Please Wait
8202
ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึง มิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่น “การตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า” ไม่มีการอภัยอย่างแน่นอน หรือความผิดบางอย่าง เช่น สิทธิของมนุษย์ด้วยกัน (ฮักกุลนาซ) ย่อมไม่ได้รับการอภัยให้ด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนของคนอื่น, ทว่าต้องมีการทดแทนหรือการขอความเห็นใจ หรือขออภัยจากเจ้าของสิทธินั้น เพื่อเป็นบทนำไปสู่การอภัยต่อไป
ผู้กระทำความผิด บางครั้งได้กระทำผิดไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ซึ่งหลังจากสำนึกผิดและลุแก่โทษแล้วยังมีความหวังว่าจะได้รับการอภัย และบางครั้งผู้กระทำผิดได้กระทำผิดเพราะความพลั้งเผลอ ซึ่งต้องอาศัยการทดแทนความผิด.ซึ่งการทดแทนความผิดและมรรคผลนั้นผู้กระทำผิดอาจกระทำด้วยตัวเอง หรือบุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
แน่นอน มนุษย์นั้นไม่มีสิทธิได้รับสิ่งใดเกินความพยายามและกำลังสามารถของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคกับความการุณย์และความเมตตาของพระเจ้าแต่อย่างใด, เพราะพระองค์จะประทานความโปรดปรานแก่บุคคลที่มีความคู่ควรเท่านั้น. จริงๆ แล้วสิทธิคือประเด็นนี้ ส่วนความเมตตาของพระเจ้าก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
การทำความดี ดุอาอฺ การวิงวอนขออภัย และการชะฟาอะฮฺ มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งไร้สาระแต่อย่างใด, ซึ่งในมุมหนึ่งถือว่าเป็นผลงานของบุคคลด้วยเหมือนกัน, เช่น ชะฟาอะฮฺนั้นต้องขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม และการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺ ตามความเป็นจริงแล้วผู้ที่จะรับชะฟาอะฮฺต้องมีคุณสมบัติ และมีศักยภาพเพียงพอต่อการรับ. ดังเช่นพืชและต้นไม้ต่างๆ ถ้าปราศจากการเอาใจใส่ดูแลไม่ให้น้ำอย่างเพียงพอแล้ว ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ได้,แต่ต้องมีศักยภาพและความสามารถในการเจริญเติบโตด้วยตัวเองเสียก่อน เพื่อว่าน้ำและแสงแดดและ ... จะได้มีประโยชน์กับตัวเอง
สำหรับความชัดเจนในคำตอบโปรดพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้ :
1.ผู้กระทำความผิดทุกคนมี 2 ด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งคือการหลงลืมและการไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของอัลลอฮฺ) ส่วนอีกด้านหนึ่งเกี่ยวข้องกับตัวของผู้กระทำผิดและบุคคลอื่นในสังคม (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของคนอื่นและผู้กระทำผิด)[1]
2.ผู้กระทำความผิดไม่เท่าเทียมกัน ถ้าหากพิจารณาไปตามความขัดแย้งของกาลเวลา สถานที่ ความแตกต่างในความผิดที่กระทำ และบุคลิกภาพของผู้กระทำผิด, แน่นอน แต่ละคนมีความแตกต่างกัน การลงโทษก็ต้องมีความแตกต่างกันด้วย เช่น อัลกุรอาน กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไว้ โดยกล่าวว่า : “โอ้ บรรดาภริยาของนบี! พวกเจ้าคนใดนำความชั่วอย่างชัดแจ้งมา การลงโทษจะถูกเพิ่มให้แก่นางเป็นสองเท่า ในการนั้นเป็นการง่ายดายแก่อัลลฮฺ”[2] หรือรายงานจากท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า : “บุคคลใดกระทำความผิดอย่างเปิดเผย หรือเผยแพร่ความผิดเขาจะได้รับความต่ำทรามที่สุด แต่บุคคลใดปกปิดความผิดเอาไว้เขาจะได้รับการอภัย”[3]
