การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6924
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1422 รหัสสำเนา 19000
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากรายงานที่กล่าวประณามการสั่งสมทรัพย์สมบัติถูกต้อง, ดังนั้น ทรัพย์สมบัติของคนเราหรือแม้แต่ทรัพย์สินของบรรดาอุละมาอฺจะอธิบายว่าอย่างไร?
คำถาม
ตามรายงานฮะดีซจะเห็นว่าไม่มีทรัพย์สินใดถูกสั่งสมเด็ดขาด, ยกเว้นสิทธิ์ของผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหงได้รับการดูแล ถามว่ารายงานนี้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าหากถูกต้อง,ดังนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าทรัพย์สินเงินทองของเรา หรือแม้แต่ของอุละมาอฺบางท่านว่าจะฮะลาลหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ประการแรก : รายงานที่กล่าวถึง,แม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนแอก็ตาม, แต่เมื่อพิจารณารายงานอื่นที่กล่าวถึงประเด็นนี้, ก็จะสามารถลบล้างความอ่อนแอของสายรายงานฮะดีซดังกล่าวได้เป็นอย่างดี, ในแง่ของเนื้อหาสาระของรายงานนี้บ่งบอกให้เห็นว่าการสั่งสมทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งอาจจะเกิดจากวิถีทางไม่ถูกต้อง (ผิดชัรอียฺ) หรือไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามชัรอียฺกล่าวคือ ไม่ได้จ่ายคุมซ์ หรือซะกาต เป็นต้น.

ตามคำสอนของอิสลามการเก็บสั่งสมทรัพย์สินเงินทองด้วยการรักษากฎเกณฑ์ชัรอียฺ ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้ อิสลามมิได้สนับการเป็นศัตรูทรัพย์สินแต่อย่างใด, ทว่าอิสลามสอนว่าความหลงใหลโลกโดยให้โลกนี้ดีกว่าปรโลก เป็นสิ่งไม่ถูกต้องและไม่ดีไม่งามแต่อย่างใด, แต่ทว่าจงมองทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นสื่ออุปกรณ์ที่จะช่วยให้ท่านไปถึงยังความสุขความจำเริญของโลกหน้า, ในกรณีนี้การสั่งสมทรัพย์สิน,ก็จะไม่กลายเป็นความลุ่มหลงโลก ทว่ากลายเป็นสื่อนำท่านไปสู่ปรโลกอย่างสันติ

เกี่ยวกับอุละมาอฺหรือนักปราชญ์ทางศาสนา, การที่ท่านเหล่านั้นมีทรัพย์สินถือว่าไม่เป็นไรหรือขัดแย้งกับหลักชัรอียฺแต่อย่างใดทั้งสิ้น, แต่ความรักของประชาชนกลุ่มนี้อยู่ที่โลกและความลุ่มหลงที่มีต่อโลก ซึ่งทั้งสองประการมิใช่สิ่งที่ถูกยอมรับ และคำสอนของอิสลามสอนว่าให้เราหลีกห่างจาก อุละมาอฺ ที่หลงโลก, มิใช่อุละมาอฺที่ร่ำรวยด้วยทรัพย์สิน

คำตอบเชิงรายละเอียด

1.วิเคราะห์รายงานฮะดีซ

รายงานฮะดีซที่กล่าวมาข้างต้นนั้น, จะถูกกล่าวไว้ในลักษณะด้านล่างต่อไปนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ในตำราต่างๆ โดยรายงานมาจากท่านอิมามอะลี (.) ว่า  :

1.จงอย่ามองความโปรดปรานอันมากมาย,เว้นเสียแต่ว่าสิทธิข้างเคียงมิได้ถูกทำลาย[1]

รายงานข้างต้นมิได้มีบันทึกอยู่ในตำราฮะดีซที่เชื่อถือได้แต่อย่างใด และที่สำคัญไม่มีสายสืบรายงานด้วย, ด้วยเหตุนี้ ถ้าพิจารณาด้านสายรายงานแล้วถือว่า อ่อนแอมาก, แต่ถ้าพิจารณารายงานอื่นเช่น รายงานที่จะกล่าวต่อไป, ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกัน, จะทดแทนความอ่อนแอด้านสายรายงานของฮะดีซนี้ได้อย่างลงตัว.

2.อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้ความร่ำรวย ศักยภาพ และเครื่องยังชีพจำนวนมหาศาลเป็นวาญิบ, ดังนั้น จงอย่าอยู่อย่างผู้หิวโหย อ่อนแอ, เว้นเสียแต่ว่าพระองค์มิได้ให้ศักยภาพและความสามารถแก่เขา และในวันฟื้นคืนชีพอัลลอฮฺ พระผู้ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกร และการปราศจากความต้องการของพระองค์ จะลงโทษพวกเขาเพราะความเกียจคร้าน[2]

รายงานนี้เมื่อเทียบกับรายงานก่อนหน้านั้น, จะน่าเชื่อถือมากกว่า และยังมีบันทึกอยู่ในตำราที่เชื่อถือได้ เช่น นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, วะซอิลุชชีอะฮฺ, บิฮารุลอันวาร, ฆุรรอรุลฮิกัม, และเอรชาดุลกุลูบ เป็นต้น.

