Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
8988
8988
อัปเดตเกี่ยวกับ:
2556/01/15
คำถามอย่างย่อ
การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
คำถาม
การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ? และวิธีการที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป
วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ
คำตอบเชิงรายละเอียด
วัตถุประสงค์ของ การนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า
การให้ความสำคัญต่อการนั่งจำสมาธิจะถือจำนวนเลข 40 เป็นเกณฑ์ และเนื่องจากความพิเศษและรหัสยะของจำนวนเลขนี้ ถือเป็นการแสดงศักยภาพ และการนำไปสู่ความสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ดังเช่นที่มนุษย์จะพบความสมบูรณ์สูงสุด ในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งสติปัญญา ภายในอายุ 40 ปี ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า
«إِذا بَلَغَ أَشُدَّهُ وَ بَلَغَ أَرْبَعينَ سَنَةً قالَ رَبِّ أَوْزِعْني أَنْ أَشْكُرَ نِعْمَتَكَ الَّتي أَنْعَمْتَ عَلَيَّ وَ عَلى والِدَي»
“จนกระทั่งเมื่อเขาบรรลุวัยฉกรรจ์ของเขาและมีอายุถึงสี่สิบปี เขากล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดของพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์ และบิดามารดาของข้าพระองค์”[1]
ประโยคคำว่า “อัรบะอีน ในอัลกุรอานกล่าวอธิบายไว้นั้น เป็นคำมั่นสัญญาที่อัลลอฮฺ ทรงให้ไว้แก่ศาสดามูซา (อ.) ว่า ในช่วงเวลา 40 วัน พระองค์จะทรงนำเขาไปยังสถานที่ของพรองค์ "فَتَمَّ ميقاتُ رَبِّهِ أَرْبَعينَ لَيْلَة". จนกระทั่งสัญญาพบพระผู้อภิบาล
ของเขา ครบสี่สิบราตรี”[2]
ประโยคดังกล่าว และประโยคที่กล่าวถึงการพึงระวัง 40 รายการ ทั้งหมดให้ความสนใจที่บรรดาพวกจาริกจิตใจ รายงานฮะดีษก็กล่าวถึงสิ่งนั้นไว้เช่นกัน เช่น รายงานที่กล่าว«من أخلص لله أربعين صباحا ظهرت ينابيع الحكمة من قلبه على لسانه»
“บุคคลใดก็ตามประพฤติตนจริงใจต่ออัลลอฮฺ 40 วัน ตาน้ำแห่งวิทยปัญญาจะไหลรินจากใจของเขา ไปสู่ลิ้นของเขา”[3] บางรายงานจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า
"مَا أَخْلَصَ الْعَبْدُ الْإِيمَانَ بِاللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَرْبَعِينَ يَوْماً أَوْ قَالَ مَا أَجْمَلَ عَبْدٌ ذِكْرَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَرْبَعِينَ يَوْماً إِلَّا زَهَّدَهُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فِي الدُّنْيَا وَ بَصَّرَهُ دَاءَهَا وَ دَوَاءَهَا فَأَثْبَتَ الْحِكْمَةَ فِي قَلْبِهِ وَ أَنْطَقَ بِهَا لِسَانَه"؛
“จะไม่มีปวงบ่าวคนใดเผยอีมานของตน ต่ออัลลอฮฺด้วยความจริงใจนาน 40 วัน หรือกล่าวว่า ไม่มีบ่าวคนใดกล่าวซิกรฺอย่างจริงใจ ต่ออัลลอฮฺนาน 40 วัน เว้นเสียแต่ว่าอัลลอฮฺ ทรงให้เขาใส่ใจต่อโลกน้อยลง และแสดงให้เขาเห็นถึงความป่วยไข้ทั้งหลาย และวิธีการเยียวยา ดังนั้น วิทยปัญญาจะมั่นคงภายในจิตใจของเขา และลิ้นของเขาก็จะเอื่อนเอ่ยเฉพาะสิ่งที่เป็นวิทยปัญญาเท่านั้น[4]
