา ถ้าหากเปรียบอิสลามเหมือนกับบ้านหลังหนึ่ง หลักอุซูล ก็เหมือนกับกุญแจที่ไขประตูเข้าบ้าน และเป็นที่รู้กันดีว่า บ้านหลังนี้มีเสาต่างๆ คอยค้ำจุนให้บ้านตั้งอยู่ได้ ดังนั้น การอธิบายลักษณะนี้เทียบได้กับ อิบาดะฮฺบางอย่าง ซึ่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้ตีความไว้ เช่น ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า “อิสลามวางอยู่บนรากฐานสำคัญ 5 ประการ ได้แก่นะมาซ, ซะกาต, ฮัจญฺ, ศีลอด, และวิลายะฮฺ, และคำตอบที่ท่านได้ตอบซุรอเราะฮฺ กล่าวว่า : วิลายะฮฺคือรากฐานที่สำคัญที่สุดในหมู่รากฐานทั้งห้า[11] ดังนั้น ทั้งห้าประการนี้ เวลานั้นอิบาดะฮฺจะมีความหมายสมบูรณ์ก็ต่อเมือ คนเราได้เข้าไปสู่อิสลามทั้งด้านความเชื่อ และการปฏิบัติ ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวถึงคุณค่าและความประเสริฐของ ความรู้ การรู้จัก หลังจากนั้นเป็นหลักการปฏิบัติ ท่านกล่าวว่า “สิ่งที่สูงส่งที่สุดที่นำพามนุษย์ไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคือ การรู้จัก หลังจากนั้น นะมาซ”[12]
ใช่แล้ว นะมาซ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ท่านอิมามซอดิก (อ.) จึงได้เปรียบนะมาซว่า เป็นเสาหลักของศาสนา[13] ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : ถ้าหากนะมาซของบุคคลหนึ่งถูกตอบรับ[14] การงานอื่นของเขาจะถูกตอบรับโดยปริยาย แต่ถ้านะมาซไม่ถูกตอบรับ การงานอื่นก็จะไม่ถูกตอบรับโดยปริยาย[15] ซึ่งการให้ความสำคัญมากมายขนาดนี้ มิได้ขัดแย้งกันเลยที่ว่า นมาซเป็นหนึ่งในหลัก ฟุรูอิดีน
[1] ออมูเซซอะกออิด, อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, หน้า 11
[2] อ้างแล้ว, หน้า 12
[3] อ้างแล้ว
[4] อุซูล อิอฺติกอดอต, เชคอะลี อัสฆัร กออิมี, หน้า 5
[5] ออมูเซซอะกออิด ด้วยการกล่าวเชิงสรุปอธิบายความ
[6] อิลมุลยะกีน ฟี อุซูลลุดดีน, มุลลา มุฮฺซิน เฟฎกาชานียฺ, เล่ม 1, หน้า 4-5, สำนักพิมพ์ บีดอร
[7] อ้างแล้ว, หน้า 6-8
[8] มัสลัก อิมามียะฮฺ ดัร อุซูล อะกออิด, ซัยยิดมะฮฺมูด มัรอะชี ชูชตะรียฺ, หน้า 11, สำนักพิมพ์ ญามิอฺมุดัรริซีน
[9] อิลมุลยะกีน ฟี อุซูลลุดดีน, หน้า 12.
[10] อ้างแล้ว
[11] สะฟีนะตุล บิฮาร, เชคอับบาซ กุมมี, เล่ม 3, หน้า 109.
[12] อ้างแล้ว
[13] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4, หน้า 27, عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ الصَّلَاةُ عَمُودُ الدِّينِ.
[14] เป็นที่ชัดเจนว่า การที่นะมาซไม่ถูกตอบรับ การอิบาดะฮฺอื่นๆ ในอิสลาม ซึ่งรายงานได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านั้นไว้ก็จะไม่ถูกตอบรับตามไปด้วย เช่น บางรายงานกล่าวว่า เงื่อนไขที่นะมาซจะถูกตอบรับคือ การยอมรับในวิลายะฮฺ “เงื่อนไขที่การงานจะถูกตอบรับคือ วิลายะฮฺ” มะนากิบ คอรัซมียฺ, 19, 252.
[15] สะฟีนะตุลบิฮาร, เชคอับบาซกุมมี, เล่ม 3, หน้า 109.