การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9981
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa849 รหัสสำเนา 14549
คำถามอย่างย่อ
เคยได้ยินฮะดีษที่ว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้บั่นศีรษะชัยฏอนไปแล้ว, ฮะดีษนี้เชื่อถือได้เพียงใด? แล้วการล่อลวงของชัยฏอนจะตีความอย่างไร?
คำถาม
ดิฉันเคยอ่านพบฮะดีษที่ว่าท่านอิมามอลี(อ)เคยรบพุ่งกับชัยฏอนมารร้าย เมื่อท่านเริ่มจะเพลี่ยงพล้ำและชัยฏอนกำลังจะกุมชัยชนะ ทันใดนั้นเองท่านศาสดา(ซ.ล.)ก็ลงมาจากฟากฟ้า ชัยฏอนเห็นเช่นนั้นจึงรีบวิ่งหนี แต่ท่านนบีสามารถตามไปบั่นศีรษะชัยฏอนได้สำเร็จ. ฮะดีษนี้เชื่อถือได้เพียงใด? และหากชัยฏอนถูกปลิดชีพแล้ว เหตุใดผู้คนจึงยังเชื่อว่าชัยฏอนล่อลวงจิตใจมนุษย์?
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษที่ดังกล่าวมีอยู่จริงในขุมตำราฮะดีษของเรา อย่างไรก็ดี ฮะดีษดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับ“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”(วันเวลาที่กำหนดไว้)

ดังคำบอกเล่าของกุรอาน อิบลีสถูกเนรเทศออกไปจาก ณ พระองค์ แต่มันได้ขอให้ทรงประวิงเวลา อัลลอฮ์ตัดสินคาดโทษอิบลีสจนถึง“เยามิล วักติล มะอ์ลูม” ฮะดีษที่ถามมาต้องการจะเฉลยปริศนาเกี่ยวกับวันเวลาดังกล่าว โดยเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในยุคแห่งร็อจอะฮ์(ยุคต่อจากกาลสมัยของอิมามมะฮ์ดี ที่บรรดาอิมามในอดีตจะหวลกลับมาบริหารรัฐอิสลามโลก) หาไช่วันสิ้นโลกหรือวันกิยามะฮ์ไม่.

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นคือ:
1.
ฮะดีษดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าอิบลีสถูกสังหารไปแล้วในอดีต เนื่องจากความเชื่อดังกล่าวขัดกับเนื้อหาอัลกุรอาน และแน่นอนว่าความเห็นที่ขัดต่ออัลกุรอานย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ.
จึงหมายความว่า ณ ขณะนี้ อิบลีสชัยฏอนยังมีชีวิตอยู่ และยังคงกระซิบกระซาบในจิตใจเพื่อล่อลวงให้มนุษย์หลงทาง

2. ฮะดีษดังกล่าวเล่าถึงสงครามระหว่างกองทัพอิบลีสกับกองทัพของอิมามอลี และแม้ว่าฮะดีษจะระบุว่ากองทัพของอิมามอลีล่าถอย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าท่านอิมามอลีเพลี่ยงพล้ำชัยฏอนแต่อย่างใด.

3. ฮะดีษนี้อาจมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักความเชื่อพื้นฐานของอิมามียะฮ์ จึงจะต้องได้รับการตีความเพื่อให้มีความหมายที่ถูกต้อง.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นแรก: อิบลีสมีทายาท[1]และพลทหารที่ช่วยกันล่อลวงมนุษย์[2] ซึ่งในคำสอนอิสลามเรียกญินกลุ่มนี้ว่า “ชัยฏอน”[3]
ประเด็นที่สอง
: กุรอานระบุว่า หลังจากที่อิบลีสคัดค้านคำบัญชาของอัลลอฮ์ โดยไม่ยอมศิโรราบต่อท่านนบีอาดัมจนกระทั่งทำให้ถูกอัปเปหิแล้ว มันได้ขอต่อพระองค์ว่า “โอ้นายข้า ขอจงประวิงเวลาแก่ข้าฯตราบถึงวันฟื้นคืนชีพเถิด”[4] พระองค์ทรงรับคำขอของอิบลีสว่า“เจ้าได้รับการประวิงเวลา”[5] แม้ในอายะฮ์นี้จะไม่ระบุชัดเจนว่าพระองค์ประวิงเวลาถึงเมื่อใด แต่ในอายะฮ์ที่ 38 ซูเราะฮ์ ฮิจร์ ระบุว่า “เจ้าได้รับการประวิงเวลาถึงวันเวลาที่กำหนดไว้”[6] นั่นหมายความว่าอิบลีสไม่ได้รับการประวิงเวลาตามที่ขอทั้งหมด แต่ได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น.[7]

