Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
14108
14108
อัปเดตเกี่ยวกับ:
2556/01/24
รหัสในเว็บไซต์
fa22457
รหัสสำเนา
32871
- ร่วมกัน
คำถามอย่างย่อ
กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
คำถาม
อัสลามุอะลัยกุม เพราะเหตุใดฝ่ายซุนนียฺจึงกล่าวว่า การถอนคิ้วของสตรีเป็นฮะรอม แม้ว่าจะถอนเพื่ออวดสามีก็ตาม การออกคำวินิจฉัยทำนองนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่? ดังนั้น ดิฉันขอคำตอบที่แข็งแรง เพื่อเป็นข้อหักล้าง ที่สำคัญถูกต้องตรงหลักการของชีอะฮฺ
คำตอบโดยสังเขป
การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น
คำตอบเชิงรายละเอียด
สตรีได้เสริมสวยเพื่ออวดสามีถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าในหลัการอิสลามถือว่เป็น มุสตะฮับด้วยซ้ำไป ในทางกลับกันสตรีที่ปล่อยปละละเลย หรือเฉยเมยเรื่องการแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าได้รับการตำหนิอย่างยิ่ง[1]คำสั่งลักษณะนี้เป็นสาเหตุทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น แน่นอน อาจมีนักปราชญ์บางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการเสริมสวยของสตรี (ตัวอย่างการถอนขนคิ้ว) นักปราชญ์กลุ่มนี้สั่งห้ามโดยเด็ดขาด (แม้แต่การเสริมสวยเพื่ออวดสามี) ซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมด้วยเช่นกัน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้นำหลักฐานฮะดีซบางบท มาเป็นหลักฐานในการออกทัศนะ เช่น รายงานบางบทจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งสตรี 8 จำพวก อันประกอบด้วย :
«نامصه، منتمصه، واشره، مستوشره، واصله، مستوصله، واشمه و مستوشمه».
ผู้รายงานกล่าวว่า: «نامصه»หมายถึง หญิงที่ผูกขนที่หน้าเป็นปม, «منتمصه» หมายถึง หญิงที่ถอนขนบนใบหน้าจนเกลี้ยงเกลา, «واشره» หมายถึง หญิงนำฟันของหญิงคนอื่นไปแบ่งครึ่งแล้วเหลาจนแหลม, «مستوشره หมายถึง หญิงที่ปล่อยให้กระทำสิ่งเหล่านี้บนเธอ, «واصله» หมายถึง หญิงที่พูดเพื่อให้นำผมของหญิงคนหนึ่ง ไปต่อกับผมของหญิงอีกคนหนึ่ง, «مستوصله» หมายถึง หญิงที่นำผมของหญิงอื่นมาต่อกับผมของตน, «واشمه» หมายถึง หญิ่งที่ทำใฝบนมือหรือบนใบหน้าของหญิงอื่น วิธีการทำคือจะใช้เข็มเจาะที่ฝ่ามือ หรือหลังมือของหญิงให้เป็นรูหลังจากนั้นจะนำผงเขียนตา กึ่งสีฟ้าในสมัยโบราณใส่เข้าไป จำทำให้แลดูเป็นสีฟ้าเข้มๆ, ส่วนคำว่า «مستوشمه» หมายถึง หญิงที่สักบนร่างกาย[2]
โดยทั่วไปแล้วรายงานบทนี้ที่กล่าวถึงนั้น มิได้หมายความว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เสริมสวยเลยแม้แต่เล็กน้อย แต่เมื่อเราพิจารณาคำพูดอันทรงค่ายิ่งของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺแห่งเราะซูล (อ.) จะทำให้เข้าใจรายงานบทนี้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น รายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) โดยเกาะรอมุลได้ถามท่านอิมามถึงเรื่องผมเทียมหรือวิค ซึ่งทำมาจากผม ขน หรือไหม แล้วสตรีได้นำไปใส่ครอบไว้บนผมของตน[3] ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า “ไม่เป็นไร ถ้าสตรีจะแต่งตัวเพื่ออวดสามีของตน”