โดยทั่วไปแล้วสิ่งจำเป็นสำหรับการพึงระวังรักษา ในช่วงเวลา 40 วันนั้นคือ การใส่ใจในการปฏิบัติคำสั่ง หรือคำแนะนำอันเฉพาะ ที่กำชับให้ปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกิน การนอน และการพูดมาก และเวลาส่วนใหญ่ของนักจากริกจิตใจในช่วงนี้ จะใช้ไปกับการซิกรฺเสียเป็นส่วนใหญ่ และการอิบาดะฮฺ แน่นอน เราทราบกันดีว่า ตามหลักการสอนของศาสนาแล้ว ตลอดอายุขัยของเราต้องพึงระวังสิ่งเหล่านี้ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะช่วง 40 วันเท่านั้น โดยมั่นฝึกฝนให้เป็นกิจวัตรนิสัย
บางครั้งสังคมส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า กานั่งจำสมาธิ 40 นั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีคือ บรรยากาศภายนอก ซึ่งนักจาริกจิตใจทุกคนต้องพยายาค้นหาสถานที่ สงบจิตใจ ที่เงียบสงบไม่มีสิ่งใดรบกวน และต้องห่างไกลจากสังคม หรือที่เราเรียกว่าการปลีกวิเวก โดยปลีกตัวไปประกอบอิบาดะฮฺตามลำพัง ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องกล่าวว่า ไม่มีอยู่ในหลักคำสอนของอิสลาม ทว่าถ้าผู้จาริกจิตใจ ถ้าเขามีความสามารถ พึงปฏิบัติตนด้วยความจริงใจอยู่ท่ามกลางสังคม แน่นอน เขาจะได้รับคุณค่ามากยิ่งกว่า
นักจาริกจิตวิญญาณ และนักปราชญ์ชีอะฮฺ สวนใหญ่จะให้ความสำคัญต่อการอิบาดะฮฺ 40 วัน และพวกเขาก็จะอิบาดะฮฺ ตัวอย่างที่สามารถหยิบยกได้ตรงนี้คือ ซัยยิด บะฮฺริลอุลูม หรืออัลลามะฮฺ มัจญิลิซซีทั้งคนที่หนึ่ง และสอง
หนังสือจาริกจิตวิญญาณของท่าน ซัยยิด บะฮฺริลอุลูม[5] กล่าวว่า “ความพิเศษอันเฉพาะสำหรับ 40 คือการแสดงการปฏัติ และการเสริมศักยภาพด้านใน และพลังที่ซ่อนอยู่ให้เกิดความเคยชิน เพื่อโน้มนำไปสู่ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ให้ตรงตามที่กล่าวไว้ในโองการและรายงานฮะดีซ อันเป็นที่พึงพอใจของนักจาริกจิตวิญญาณทั้งทั้ง”[6] ซัยยิด บะฮฺริลอุลูม กล่าวไว้อีกที่หนึ่งในหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวกับการจาริกจิตวิญญาณว่า “พึงรู้ไว้เถิดว่าหลังจากฉันตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่า ฉันเลือกทางจาริกจิตใจ และการขัดเกลาจิตใจ ฉันจึงเริ่มต้นก้าวแรกของฉัน ด้วยการซิกรฺ เบื้องต้นสิ่งที่ฉันกระทำคือ ความอดทน เตาบะฮิ สำนึกผิดในสิ่งที่ฉันกระทำผ่านมาในอดีต ขณะเดียวกันฉันก็ละเว้นความเคยชินต่างๆ อันเป็นกิจวัตร และในช่วงสี่สิบวันฉันมุ่งมั่นอยู่กับการการซิกรฺ หลังจากสิ่สิบวันแล้ว สี่สิบวันเล่า”[7]
เช่นกัน มุลลาฮฺ มุฮัมมัด ตะกี มัจญิลิซ กล่าวถึงการอิบาดะฮฺในสี่สิบวันว่า “หนึ่งในสิ่งที่ท่านทักท้วงคือ อิบาดะฮฺ สี่สิบวันเท่ากับการบิดอะฮฺ และสี่งนี้ถือว่าโมฆะ เนื่องจากสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺ ดังที่กล่าวไปแล้วนั้น ขณะเดียวกันเรามีรายงานจำนวนมากมายกล่าวถึง ความประเสริญของการอิบาดะฮฺสี่สิบวัน”[8]
ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺ และความจริงใจในการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ในช่วงสี่สิบวันถือว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักจาริกจิตวิญญาณกล่าวถึง “การสั่งจำสมาธิ นั้นจะต้องไม่เป็นสื่อเปลี่ยนแปลง อันนำเราออกห่างจากสังคม หรือปลีกวิเวกไปอยู่ตามลำพัง นักจาริกจิตวิญญาณทั้งหลาย ต่างให้ความสำคัญต่อการอิบาดะฮฺสี่สิบวันเป็นอย่างยิ่ง โดยหลักการของมันอยู่ที่ การพึงระมัดระวังจิตวิญญาณด้านใน ขณะเดียวกันก็จะมีการนั่งจำสมาธิในบางช่วงบางโอกาสที่จำ ซึ่งมีการอธิบายโดยละเอียดต่อประชาชน