ประเด็นที่สาม: ฮะดีษต่างๆให้คำอธิบายเกี่ยวกับ“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”ไว้หลายทัศนะด้วยกัน อาทิเช่น:
   
1. วันสิ้นโลก: วันที่ทุกสิ่งมีชีวิตจะตายลง ทำให้หมดยุคแห่งศาสนกิจและบทบัญญัติศาสนา และพระองค์จะคงอยู่เพียงองค์เดียว.[8]
     2. วันกิยามะฮ์: อันหมายถึงวันฟื้นคืนชีพและพิพากษา[9]. หากเชื่อว่าอิบลีสจะอยู่ถึงวันนี้ก็ย่อมขัดกับความเข้าใจทั่วไปในอายะฮ์ดังกล่าว และขัดต่อความเชื่อที่ว่า ทุกสิ่งมีชีวิต(รวมทั้งชัยฏอน)ล้วนต้องตายก่อนวันสิ้นโลก ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันกิยามะฮ์.[10]
   
3. วันที่ไม่มีใครล่วงรู้ได้นอกจากพระองค์.[11]

ผู้ประพันธ์ตัฟซีรเนมูเนะฮ์เชื่อว่าทัศนะแรกมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากท่านอิมามศอดิกที่ระบุว่าชัยฏอนจะตายช่วงระหว่างการเป่าสังข์ครั้งแรกและครั้งที่สอง.[12]

มีการให้เหตุผลเสริมทัศนะดังกล่าวว่า การทำบาปจะมีอยู่เรื่อยไปตราบเท่าที่มีศาสนกิจภาคบังคับ และศาสนกิจจะมีจนถึงวันที่ทุกสิ่งมีชีวิตล้มตายจนหมดสิ้น นั่นคือวันเป่าสังข์ครั้งแรก และระยะเวลาระหว่างการเป่าสัญญาณตายและสัญญาณฟื้นคืนชีพนั้นห่างกัน 40/400 ปี(ต่างกันตามรายงาน) และนี่คือระยะห่างระหว่างเวลาที่อิบลีสขอประวิงเวลา และเวลาที่พระองค์ทรงอนุโลมให้.[13]

อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวว่า เหตุผลดังกล่าวฟังดูเข้าที แต่ประโยคที่ว่า ตราบใดที่คนเรามีหน้าที่ทางศาสนาย่อมมีการทำบาปนั้น ฟังดูไม่กระจ่างและไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนยืนยัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะนักตัฟซีรหลายท่านมักจะผูกโยงความเห็นดังกล่าวกับอายะฮ์ที่ระบุว่า การทำบาปของมนุษย์เป็นผลมาจากการล่อลวงของอิบลีส นอกจากนี้ยังมีอายะฮ์ 60 ยาซีน[14], 22 อิบรอฮีม[15] ที่บ่งชี้ว่าอิบลีสจะยังคงอยู่ตราบใดที่ยังมีศาสนกิจ และในเมื่อศาสนกิจยังคงบังคับใช้จวบจนมนุษย์คนสุดท้าย จึงสรุปเอาว่า อิบลีสจะอยู่ล่อลวงจนกระทั่งมนุษย์คนสุดท้าย

อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่า อายะฮ์ที่อ้างมาทั้งหมดถือว่าการทำบาปเป็นผลจากการล่อลวงของอิบลีส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อายะฮ์เหล่านี้ต้องการยืนยันเพียงแค่ว่า อิบลีสจะยังคงมีชีวิตอยู่ตราบที่มนุษย์ยังทำบาป มิไช่ตราบเท่าที่มนุษย์ยังต้องประกอบศาสนกิจ เนื่องจากไม่สามารถฟันธงได้ว่าการประกอบศาสนกิจต้องคู่กับการทำบาปเสมอไป

ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะฮะดีษและเหตุผลเชิงปัญญาต่างพิสูจน์ว่า มนุษย์กำลังมุ่งหน้าสู่ความผาสุก และท้ายที่สุดประชาคมโลกจะหันห่างจากความชั่วร้ายทั้งปวง โดยมุ่งหน้าสู่ความดีงามในระดับที่ทุกคนพร้อมใจภักดีต่ออัลลอฮ์แต่เพียงองค์เดียว รากเหง้าแห่งกุฟร์และการปฏิเสธจะถูกขจัดไป วิถีชีวิตมนุษย์จะดีขึ้น และโรคภัยทางจิตวิญญาณรวมทั้งการล่อลวงของชัยฏอนจะหมดไป[16]

จากอุดมคติดังกล่าวทำให้ทราบว่า“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”มิไช่วันกิยามะฮ์ หรือวันสิ้นโลก ทว่าเป็นช่วงที่สิ่งมีชีวิตยังคงอยู่ และมนุษย์ยังต้องปฏิบัติศาสนกิจเช่นปกติ สิ่งที่สนับสนุนทัศนะนี้ก็คือฮะดีษที่เกี่ยวกับร็อจอะฮ์.[17]

ในตัฟซีรกุมี มีฮะดีษที่รายงานจาก มุฮัมมัด บิน ยูนุส รายงานจากชายคนหนึ่งว่าท่านอิมามญะฟัร กล่าวอธิบายอายะฮ์“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”ว่า “วันดังกล่าวคือวันที่ศาสดาจะตัดคออิบลีสบนแท่นหิน ณ บัยตุลมักดิส”[18] ฮะดีษประเภทนี้มีรายงานมากมาย ซึ่งฮะดีษที่อ้างอิงในคำถามก็คือหนึ่งในนั้น.[19]

4. อาจเกิดข้อสงสัยว่า หลังจากอิบลีสถูกสังหารก่อนวันสิ้นโลก มนุษย์ก็จะไม่มีกิเลสตัณหาหลงเหลืออยู่ในใจไช่หรือไม่?
คำตอบก็คือ วิธีการของชัยฏอนคือการสร้างภาพกิเลสตัณหาให้แลดูเพริดพริ้งชวนหลงใหล[20] ซึ่งหากผู้ใดถูกชัยฏอนบิดเบือนวิสัยทัศน์ไว้แล้ว ก็ย่อมเดินหน้ากระทำบาปต่อไปได้โดยไม่ต้องมีชัยฏอนผลักดัน[21]

5. ดูเหมือนว่าฮะดีษที่อ้างอิงในคำถามจะเป็นฮะดีษที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีษของเรา[22] อย่างไรก็ดี[23]ต้องคำนึงว่า:
    1.
ฮะดีษนี้กล่าวถึงเหตุการณ์ในยุคแห่งร็อจอะฮ์  ไม่มีส่วนใดระบุว่าอิบลีสถูกฆ่าตายไปแล้วในอดีต[24] ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานยืนยันชัดเจนว่าอิบลีสจะมีชีวิตอยู่จนถึง“เยามิล วักติล มะอ์ลูม” และตามกฏแล้ว ฮะดีษใดที่ขัดกับกุรอานย่อมขาดความน่าเชื่อถือ[25] สรุปคือ ปัจจุบันอิบลีสยังมีชีวิตอยู่ และยังสาละวนกับการล่อลวงมนุษย์ให้หลงทาง.
  