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันกล่าวกับท่านอิมามว่า มีรายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) มาถึงเราว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งเหล่าสตรีที่เป็นทั้ง «واصله و موصوله» ผู้เชื่อมต่อ และผู้ถูกต่อเชื่อม ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า มิได้เป็นดั่งที่ท่านเข้าใจ สตรีที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวสาปแช่งในฐานะที่เธอเป็นสื่อ นั่นหมายถึงในช่วงวัยรุ่นเธอได้ชอบทซินา ส่วนในวัยชราเธอก็ยังเป็นแม่สื่อแม่ชัก ให้ชายหนุ่มและหญิงสาวประกอบการชั่ว[4]
อีกรายงานหนึ่ง อบี บะซีร กล่าวว่า ฉันถามท่านอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับการเสริมสวยของสตรี (เช่นการถอนขนคิ้วหรือบนหน้า) เพื่ออวดสามี, ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีการกระทำอันใดจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งสิ้น”[5]
ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกการเสริมสวยจะเป็นฮะรอมสำหรับสตรีเสมอไป ซึ่งเฉพาะการเสริมสวยที่โอ้อวดชายอื่นนอกจากสามีของตน อันเป็นสาเหตุนำเธอไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นความชั่วร้ายและเป็นบาปกรรมสำหรับสังคม ด้วยเหตุนี้ เอง บรรดานักปราชญ์อิสลาม จึงเตือนสำทับเหล่าสตรีเสมอว่า พวกเธอสามารถเสริมสวยได้แต่สำหรับสามีของเธอเท่านั้น แน่นอนว่าถ้าเธอเสริมสวยเพื่อโอ้อวดชายอื่น ถือว่าฮะรอมไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด สตรีต่างมีหน้าที่เหมือนกันคือ ต้องปิดปิดสิ่งสวยงามและเครื่องประดับ ให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[6]
มีคำพูดว่าการถอนคิ้วสำหรับสตรีทั้งหลาย โดยหลักการแล้วไม่เป็นไร[7] แต่การกระทำนี้จะถือว่าเป็นการเสริมสวยหรือไม่ และวาญิบต้องปกปิดให้พ้นจากสายตาชายอื่นหรือไม่ บรรดานักปราชญ์มีทัศนะแตกต่างกัน
1.บางท่าน[8] กล่าวว่า ถ้าเผยบางส่วนตามที่เป็นที่ยอมรับกันถือว่าอนุญาต และการปกปิดคิ้วที่ถอนให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่นถือว่า ไม่จำเป็น[9]
2.บางท่าน[10] ถือว่าการถอนคิ้วเป็นหนึ่งในการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[11]
3.บางท่าน[12] ท่านเหล่านั้นถือว่าปัญหาดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาธารณชนด้วย โดยกล่าวว่า ถ้าหากสังคมนับว่านั่นเป็นการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[13]
หมายเหตุ ถ้าหากการเสริมสวยใบหน้า ทำให้เป็นที่สนใจของชายอื่น อันเป็นเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหาย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[14]
«نامصه، منتمصه، واشره، مستوشره، واصله، مستوصله، واشمه و مستوشمه».