3.ในการแบ่งประเภทหนึ่งกล่าวว่า ความผิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท – สิทธิของอัลลอฮฺ และสิทธิของมนุษย์ – ซึ่งรายงานกล่าวว่า : “อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยความผิดที่เป็นฮักกุนนาซ (สิทธิของคนอื่น), เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะอโหสิกรรมให้ด้วยตัวเอง”[4]ด้วยเหตุนี้ ความผิดประเภทนี้ไม่อาจลบล้างได้ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโดยผู้กระทำความผิด หรือคนอื่นกระทำให้ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตาม, นั่นหมายความว่าความผิดเหล่านี้ไม่อาจได้รับการอภัยได้ เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะเป็นผู้อภัยด้วยตัวเอง เช่น บุคลลหนึ่งได้ทำลายหรือขโมยทรัพย์สินของคนอื่น ตราบที่เจ้าของยังไม่อภัยให้, อัลลอฮฺก็จะไม่อภัยให้เขาเด็ดขาด
4.ความผิดได้ถูกแบ่งเป็นความผิดเล็กและความผิดใหญ่, ความผิดใหญ่ได้แก่ความผิดซึ่งในทัศนะอิสลามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งอัลกุรอานได้เตือนสำทับและสั่งห้ามเอาไว้โดยสิ้นเชิง, อีกทั้งได้สัญญาการลงโทษเอาไว้ในไฟนรกเอาไว้, เช่น การผิดประเวณี, การสังหารชีวิตบริสุทธิ์, การกินดอกเบี้ย, และ .... ดังที่รายงานได้กล่าวสำทับไว้เช่นกัน[5] แต่ความผิดเล็กหมายถึงความผิดที่ได้ถูกห้ามเอาไว้ ซึ่งเป็นความผิดประเภทเดียวที่อัลกุรอานได้สัญญาว่าจะอภัยให้ โดยกล่าวว่า : “หากสูเจ้าปลีกตัวออกจากบรรดาบาปมหันต์ ที่สูเจ้าถูกห้ามให้ละเว้นมันแล้ว เราก็จะลบล้างบรรดาเหล่าความผิดเล็กๆ ของสูเจ้าออกจากสูเจ้า และเราจะให้สูเจ้าอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติ”[6]
ตามคำสอนของโองการข้างต้นกล่าวว่า การหลีกเลี่ยงจากการทำความผิดใหญ่, ความผิดเล็กๆ น้อยก็จะได้รับการอภัย. แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าบางครั้งก็อยู่ในเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง, เช่น ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ต้องไม่เปลี่ยนเป็นความผิดใหญ่ เพราะนั่นเท่ากับได้ออกนอกสัญญาของพระเจ้าไปแล้ว[7]
5.ในการแบ่งอีกประเภทหนึ่ง สามารถแบ่งผู้กระทำความผิดไว้เป็น 2 กลุ่มดังนี้
ก.กลุ่มชนที่กระทำความผิดด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลังจากนั้นได้สำนึกผิดอยู่ในช่วงของการทดแทน และขอลุแก่โทษ ซึ่งอัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขาอย่างแน่นอน[8]
ข.กลุ่มชนที่กระทำความผิดทั้งๆ ที่รู้ และหลังจากนั้นก็ไม่สำนึกผิด แน่นอน การอภัยของพระองค์จะไม่ครอบคลุมถึงเขาเด็ดขาด
จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นที่ประจักษ์ว่า การอภัยในความผิดต่างๆ โดยพระเจ้า หรือการเปลี่ยนแปลงผู้กระทำความผิด เฉพาะความผิดที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาเอาไว้ว่าจะทรงอภัยให้[9]