2. ฮะดีษนี้กล่าวถึงการทำสงครามระหว่างกองทัพอิบลีสกับกองทัพของอิมามอลี หากฮะดีษระบุว่ามีการล่าถอยเพื่อตั้งหลัก นั่นหมายถึงการล่าถอยของกองทัพของท่านโดยรวม มิไช่ว่าท่านอิมามอลีเพลี่ยงพล้ำเสียทีอิบลีสแต่อย่างใด[26]
  
3. บางประโยคในฮะดีษนี้ขัดต่อหลักความเชื่อพื้นฐานของอิมามียะฮ์ และต้องได้รับการตีความเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้อง.[27]



[1] ซูเราะฮ์ อัลกะฮ์ฟิ,50.

[2] ดัชนี: ชัยฏอนและทายาทของมัน, คำถามที่565 (ไซต์: 618).

[3] ดู: ดัชนีต่อไปนี้: ชัยฏอน,มะลาอิกะฮ์หรือญิน?,คำถามที่ 100 (ไซต์: ) และ การไม่ศิโรราบของอิบลีส, เหตุการณ์หรือสัญลักษณ์, คำถามที่ 137(ไซต์ 891) และ ความสามารถของชัยฏอนและญิน, คำถามที่ 138 (ไซต์ 883).

[4] قالَ رب أَنْظِرْنی‏ إِلى‏ یَوْمِ یُبْعَثُونซูเราะฮ์ อะอ์รอฟ, 14.

[5] "قالَ إِنَّکَ مِنَ الْمُنْظَرِینَ".

[6] "فانک من المنظرین،الی یوم الوقت المعلوم" อัลฮิจร์, 37,38. กาลเวลาที่กำหนดไว้อาจหมายถึงวันปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี หรืออาจหมายถึงวันกิยามะฮ์.

[7] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 6, หน้า 109

[8] ดังที่ปรากฏในอายะฮ์ที่ 88 ซูเราะฮ์ก่อศ็อศ ว่า “کُلُّ شَیْ‏ءٍ هالِکٌ إِلَّا وَجْهَهُ

[9] เพราะตามทัศนะนี้ อิบลีสต้องการมีชีวิตจวบจนวันนั้นเพื่อจะได้มีชีวิตอมตะ และคำขอของมันได้รับการตอบรับ, โดยที่สำนวน
یَوْمِ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ ในอายะฮ์ 50 ซูเราะฮ์วากิอะฮ์ก็หมายถึงวันกิยามะฮ์.

[10] ดู: ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 235.

[11] เพราะหากอัลลอฮ์ทรงเผยให้รู้ว่าวันนั้นคือวันใด อิบลีสก็ยิ่งจะลำพองใจทำบาปมากยิ่งขึ้น, มัจมะอุ้ล บะยาน, เล่ม 6, หน้า 337. ทว่าทัศนะที่หักล้าง ดู: ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 6,หน้า 337

[12] ตัฟซีร บุรฮาน, เล่ม 2, หน้า 342 และ ตัฟซีร นูรุษษะเกาะลัยน์, เล่ม 13, หน้า 45 และ อ้างแล้ว, เล่ม 11, หน้า 72.

[13] ดู: ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 237.

[14] "أَ لَمْ أَعْهَدْ إِلَیْکُمْ یا بَنِی آدَمَ أَنْ لا تَعْبُدُوا الشَّیْطانَ إِنَّهُ لَکُمْ عَدُوٌّ مُبِینٌ" โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย ข้ามิได้สัญญากับสูเจ้ามิให้บูชาชัยฏอนหรืออย่างไร แท้จริงมันคือศัตรูตัวฉกาจของสูเจ้า”

[15] "وَ قالَ الشَّیْطانُ لَمَّا قُضِیَ الْأَمْرُ إِنَّ اللَّهَ وَعَدَکُمْ وَعْدَ الْحَقِّ وَ وَعَدْتُکُمْ فَأَخْلَفْتُکُمْ ..." และเมื่อ(การพิพากษา)เสร็จสิ้น ชัยฏอนกล่าวว่า อัลลอฮ์สัญญาในสิ่งที่สัจจริง ทว่าข้าสัญญาแล้วบิดพริ้วพวกเจ้า”

[16] ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 237. และ ดู: หมวดนุบูวัต, ในเล่มที่สอง และ เรื่องราวนบีนูห์, เล่มที่สิบ.