ผู้รายงานกล่าวว่า: «نامصه»หมายถึง หญิงที่ผูกขนที่หน้าเป็นปม, «منتمصه» หมายถึง หญิงที่ถอนขนบนใบหน้าจนเกลี้ยงเกลา, «واشره» หมายถึง หญิงนำฟันของหญิงคนอื่นไปแบ่งครึ่งแล้วเหลาจนแหลม, «مستوشره หมายถึง หญิงที่ปล่อยให้กระทำสิ่งเหล่านี้บนเธอ, «واصله» หมายถึง หญิงที่พูดเพื่อให้นำผมของหญิงคนหนึ่ง ไปต่อกับผมของหญิงอีกคนหนึ่ง, «مستوصله» หมายถึง หญิงที่นำผมของหญิงอื่นมาต่อกับผมของตน, «واشمه» หมายถึง หญิ่งที่ทำใฝบนมือหรือบนใบหน้าของหญิงอื่น วิธีการทำคือจะใช้เข็มเจาะที่ฝ่ามือ หรือหลังมือของหญิงให้เป็นรูหลังจากนั้นจะนำผงเขียนตา กึ่งสีฟ้าในสมัยโบราณใส่เข้าไป จำทำให้แลดูเป็นสีฟ้าเข้มๆ, ส่วนคำว่า «مستوشمه» หมายถึง หญิงที่สักบนร่างกาย[2]
โดยทั่วไปแล้วรายงานบทนี้ที่กล่าวถึงนั้น มิได้หมายความว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เสริมสวยเลยแม้แต่เล็กน้อย แต่เมื่อเราพิจารณาคำพูดอันทรงค่ายิ่งของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺแห่งเราะซูล (อ.) จะทำให้เข้าใจรายงานบทนี้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น รายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) โดยเกาะรอมุลได้ถามท่านอิมามถึงเรื่องผมเทียมหรือวิค ซึ่งทำมาจากผม ขน หรือไหม แล้วสตรีได้นำไปใส่ครอบไว้บนผมของตน[3] ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า “ไม่เป็นไร ถ้าสตรีจะแต่งตัวเพื่ออวดสามีของตน”
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันกล่าวกับท่านอิมามว่า มีรายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) มาถึงเราว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งเหล่าสตรีที่เป็นทั้ง «واصله و موصوله» ผู้เชื่อมต่อ และผู้ถูกต่อเชื่อม ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า มิได้เป็นดั่งที่ท่านเข้าใจ สตรีที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวสาปแช่งในฐานะที่เธอเป็นสื่อ นั่นหมายถึงในช่วงวัยรุ่นเธอได้ชอบทซินา ส่วนในวัยชราเธอก็ยังเป็นแม่สื่อแม่ชัก ให้ชายหนุ่มและหญิงสาวประกอบการชั่ว[4]
อีกรายงานหนึ่ง อบี บะซีร กล่าวว่า ฉันถามท่านอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับการเสริมสวยของสตรี (เช่นการถอนขนคิ้วหรือบนหน้า) เพื่ออวดสามี, ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีการกระทำอันใดจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งสิ้น”[5]
ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกการเสริมสวยจะเป็นฮะรอมสำหรับสตรีเสมอไป ซึ่งเฉพาะการเสริมสวยที่โอ้อวดชายอื่นนอกจากสามีของตน อันเป็นสาเหตุนำเธอไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นความชั่วร้ายและเป็นบาปกรรมสำหรับสังคม ด้วยเหตุนี้ เอง บรรดานักปราชญ์อิสลาม จึงเตือนสำทับเหล่าสตรีเสมอว่า พวกเธอสามารถเสริมสวยได้แต่สำหรับสามีของเธอเท่านั้น แน่นอนว่าถ้าเธอเสริมสวยเพื่อโอ้อวดชายอื่น ถือว่าฮะรอมไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด สตรีต่างมีหน้าที่เหมือนกันคือ ต้องปิดปิดสิ่งสวยงามและเครื่องประดับ ให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[6]
มีคำพูดว่าการถอนคิ้วสำหรับสตรีทั้งหลาย โดยหลักการแล้วไม่เป็นไร[7] แต่การกระทำนี้จะถือว่าเป็นการเสริมสวยหรือไม่ และวาญิบต้องปกปิดให้พ้นจากสายตาชายอื่นหรือไม่ บรรดานักปราชญ์มีทัศนะแตกต่างกัน
1.บางท่าน[8] กล่าวว่า ถ้าเผยบางส่วนตามที่เป็นที่ยอมรับกันถือว่าอนุญาต และการปกปิดคิ้วที่ถอนให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่นถือว่า ไม่จำเป็น[9]
2.บางท่าน[10] ถือว่าการถอนคิ้วเป็นหนึ่งในการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[11]
3.บางท่าน[12] ท่านเหล่านั้นถือว่าปัญหาดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาธารณชนด้วย โดยกล่าวว่า ถ้าหากสังคมนับว่านั่นเป็นการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[13]