การให้ความสำคัญต่อการนั่งจำสมาธิจะถือจำนวนเลข 40 เป็นเกณฑ์ และเนื่องจากความพิเศษและรหัสยะของจำนวนเลขนี้ ถือเป็นการแสดงศักยภาพ และการนำไปสู่ความสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ดังเช่นที่มนุษย์จะพบความสมบูรณ์สูงสุด ในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งสติปัญญา ภายในอายุ 40 ปี ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า
«إِذا بَلَغَ أَشُدَّهُ وَ بَلَغَ أَرْبَعينَ سَنَةً قالَ رَبِّ أَوْزِعْني أَنْ أَشْكُرَ نِعْمَتَكَ الَّتي أَنْعَمْتَ عَلَيَّ وَ عَلى والِدَي»
“จนกระทั่งเมื่อเขาบรรลุวัยฉกรรจ์ของเขาและมีอายุถึงสี่สิบปี เขากล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดของพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์ และบิดามารดาของข้าพระองค์”[1]
ประโยคคำว่า “อัรบะอีน ในอัลกุรอานกล่าวอธิบายไว้นั้น เป็นคำมั่นสัญญาที่อัลลอฮฺ ทรงให้ไว้แก่ศาสดามูซา (อ.) ว่า ในช่วงเวลา 40 วัน พระองค์จะทรงนำเขาไปยังสถานที่ของพรองค์ "فَتَمَّ ميقاتُ رَبِّهِ أَرْبَعينَ لَيْلَة". จนกระทั่งสัญญาพบพระผู้อภิบาล
ของเขา ครบสี่สิบราตรี”[2]
ประโยคดังกล่าว และประโยคที่กล่าวถึงการพึงระวัง 40 รายการ ทั้งหมดให้ความสนใจที่บรรดาพวกจาริกจิตใจ รายงานฮะดีษก็กล่าวถึงสิ่งนั้นไว้เช่นกัน เช่น รายงานที่กล่าว«من أخلص لله أربعين صباحا ظهرت ينابيع الحكمة من قلبه على لسانه»
“บุคคลใดก็ตามประพฤติตนจริงใจต่ออัลลอฮฺ 40 วัน ตาน้ำแห่งวิทยปัญญาจะไหลรินจากใจของเขา ไปสู่ลิ้นของเขา”[3] บางรายงานจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า
"مَا أَخْلَصَ الْعَبْدُ الْإِيمَانَ بِاللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَرْبَعِينَ يَوْماً أَوْ قَالَ مَا أَجْمَلَ عَبْدٌ ذِكْرَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَرْبَعِينَ يَوْماً إِلَّا زَهَّدَهُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فِي الدُّنْيَا وَ بَصَّرَهُ دَاءَهَا وَ دَوَاءَهَا فَأَثْبَتَ الْحِكْمَةَ فِي قَلْبِهِ وَ أَنْطَقَ بِهَا لِسَانَه"؛
“จะไม่มีปวงบ่าวคนใดเผยอีมานของตน ต่ออัลลอฮฺด้วยความจริงใจนาน 40 วัน หรือกล่าวว่า ไม่มีบ่าวคนใดกล่าวซิกรฺอย่างจริงใจ ต่ออัลลอฮฺนาน 40 วัน เว้นเสียแต่ว่าอัลลอฮฺ ทรงให้เขาใส่ใจต่อโลกน้อยลง และแสดงให้เขาเห็นถึงความป่วยไข้ทั้งหลาย และวิธีการเยียวยา ดังนั้น วิทยปัญญาจะมั่นคงภายในจิตใจของเขา และลิ้นของเขาก็จะเอื่อนเอ่ยเฉพาะสิ่งที่เป็นวิทยปัญญาเท่านั้น[4]
โดยทั่วไปแล้วสิ่งจำเป็นสำหรับการพึงระวังรักษา ในช่วงเวลา 40 วันนั้นคือ การใส่ใจในการปฏิบัติคำสั่ง หรือคำแนะนำอันเฉพาะ ที่กำชับให้ปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกิน การนอน และการพูดมาก และเวลาส่วนใหญ่ของนักจากริกจิตใจในช่วงนี้ จะใช้ไปกับการซิกรฺเสียเป็นส่วนใหญ่ และการอิบาดะฮฺ แน่นอน เราทราบกันดีว่า ตามหลักการสอนของศาสนาแล้ว ตลอดอายุขัยของเราต้องพึงระวังสิ่งเหล่านี้ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะช่วง 40 วันเท่านั้น โดยมั่นฝึกฝนให้เป็นกิจวัตรนิสัย