[17] มัรฮูม อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีได้ประมวลทัศนะเหล่านี้ว่า“โองการที่เกี่ยวกับวันกิยามะฮ์ มักจะได้รับการตีความในสายของอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ว่าเป็นวันปรากฏกายอิมามมะฮ์ดีก็,วันแห่งร็อจอะฮ์ และวันกิยามะฮ์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าทั้งสามวันนี้นับเป็นวันแห่งการเผยสัจธรรม แม้ว่าระดับความเข้มข้นของสัจธรรมทั้งสามจะไม่เท่ากัน ฉะนั้น คุณสมบัติของวันกิยามะฮ์ก็สามารถนำมาเทียบกับอีกสองเหตุการณ์ข้างต้นได้. ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 12,หน้า 258.

[18] ตัฟซีรกุมี, เล่ม 1, หน้า 349. ส่วนตัฟซีรอัยยาชีย์รายงานจากวะฮับ บิน ญะมี้อ์ และตัฟซีรบุรฮานรายงานจาก ชะรอฟุดดีน นะญะฟี รายงานจากวะฮับโดยไม่เอ่ยถึงสายรายงานว่า ฉันถามอิมามศอดิกเกี่ยวกับอิบลีส และคำว่า“วันเวลาที่กำหนดไว้”ดังปรากฏในอายะฮ์กุรอาน อิมามตอบว่า “โอ้วะฮับ ท่านคิดหรือว่านั่นหมายถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ? หามิได้ อัลลอฮ์จะทรงประวิงเวลาให้มันจนกระทั่งมะฮ์ดีของเราปรากฏกาย ในวันนั้น อิบลีสจะถูกกระชากผมเพื่อบั่นศีรษะ ไช่แล้ว! วันนั้นคือวันที่กำหนดไว้.” อัลบุรฮาน, เล่ม 2, หน้า 343 ฮะดีษที่ 7. ตัฟซีรอัยยาชี, เล่ม 2, หน้า 242. ฮะดีษ 14.

[19] ดู: ณ บทเรียนของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี, คำถามที่ 75,หน้า 42.

[20] ฮิจร์, 39.

[21] ดู: ณ บทเรียนของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี, คำถามที่ 76,หน้า 47.

[22] ดู: บิฮารุลอันว้าร เล่ม 53, หน้า 42,ฮะดีษที่ 12:

