Please Wait
16415
รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย
วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่
ภารกิจของจิตวิญญาณเป็นหนึ่งในปัญหาที่สลับซับซ้อนที่สุด ซึ่งจนถึงปัจจุบันความรู้ของมนุษย์ยังไร้ความสามารถในการรับรู้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้นักวิชาการมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ในลักษณะที่ว่า นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า มีทัศนะเกี่ยวกับจิตวิญญาณมากเกินพันทัศนะ และยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้อง[1]
อัลกุรอาน ได้เน้นถึงความไร้สามารถของมนุษย์ในการรู้จักวิญญาณ โดยกล่าวว่า »พวกเขาจะถามเจ้า เกี่ยวกับวิญญาณจงกล่าวเถิดว่า รื่องวิญญาณนั้นเป็นไปตามพระบัญชาของพระผู้อภิบาลของฉัน พวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น”[2]
จากโองการและรายงาน เข้าใจได้ว่า วิญญาณ เป็นการมีอยู่ที่ต่างไปจากสังขาร เป็นอรูปห่างไกลจากวัตถุและสสาร กล่าวคือ มิได้จำกัดอยู่ในเวลาและสถานที่ ทำนองเดียวกันเป็นที่ชัดเจนว่าปฏิสัมพันธ์ของวิญญาณที่มีต่อร่างกายนั้น ทั้งในตอนตื่นและหลับ การแยกออกของวิญญาณจากร่างกาย กับความตายนั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อัลกุรอาน กล่าวว่า “อัลลอฮฺ จะทรงปลิดชีวิตเมื่อถึงความตายและผู้ที่ยังไม่ตายโดยสมบูรณ์ขณะนอนหลับ ดังนั้น พระองค์จะปลิดชีวิตผู้ที่พระองค์กำหนดความตายแก่เขาแล้ว และจะทรงยืดชีวิตหนึ่งไปถึงวาระที่กำหนดไว้ แน่นอน ในการนี้ย่อมเป็นสัญญาสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ”[3]
อัลกุรอาน กล่าวถึงความตายโดยใช้คำว่า “ตะวัฟฟา” หมายถึงการได้รับหลังจากนั้นได้เอาไป อีกนัยหนึ่ง วิญญาณที่อัลลอฮฺ ทรงมอบแก่มนุษย์พระองค์ได้นำกลับคืนไปอีกครั้ง ซึ่งการปลิดดวงวิญญาณนั้นแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกันกล่าวคือ 1.ขั้นตอนที่อ่อนแอคือขณะนอนหลับ 2. ขั้นตอนที่แข็งแรงขณะเสียชีวิต
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามทั้งสองขั้นตอนนั้นต้องใคร่ครวญเป็นพิเศษ วิญญาณที่ได้แยกออกจากร่างขณะนอนหลับ เป็นวิญญาณเช่นไร และร่องรอยของวิญญาณนั้นเป็นอย่างไร? ช่วงเวลาที่ดวงวิญญาณถูกปลิด มีสัญลักษณ์อย่างไรบ้าง เนื่องจากขณะนอนหลับนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลไม่มากเท่าใด เพียงแค่ต่อมที่รับรู้และร่างกายของเขาจะอ่อนแอลงเท่านั้น[4]
ดังที่นักวิทยาศาสตร์และนักสรีระวิทยา ขณะที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการนอนหลับและความฝัน ก็ได้พบว่ามนุษย์ขณะนอนหลับนั้นใกล้เคียงกับความตายมากที่สุด ซึ่งการวิจัยของพวกเขาเป็นเพียงด้านร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเท่านั้น มิใช่มิติของวิญญาณ พวกเขาได้แบ่งการนอนหลับออกเป็น 2 ช่วง ภายใต้หัวข้อว่า การนอนหลับไม่สมบูรณ์ (REM (กับการนอนหลับธรรมดา (Non REM)
ก) การนอนหลับสบาย เรียกว่า “คลื่นสั้น” (Non REM) ในช่วงนี้ สมองของคนเราจะได้รับการผักผ่อน คลื่นสมอง จะสงบและผ่อนคลาย ความเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้าจากการทำงานในตอนกลางจะค่อยๆ หายไปจากร่างกาย การนอนหลับสบายนี้เริ่มต้นตั้งแต่เราได้เข้าไปสู่ที่นอนแบบยาวนาน แต่ค่อยๆ เปลี่ยนไปซึ่ง 90 นาทีต่อมาความนานนั้นจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ
ข) การนอนหลับไม่สมบูรณ์หลับไม่สนิท หรือ(REM (การนอนหลับประเภทนี้จะเกิดการต่อต้านกันในร่างกาย เนื่องสมองคลื่นสมองจะเต้นเร็วเหมือนทำงานอยู่เสมอ มีความกังวลคล้ายคนตื่นนอน ดวงตาทั้งสองปิดอยู่ใต้เปลือกตา เมื่อตื่นขึ้นจะกรอกสายตาไปทางซ้ายและขวาขึ้นบนและลงล่าง แต่ร่างกายไม่ขยับเขยื้อนแต่อย่างใด ซึ่งในความเป็นจริงอวัยวะและกล้ามเนื้อร่างกายเหมือนเป็นอัมพาต เมื่อเราฝันไป ขณะนอนหลับไม่สนิทในช่วงที่สองในระยะ 90 นาที
การนอนหลับธรรมดาหรือหลับสนิทนั้นมีสี่ระดับด้วยกัน ในช่วงนั้นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว สายตาจะมองไม่เห็น ซึ่งถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้วการนอนหลับของคนเราแบ่งออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ซึ่งแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งคลื่นสมองในแต่ระดับเหล่านี้ ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ในสองระดับนี้จะไม่มีความสม่ำเสมอในช่วงนอนหลับ[5]
ส่วนการนอนหลับแบบ REM เหมือนคนเป็นอัมพาต เซลล์ประสาทจะเคลื่อนไหว สมองและไขสันหลังจะถูกยับยั้ง ในช่วงเวลานั้นเองสมองของเขาจะทำงานหนัก เลือดและออกซิเจนจะถูกสูบฉีดใช้มาก[6]
ทำนองเดียวกัน บุคคลที่นอนหลับอยู่ในระดับของ การนอนหลับไม่สนิทหรือไม่สมบูรณ์ อวัยวะภายในส่วนมาก เช่น หัวใจ และระบบทางเดินหายใจ การสูบฉีดเลือด การสร้าง การหลั่ง จะมีเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย ฮอร์โมนในร่างการก็จะมีการสูบฉีดมากด้วย (มีความเป็นไปได้ที่จะมีปัญหากับหัวใจ) กระเพาะอาหาร และลำไส้ จะทำงานมากขึ้นด้วย[7]
การนอนหลับไม่สนิทหรือ REM นั้นจะได้เห็นสภาพแปลกๆ เช่น หัวใจจะเต้นไม่เป็นระบบในช่วงนี้ และอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ อาจเป็นไปได้ที่ว่าการก่อให้เกิดการโจมตีที่หัวใจ เกณฑ์ความตายในเวลากลางคืน ขณะนอนหลับนั้นมีความเป็นไปได้สูงกว่าตอนกลางวัน[8]
เป็นเพราะเหตุใดที่บางคนมีความทรงจำกับความฝัน
ผลจากการวิจัยพบว่าการทดลองต่างๆ หลังจากตื่นนอน ในระดับของการนอนหลับไม่สนิท เขาจะมีความทรงจำเรื่องความฝัน แต่ในระดับของการนอนหลับสนิทจะไม่มีความทรงจำด้านนี้เลย[9]
บางคนกล่าวว่า มนุษย์บางคนไม่เคยนอนหลับฝันเลย แน่นอนคำพูดเหลานี้ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ได้เกิดขึ้นคอ ส่วนมากแล้วจะลืมความฝันของตนเอง ถ้าหากบุคคลหนึ่งขณะนอนหลับ หรือไม่ได้ตื่นหลังจากนั้นโดยพลัน เขาจะไม่นอนหลับฝัน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่คิดว่านานหลายปีแล้วที่เขาไม่เคยนอนหลับฝันเลย เมื่อเขาไม่เคยนอนหลับไม่สนิท REM และตื่นขึ้นในช่วงนั้น จะพบว่าเรื่องราวจากความฝันต่างๆ เหมือนเป็นความจริงและสร้างความตื่นเต้นแก่เขาเป็นอย่างยิ่ง[10]
เราจะได้ประสบและรู้ถึงสาระของการนอนฝัน ขณะนอนหลับ (หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย) เขาได้ตื่นขึ้น ถ้าเขารู้สึกตัวในช่วงนั้น และพยายามทบทวนความฝันของตนเขาก็จะสามารถจดจำความฝันได้บางส่วน และมันจะหายไปอย่างรวดเร็ว เป็นไปได้ที่ว่าเราได้นอนหลับฝันไป แต่เราไม่อาจจดจำสาระของความฝันไว้ได้นั่นเอง[11]
อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วสามารถกล่าวได้ว่า “การนอนหลับคือ การเบี่ยงเบนวิญญาณไปจากร่างกาย ซึ่งการเบี่ยงเบนนี้บางครั้งหนักหน่วง บางครั้งก็แผ่วเบา และบางครั้งก็นาน และบางครั้งก็สั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาสลบคือ ช่วงเวลาที่วิญญาณเบี่ยงเบนไปจากร่างกาย แม้ว่าช่วงเวลานั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของยาสลบ และการผ่าตัดซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือยาสลบซึ่งมีผลอย่างรุนแรงกับร่างกาย ทำให้ปฏิสัมพันธ์ของจิตวิญญาณแยกออกจากร่างกาย แม้ว่าจะมีปฏิสัมพันธ์อยู่บ้างแต่ก็น้อยและอ่อนแอมาก ซึ่งทำให้ร่างกายมีการดำเนินกิจกรรมอ่อนแอ ประหนึ่งว่าจิตวิญญาณปราศจากอุปกรณ์และร่างกาย ด้วยเหตุนี้ จนถึงช่วงเวลาหนึ่งร่างกายไร้ความสามารถอย่างสมบูรณ์ ในการเป็นเครื่องของจิตวิญญาณ ในทางตรงกันข้ามจิตวิญญาณเองก็มีปฏิสัมพันธ์กับร่างกายแบบอ่อนแอที่สุด บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ เหตุผลของการเบี่ยงเบนจิตวิญญาณไปจากร่างกาย หรือการมีปฏิสัมพันธ์อ่อนแอระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกาย ในขณะสลบ แม้แต่ได้มีการดำเนินการหนัก เช่น ผ่าตัดร่างกาย แต่เนื่องจากจิตวิญญาณยังมิได้ควบคุมร่างกาย ทำให้เขาไม่ต่นจากสลบ[12]
ผลจากที่กล่าวมา :
1.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับร่างกาย มิได้มีเพียงช่วงนอนหลับ ทว่าในช่วงตื่นก็ไม่เป็นที่ชัดเจนสำหรับเรา
2.มนุษย์สามารถจดจำความฝันในช่วงการนอนหลับไม่สนิทเท่านั้น เนื่องจากการนอนหลับสนิทจะมีความทรงจำน้อยมาก ดังนั้น การจดจำความฝันในช่วงที่นอนหลับไม่สนิท และตื่นขึ้นโดยฉับพลับหลังจากฝัน
3.สาเหตุที่มนุษย์ ไม่มีความทรงจำความฝันในช่วงของการนอนหลับสนิทได้ เนื่องจากจิตวิญญาณไปเบี่ยงเบนไปจากร่างกายมากกว่าการนอนหลับไม่สนิท ด้วยเหตุนี้เอง ขณะสลบหรือหมดสติ จิตวิญญาณจะเบี่ยงเบนไปจากร่างกายมาก และเมื่อช่วงเวลาผ่านไปนานพอสมควร จิตวิญญาณจะค่อยๆ กลับมาสู่ร่างอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่อาจจดจำความฝันได้
[1] มาะการิมชีรอซียฺ, บทเรียนหลักศรัทธาสำหรับเยาวชน หน้า 5
[2] บทอัสรออฺ 85, «وَ يَسْئَلُونَكَ عَنِ الرُّوحِ قُلِ الرُّوحُ مِنْ أَمْرِ رَبِّي وَ ما أُوتيتُمْ مِنَ الْعِلْمِ إِلاَّ قَليلا»
[3] บทซุมัร 42
[4] มิซบาฮฺ ยัซดี มุฮัมมัดตะกี พีชเนยอซฮอเยะ มุดีรียัต อิสลามี หน้า 71, 72
[5] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 242.
[6] คาร์ลสันนีล จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 401.
[7] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 247
[8] โรเบิร์ต จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 325
[9] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 253
[10] คาร์ลสันนีล จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 403
[11] ริต้าแอล และกลุ่มนักเขียน จิตวิทยาฮายล์การ์ด หน้า 372
[12] ซีดี วิชาการพะรีชอน