แต่ถ้าบุคคลนั้นตลอดอายุขัยของตนอยู่กับการทำความผิดหรือระหกระเหินท่ามกลางความหลงผิด, ดังนั้น ความผิดของเขาจะหมดไปด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโทษของบุคคลอื่นได้อย่างไร? หรือชะตาชีวิตของเขาในปรโลกจะได้รับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จำเป็นต้องกล่าวว่า ผู้กระทำผิดที่จมปรักอยู่กับการกระทำผิดนั้นมิได้เป็นเช่นนี้ทุกคน และเป็นไปไม่ได้ที่ความผิดของพวกเขาจะได้รับการอภัย หรือเปลี่ยนแปลงไปเพราะดุอาอฺหรือการวิงวอนของคนอื่น, ใช่แล้ว เกี่ยวกับผู้กระทำความผิดที่ละเมิดกระทำความผิดลงไป อัลลอฮฺ ทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขา นี่เป็นความหวังว่าแม้แต่ดุอาอฺและความวิงวอนของคนอื่น พวกเขาก็จะได้รับการอภัยด้วย, เนื่องจากอัลกุรอานได้กล่าวว่า “ความดีงาม จะขจัดความไม่ดี (ความผิด) ให้หมดไป”[10] ดังเช่นผู้กระทำความผิดถ้าหากในชีวิตของเขาได้กระทำความดี ซึ่งการกระทำความดีตามความหมายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาว่าจะลบล้างความผิดและผลของความผิดให้แก่เขา, ขณะที่ถ้าหากบุคคลอื่นได้กระทำความดี และได้อุทิศความดีงามแก่ผู้กระทำความผิด แน่นอน การกระทำเช่นนี้จะเป็นสาเหตุทำให้ความผิดต่างๆ ของเขาถูกลบล้าง
มีรายงานจำนวนมากมายกล่าวว่า : เมื่อบุคคลหนึ่งได้ตายจากโลกนี้ไป และบุคคลอื่น (เช่นบุตรและธิดา) ได้กระทำความดี เช่น นมาซ, ถือศีลอด, ฮัจญฺ, บริจาคทาน, ซื้อความเป็นไทให้แก่ปวงบ่าว, และ ....โดยอุทิศผลบุญของงานดังกล่าวนี้ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ แน่นอน ผลบุญและรางวัลของการกระทำดังกล่าวนี้จะตกไปถึงเขา[11]
แน่นอน เมื่อผลบุญของการกระทำความดีของคนอื่นที่ได้อุทิศให้แก่ผู้กระทำความผิด, ไปถึงผู้ตาย ถ้าหากเป็นผลบุญที่สามารถทดแทนผลที่ไม่ดีของความผิดของผู้ตายได้ ความผิดของเขาย่อมได้รับการทดแทน และนี่คือความยุติธรรมของพระเจ้าที่บุคคลอื่นได้ทำความดีในสิทธิ์ของผู้กระทำความผิด ซึ่งความผิดนั้นอยู่ในระดับชั้นของความดีดังกล่าว ความผิดนั้นย่อมได้รับการอภัยอย่างแน่นอน, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงเปิดหนทางดังกล่าวโดยผ่านพระวจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[12]
ประหนึ่งกฎเกณฑ์บนโลกนี้ ถ้าหากผู้ใดได้กระทำสิ่งที่ขัดกฎหมาย และสร้างความเสียหายแก่คนอื่น ถ้าหากคู่กรณียอมจ่ายค่าชดเชยเป็นการตอบแทน, ย่อมสร้างความพอใจแก่ผู้เสียหายได้ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจเขาย่อมได้รับการลงโทษ. ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องแปลกใจและไม่มีคำถามเลยว่า ความผิดของผู้กระทำผิดที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้ถูกลบล้างด้วยการทำความดีของบุคคลอื่นได้อย่างไร
ใช่แล้ว ถ้าหากผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้กระทำความผิดไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากให้ผู้กระทำความดีทั้งโลกทำความดี และอุทิศความดีแก่เขา ความดีเหล่านั้นก็ไม่อาจทดแทนความผิดที่เขาได้กระทำไว้ได้, ในกรณีนี้ถือว่าความผิดของเขาไม่อาจทดแทนได้ด้วยการทำความดีของบุคคลอื่น, ทว่าความผิดของเขาย่อมได้รับการลดหย่อน ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงลดหย่อนการลงโทษแก่เขาอย่างแน่นอน[13]