 سَعْدٌ عَنِ ابْنِ أَبِی الْخَطَّابِ عَنْ مُوسَى بْنِ سَعْدَانَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ الْحَضْرَمِیِّ عَنْ عَبْدِ الْکَرِیمِ بْنِ عَمْرٍو الْخَثْعَمِیِّ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع یَقُولُ إِنَّ إِبْلِیسَ قَالَ أَنْظِرْنِی إِلى‏ یَوْمِ یُبْعَثُونَ فَأَبَى اللَّهُ ذَلِکَ عَلَیْهِ قالَ فَإِنَّکَ مِنَ الْمُنْظَرِینَ إِلى‏ یَوْمِ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ فَإِذَا کَانَ یَوْمُ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ ظَهَرَ إِبْلِیسُ لَعَنَهُ اللَّهُ فِی جَمِیعِ أَشْیَاعِهِ مُنْذُ خَلَقَ اللَّهُ آدَمَ إِلَى یَوْمِ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ وَ هِیَ آخِرُ کَرَّةٍ یَکُرُّهَا أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ ع فَقُلْتُ وَ إِنَّهَا لَکَرَّاتٌ قَالَ نَعَمْ إِنَّهَا لَکَرَّاتٌ وَ کَرَّاتٌ مَا مِنْ إِمَامٍ فِی قَرْنٍ إِلَّا وَ یَکُرُّ مَعَهُ الْبَرُّ وَ الْفَاجِرُ فِی دَهْرِهِ حَتَّى یُدِیلَ اللَّهُ الْمُؤْمِنَ مِنَ الْکَافِرِ فَإِذَا کَانَ یَوْمُ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ کَرَّ أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ ع فِی أَصْحَابِهِ وَ جَاءَ إِبْلِیسُ فِی أَصْحَابِهِ وَ یَکُونُ مِیقَاتُهُمْ فِی أَرْضٍ مِنْ أَرَاضِی الْفُرَاتِ یُقَالُ لَهُ الرَّوْحَاءُ قَرِیبٌ‏ مِنْ کُوفَتِکُمْ فَیَقْتَتِلُونَ قِتَالًا لَمْ یُقْتَتَلْ مِثْلُهُ مُنْذُ خَلَقَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ الْعَالَمِینَ فَکَأَنِّی أَنْظُرُ إِلَى أَصْحَابِ عَلِیٍّ أَمِیرِ الْمُؤْمِنِینَ ع قَدْ رَجَعُوا إِلَى خَلْفِهِمُ الْقَهْقَرَى مِائَةَ قَدَمٍ وَ کَأَنِّی أَنْظُرُ إِلَیْهِمْ وَ قَدْ وَقَعَتْ بَعْضُ أَرْجُلِهِمْ فِی الْفُرَاتِ فَعِنْدَ ذَلِکَ یَهْبِطُ الْجَبَّارُ عَزَّ وَ جَلَّ فِی ظُلَلٍ مِنَ الْغَمامِ وَ الْمَلائِکَةُ وَ قُضِیَ الْأَمْرُ رَسُولُ اللَّهِ ص أَمَامَهُ بِیَدِهِ حَرْبَةٌ مِنْ نُورٍ فَإِذَا نَظَرَ إِلَیْهِ إِبْلِیسُ رَجَعَ الْقَهْقَرَى نَاکِصاً عَلَى عَقِبَیْهِ فَیَقُولُونَ لَهُ أَصْحَابُهُ أَیْنَ تُرِیدُ وَ قَدْ ظَفِرْتَ فَیَقُولُ إِنِّی أَرى‏ ما لا تَرَوْنَ إِنِّی أَخافُ اللَّهَ رَبَّ الْعالَمِینَ فَیَلْحَقُهُ النَّبِیُّ ص فَیَطْعُنُهُ طَعْنَةً بَیْنَ کَتِفَیْهِ فَیَکُونُ هَلَاکُهُ وَ هَلَاکُ جَمِیعِ أَشْیَاعِهِ فَعِنْدَ ذَلِکَ یُعْبَدُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ وَ لَا یُشْرَکُ بِهِ شَیْئاً وَ یَمْلِکُ أَمِیرُ الْمُؤْمِنِینَ ع أَرْبَعاً وَ أَرْبَعِینَ أَلْفَ سَنَةٍ حَتَّى یَلِدَ الرَّجُلُ مِنْ شِیعَةِ عَلِیٍّ ع أَلْفَ وَلَدٍ مِنْ صُلْبِهِ ذَکَراً وَ عِنْدَ ذَلِکَ تَظْهَرُ الْجَنَّتَانِ الْمُدْهَامَّتَانِ عِنْدَ مَسْجِدِ الْکُوفَةِ وَ مَا حَوْلَهُ بِمَا شَاءَ اللَّهُ

[23] น่าสังเกตุว่าในบิฮารุลอันว้ารเล่ม 14 และ 27 มีฮะดีษอีกกลุ่มหนึ่งที่รายงานเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองทัพของอิมามอลีและพลพรรคอิบลีส โดยมีเนื้อหาแตกต่างจากฮะดีษที่ถามถึงอย่างสิ้นเชิง. ดู: ตำราฟากฟ้าและโลกา, อายะตุลลอฮ์ คูฮ์ โคมเรอี, หน้า 160, บทแปลบิฮารุลอันว้าร เล่ม 14.