บางครั้งสังคมส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า กานั่งจำสมาธิ 40 นั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีคือ บรรยากาศภายนอก ซึ่งนักจาริกจิตใจทุกคนต้องพยายาค้นหาสถานที่ สงบจิตใจ ที่เงียบสงบไม่มีสิ่งใดรบกวน และต้องห่างไกลจากสังคม หรือที่เราเรียกว่าการปลีกวิเวก โดยปลีกตัวไปประกอบอิบาดะฮฺตามลำพัง ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องกล่าวว่า ไม่มีอยู่ในหลักคำสอนของอิสลาม ทว่าถ้าผู้จาริกจิตใจ ถ้าเขามีความสามารถ พึงปฏิบัติตนด้วยความจริงใจอยู่ท่ามกลางสังคม แน่นอน เขาจะได้รับคุณค่ามากยิ่งกว่า
นักจาริกจิตวิญญาณ และนักปราชญ์ชีอะฮฺ สวนใหญ่จะให้ความสำคัญต่อการอิบาดะฮฺ 40 วัน และพวกเขาก็จะอิบาดะฮฺ ตัวอย่างที่สามารถหยิบยกได้ตรงนี้คือ ซัยยิด บะฮฺริลอุลูม หรืออัลลามะฮฺ มัจญิลิซซีทั้งคนที่หนึ่ง และสอง
หนังสือจาริกจิตวิญญาณของท่าน ซัยยิด บะฮฺริลอุลูม[5] กล่าวว่า “ความพิเศษอันเฉพาะสำหรับ 40 คือการแสดงการปฏัติ และการเสริมศักยภาพด้านใน และพลังที่ซ่อนอยู่ให้เกิดความเคยชิน เพื่อโน้มนำไปสู่ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ให้ตรงตามที่กล่าวไว้ในโองการและรายงานฮะดีซ อันเป็นที่พึงพอใจของนักจาริกจิตวิญญาณทั้งทั้ง”[6] ซัยยิด บะฮฺริลอุลูม กล่าวไว้อีกที่หนึ่งในหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวกับการจาริกจิตวิญญาณว่า “พึงรู้ไว้เถิดว่าหลังจากฉันตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่า ฉันเลือกทางจาริกจิตใจ และการขัดเกลาจิตใจ ฉันจึงเริ่มต้นก้าวแรกของฉัน ด้วยการซิกรฺ เบื้องต้นสิ่งที่ฉันกระทำคือ ความอดทน เตาบะฮิ สำนึกผิดในสิ่งที่ฉันกระทำผ่านมาในอดีต ขณะเดียวกันฉันก็ละเว้นความเคยชินต่างๆ อันเป็นกิจวัตร และในช่วงสี่สิบวันฉันมุ่งมั่นอยู่กับการการซิกรฺ หลังจากสิ่สิบวันแล้ว สี่สิบวันเล่า”[7]
เช่นกัน มุลลาฮฺ มุฮัมมัด ตะกี มัจญิลิซ กล่าวถึงการอิบาดะฮฺในสี่สิบวันว่า “หนึ่งในสิ่งที่ท่านทักท้วงคือ อิบาดะฮฺ สี่สิบวันเท่ากับการบิดอะฮฺ และสี่งนี้ถือว่าโมฆะ เนื่องจากสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺ ดังที่กล่าวไปแล้วนั้น ขณะเดียวกันเรามีรายงานจำนวนมากมายกล่าวถึง ความประเสริญของการอิบาดะฮฺสี่สิบวัน”[8]
ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺ และความจริงใจในการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ในช่วงสี่สิบวันถือว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักจาริกจิตวิญญาณกล่าวถึง “การสั่งจำสมาธิ นั้นจะต้องไม่เป็นสื่อเปลี่ยนแปลง อันนำเราออกห่างจากสังคม หรือปลีกวิเวกไปอยู่ตามลำพัง นักจาริกจิตวิญญาณทั้งหลาย ต่างให้ความสำคัญต่อการอิบาดะฮฺสี่สิบวันเป็นอย่างยิ่ง โดยหลักการของมันอยู่ที่ การพึงระมัดระวังจิตวิญญาณด้านใน ขณะเดียวกันก็จะมีการนั่งจำสมาธิในบางช่วงบางโอกาสที่จำ ซึ่งมีการอธิบายโดยละเอียดต่อประชาชน
[1] อัลอิฮฺกอก 15
[2] อะอฺรอฟ 142
[3] ชะอีรียฺ ตาญุดดีน ญามิอุลอัคบาร หน้า 94 สำนักพิมพ์ เราะฎี กุม 1363
[4] กุลัยนี มุฮัมมัด ยะอฺกูบ กาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 16 ดารุลกุตุบุลอิสลามียะฮฺ เตหะราน ปี 1365
[5] บะฮฺริลอุลูม มุฮัมมัด บิน มะฮฺดี ริซาละฮฺ ซีรุซุลูก, สำนักพิมพ์ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี มัชฮัด 1375
[6] อ้างแล้วเลิ่มเดิม
[7] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 211
[8] มัจญิลิซ มุฮัมมัด ตะกี ริซาละฮฺ ตัชวีกกุลซุลูกีน หน้า 21, สำนักพิมพ์ นูรฟาฏิมะฮฺ 1375
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น