สิ่งจำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยุติธรรมและทรงปรีชาญาณเสมอ พระองค์จะไม่อธรรมปวงบ่าวแม้เล็กเท่าองค์ผลธุลีก็ตาม, พระองค์จะไม่ทรงละเลยการงานของมนุษย์ พระองค์จะไม่ทรงทำลายผลรางวัลของการทำความดีของปวงบ่าว เป็นไปได้ที่พระองค์จะทรงอภัยให้แก่บางคน ซึ่งในทัศนะของเราบุคคลนั้นสมควรได้รับการลงโทษอันแสนสาหัสจากพระองค์ก็ตาม (เนื่องจากเราไม่ได้รับรู้ถึงการงานทั้งหมดและความประพฤติของเขา), แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้ทรงปรีชาญาณและทรงรอบรู้ทุกสิ่งซึ่งเรานั้นไม่รู้, ดังนั้น ต้องยอมรับว่าการอภัยของพระองค์สืบเนื่องมาจากการทำความดีของเขา พระองค์ทรงรู้แต่เราไม่รู้
อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าดุอาอฺที่บริสุทธิ์ใจ การวิงวอนขออภัยในความผิดต่ออัลลอฮฺ สำหรับบุคคลอื่นก็เนื่องจากมีมรรคผลที่ดี และเป็นการทำความดี ซึ่งบุคคลอื่นได้กระทำในสิทธิของตน ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นแล้วบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความดีงามอันใดในชีวิตของเขา และตลอดอายุขัยของเขามากไปด้วยการทำความผิด, ก็จะไม่มีผู้ใดขอดุอาอฺด้วยความจริงใจให้เขาแน่นอน, แม้แต่บุตรและธิดาหรือเครือญาติชั้นของเขา, ถ้าหากพวกเขาเป็นคนไม่ดีดุอาอฺของเขาย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ถ้าพวกเขาเป็นคนดีและไม่ใจจืดใจดำที่จะดุอาอฺ และวิงวอนขออภัยโทษแก่เขา แน่นอน ดุอาอฺของเขาย่อมถูกตอบรับอย่างแน่นอน
ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้ตอบคำถามโองการที่กล่าวถึงเรื่องชะฟาอะฮฺ เช่น โองการ 21, บทฏูร ที่กล่าวว่า : และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา” ขณะที่เขาไม่เคยขวนขวายในหนทางดังกล่าวเลย, หรือสิ่งที่รายงานได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อใดก็ตามถ้าบุคคลหนึ่งได้กระทำความดี,ผลของความดีเหล่านั้นจะตกไปถึงลูกหลานของเขา, ดังนั้น รายงานดังกล่าวนี้กับโองการข้างต้นจะสามารถรวมกันได้ไหม ซึ่งผลประโยชน์ของแต่ละคนในวันฟื้นคืนชีพ ขึ้นอยู่การขวนขวายของเขา
อัลกุรอานกล่าวว่า : ไม่มีบุคคลใดจะได้รับสิ่งใดมากเกินการขวนขวายพยายามของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใดที่ว่าอัลลอฮฺจะทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ผู้ที่มีความเหมาะสม ด้วยความเมตตาและความการุณย์ของพระองค์. สิทธิคือประเด็นหนึ่ง ส่วนเรื่องความเมตตาการุณย์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ดังที่ ความดีงามบางครั้งได้รับการตอบแทนผลรางวัลเป็น 10 เท่าตัว บางครั้งก็เป็นร้อยหรือเป็นพันเท่าของความดี
อย่างไรก็ตาม การชะฟาอะฮฺ มิได้ถูกให้โดยปราศจากการตรวจสอบแต่อย่างใด, ซึ่งชะฟาอะฮฺก็ต้องอาศัยความพยายามและการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างจิตด้านในกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺด้วย[14]
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวอธิบายเรื่องชะฟาอะฮฺไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : ถ้าหากบุคคลหนึ่งต้องการไปให้ถึงยังผลบุญ แต่ไม่ได้จัดเตรียมเหตุของผลบุญเอาไว้ แต่ไม่ได้ต่อต้านหน้าที่เพียงแต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน, ขณะที่ตรงนี้เขาได้ตะวัซซุลไปยังชะฟาอะฮฺ ซึ่งผลของชะฟาอะฮฺจะเกิดหรือไม่ตรงประเด็นนี้เอง, แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปที่ว่า, สำหรับบางคนไม่มีคุณสมบัติที่จะไปถึงความสมบูรณ์ตามกล่าวเลยแม้แต่นิดเดียว เช่น สามัญชนคนหนึ่งต้องการเป็นผู้รู้สูงสุดด