[24] การสังหารทหารของอิบลีสมิไช่เรื่องแปลก เนื่องจากทั้งอิบลีสและทหารของมันล้วนเป็นญินทั้งสิ้น และเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์มีวิธีที่จะสังหารญิน อย่างไรก็ดี การฆ่าทหารอิบลีสมิได้หมายความว่าจะไม่มีชัยฏอนหลงเหลืออยู่อีกเลยบนโลกนี้

[25] ดังที่กล่าวไปแล้ว อัลลอฮ์ทรงคาดโทษอิบลีสจนถึง“วันที่กำหนดไว้” ซึ่งฮะดีษมากมายได้อธิบายถึงวันดังกล่าว ทั้งหมดนี้ก็เนื่องจากการเห็นสมควรของอัลลอฮ์ที่จะไว้ชีวิตอิบลีสเพื่อทดสอบความศรัทธาของมนุษย์. ดู: ดัชนี: ปรัชญาการสร้างชัยฏอน, เลขที่232 และการสร้างอิบลีส, คำถามที่ 333. นอกจากนี้ในอายะฮ์ 5,6 ซูเราะฮ์ อันนาส พระองค์ตรัสว่า “...ผู้ที่กำลังล่อลวงในใจมนุษย์”, , สังเกตุว่ากุรอานใช้กริยาปัจจุบันกาล อันแปลว่าผู้ที่ล่อลวงอยู่อย่างต่อเนื่องถึงตอนนี้.

[26] کَأَنِّی أَنْظُرُ إِلَى أَصْحَابِ عَلِیٍّ أَمِیرِ الْمُؤْمِنِینَ ع قَدْ رَجَعُوا إِلَى خَلْفِهِمُ الْقَهْقَرَى مِائَةَ قَدَمٍ

[27] อัลลามะฮ์ มัจลิซี ตีความเกี่ยวกับข้อเคลือบแคลงในฮะดีษว่า:

"هبوط الجبار تعالى کنایة عن نزول آیات عذابه و قد مضى تأویل الآیة المضمنة فی هذا الخبر فی کتاب التوحید و قد سبق الروایة عن الرضا ع هناک أنها هکذا نزلت إلا أن یأتیهم الله بالملائکة فی ظلل من الغمام و على هذا یمکن أن یکون الواو فی قوله و الملائکة هنا زائدا من النساخ."

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6464 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34183 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    21399 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10645 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    6388 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • ความเชื่อคืออะไร
    17678 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...
  • เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
    8851 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการทั้งนี้อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการเอ่ยนามท่านนักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจงเพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยบางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่าเราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดาตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น ...
  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    5940 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน
  • ฮะดีษที่ว่า "อิมามทุกท่านมีสถานะและฐานันดรเทียบเคียงท่านนบี(ซ.ล.)"(อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 270) เชื่อถือได้หรือไม่?
    7305 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้เหล่าผู้ปราศจากบาปทั้งสิบสี่ท่านจะบรรลุฐานันดรทางจิตวิญญาณอันสูงส่งแต่อย่างไรก็ดีท่านเราะซู้ล(ซ.ล.)คือผู้ที่มีสถานะสูงสุดและมีข้อแตกต่างบางประการที่อิมามมะอ์ศูมอื่นๆไม่มีดังที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "บรรดาอิมามเปรียบดั่งท่านนบี(ซ.ล.) เพียงแต่มิได้มีสถานะเป็นศาสนทูตและไม่สามารถกระทำบางกิจเฉกเช่นนบี (
  • จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
    10207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/13
    โดยปกติแล้วบาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาดบาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลายับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้นเหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาปซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้อย่างไรก็ดีบางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะอาทิเช่นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่น

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60331 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57875 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42432 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39696 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39094 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34183 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28216 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28158 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28086 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26037 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...