หมายเหตุ ถ้าหากการเสริมสวยใบหน้า ทำให้เป็นที่สนใจของชายอื่น อันเป็นเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหาย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[14]
[1] ญะอฺฟะรียาน เราะซูล,
[2] อิบนุ บาบูวีเยะฮฺ มุฮัมมัด บิน อะลี, มะอานิลอัคบาร, หน้า 249, แก้ไขและตรวจทานโดย, ฆอฟฟารียฺ อะลีอักบัร, พิมพ์ที่ อินเตะชารอตอิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี ฮ.ศ. 1403
[3] ญุซรียฺ อิบนุ อะษีร มุบาร็อก บิน มุฮัมมัด, อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบิลฮะดีซ วัลอะษะเราะ, เล่ม 4 หน้า 51, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, กุม, พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[4] กุลัยนียฺ มุฮัมมัด ยะอฺกูบ, อัลกาฟียฺ, ตรวจทานและแก้ไขโดย เฆาะฟารียฺ อะลี อักบัร และอาคูนวันดียฺ, มุฮัมมัด เล่ม 5, หน้า 118, หมวดที่ 119, ฮะดีซที่ 3 สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ พิมพ์ครั้งที่ 4, เตหะราน ฮ.ศ. 1407
[5] เชรโฮร อามีลียฺ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน,วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20, หน้า 189, ฮะดีซที่ 25390, สำนักพิมพ์ อาลัลบัยตฺ พิมพ์ครั้งแรก กุม ปี ฮ.ศ. 1409
[6] บะฮฺญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ, อิสติฟตาอาต (บะฮฺญัต) เล่ม 4, หน้า 175, คำถามที่ 5201, สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต, กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ 1428
[7] ศึกษาจากหัวข้อที่ 18717 (การเสริมสวยของเด็กสาว)
[8] มัรญิอฺตักลีด เช่น อิมาโคมัยนี ซิสตานี มะการิมชีรอซียฺ นูรีฮัมเมดานี และตับรีซียฺ
[9] อิสติฟตาอาต อายะตุลลอฮฺ ซิสตานียฺ )sistani.org (ส่วนหนึ่งของอิสติฟตาอาต คำว่า เสริมสวย หน้า 17, มะการิมชีรอซียฺ นาซิร อิสติฟตาอาตฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 351, และ 1034, สำนักพิมพ์ มัดเราะซะฮฺ อิมามอะลี บนิ อะบีฏอลิบ (อ.) กุ่ม พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1427, อายะตุลลอฮฺ นูรียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 1 คำถามที่ 491, 542, อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3, หน้า 257 คำถามที่ 33, 34, สำนักพิมพ์ อินเตะชารอตอิสลามี ขึ้นกับญามิอฺมุดัรริซน กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ.1422, ตับรีซียฺ ญะวาด อิสติฟตาอาต ฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 360, คำถามที่ 1490 กุม พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[10] อายะตุลลอฮฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยกานียฺ
[11] อายะตุลลอฮฺ ซอฟยฺ ฆุลภัยกานียฺ
[12] อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี ฟาฎิลลันกะรอนียฺ บะฮฺญัต และวาฮีดโครอซานียฺ
[13] ฟัตวาอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ คัดลอกมาจากหัวข้อ 598, ฟาฏิลลันกะรอนียฺ มุฮัมมัด ญามิอุลมะซาอิล เล่ม 1, หน้า 451, คำถามที่ 1708, อินเตะชารอต อะมีร กะลัม กุม พิมพ์ครั้งที่ 11, บีทอ, บะญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 4, หน้า 208 คำถามที่ 534 สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1428, อิสติฟตาอาต สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ วะฮีด โคราซานนียฺ
[14] อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อัลมูซาวียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3 หน้า 256 สำนักพิมพ์ อินเตะชารอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ. 1422
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น