รายงานดังกล่าวนี้ ถ้าหากถูกต้อง,จุดประสงค์ของท่านจากคำว่าทรัพย์สิน หมายถึงทรัพย์สินที่มิได้ปฏิบัติไปตามหน้าที่ทางชัรอียฺ กล่าวคือ ทรัพย์ที่มิได้มีการจ่ายค่มซ์และซะกาต ขณะที่เขาได้เชิญชวนประชาชนให้จ่ายสิ่งเหล่านั้น.

2. ทรัพย์สมบัติในอิสลาม

ตำราอิสลามกล่าวถึง รายงานเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติว่า ได้ถูกแบ่งไว้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ : รายงานประเภทแรกจะมองทรัพย์สมบัติไปในแง่ร้ายมากกว่า ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : ฉันคือผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ส่วนทรัพย์สมบัติคือผู้นำบรรดาผู้กระทำบาปทั้งปวง,[3] หมายถึงบรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติตามฉัน, แต่อาชญากรผู้ทำบาปได้ปฏิบัติตามทรัพย์สินเงินทอง

ท่านอิมาม (.) กล่าวอีกว่า : ทรัพย์สมบัติคือธาตุแท้ของกิเลสตัณหาต่างๆ[4]

บุคคลใดก็ตามที่หลงใหลในดิรฮัมและดินาร เขาคือทาสของโลก[5]

หมายเหตุ : ดิรฮัมและดินาร คือค่าเงินอาหรับสมัยก่อน และสมัยนี้บางประเทศก็ยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่เช่นกัน

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามตกเป็นทาสของดิรฮัมและดินาร เขาจะได้รับการสาปแช่งและถูกทำให้ห่างไกลจากความเมตตาของอัลลอฮฺ[6]

ในทางตรงกันข้าม ตำราอิสลามบางเล่มได้กล่าวชื่นชมทรัพย์สมบัติ และโลกเอาไว้. อัลกุรอาน กล่าวว่า :ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือเครื่องประดับแห่งชีวิตในโลกนี้[7] ทำนองเดียวกันทรัพย์สมบัติได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานหลายที่ด้วยกันด้วยนามว่าค็อยรุนเช่น โองการที่กล่าวว่า : «کتب علیکم اذا حضر احدکم الموت ان ترک خیرا...».

เมื่อความตายได้มายังสูเจ้าคนใด หากเขาได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้[8]

เช่นเดียวกัน บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานส่วนใหญ่ได้ตีความคำว่าค็อยรุนในโองการต่อไปนี้ว่าหมายถึง ทรัพย์สมบัติ เช่นกัน : «انه لحب الخیر لشدید»แท้จริงเขารักและหวนแหนทรัพย์สมบัติที่ดีอย่างหลงใหล[9]

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่า :ทรัพย์สมบัติที่บริสุทธิ์ช่างดียิ่งสำหรับปวงบ่าวที่บริสุทธิ์[10] ท่านอิมามบากิร (.) กล่าวว่า :การช่วยเหลือของโลกนี้ช่างเป็นผลดีต่อการผลของปรโลก[11]

เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงรายงานทั้งสองกลุ่มตามที่กล่าวมา เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ธาตุแท้ของทรัพย์สมบัติในอิสลามมิใช่สิ่งที่ถูกประณามหยามเหยียดแต่อย่างใด, ทว่าถ้าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นสื่อและเครื่องมือช่วยให้เราไปสู่ปรโลกด้วยความสวัสดี แล้วละก็ย่อมได้รับการสรรเสริญยกย่องอย่างแท้จริง ด้วยสาเหตุนี้เองเมื่อท่านอิมามอะลี (.) ได้เห็นชายคนหนึ่งกำลังต่อว่าและตัดพ้อโลก ท่านได้กล่าวกับเขาว่า :เจ้าได้ก่ออาชญากรรมและทำความผิดบนโลกนี้หรือ หรือว่าโลกได้ทำความผิดกับเจ้ากันแน่[12]

ตามคำสอนของอิสลามทรัพย์สมบัติและการแสวงหา,เป็นสิ่งถูกยอมรับและบางครั้งวาญิบเสียด้วยซ้ำไป, บางครั้งเท่านั้นที่การบูชาทรัพย์สินเสมอภาคกับอัลลอฮฺได้รับการประณามเอาไว้ ในศาสนาอิสลามทรัพย์สินคือสื่อสำหรับการเข้าถึงความเจริญผาสุกสำหรับโลกหน้า และแสวงความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ, ทรัพย์มิใช่เป้าหมายที่แท้จริง[13]

อัลกุรอานกล่าวว่า :โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าปล่อยให้ทรัพย์สินและลูกหลานของสูเจ้า เป็นเหตุให้สูเจ้าลืมเลือนการรำลึกถึงอัลลอฮฺ[14]

ชะฮีดมุเฏาะฮะรียฺกล่าวว่า : ในอิสลามทรัพย์สมบัติมิเคยถูกตำหนิหรือดูถูกแต่อย่างใด, มิใช่ทั้งการผลิต, มิใช่ทั้งการแลกเปลี่ยน และมิใช่ทั้งการใช้, ทว่าทั้งหมดเหล่านี้ได้เน้นย้ำและถูกอธิบายไว้แล้ว พร้อมกับได้กำหนดเงื่อนไขและความสมดุลในการใช้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วทรัพย์สมบัติในอิสลามมิได้ถูกมองข้ามหรือละทิ้งแต่อย่างใด ทว่าการละทิ้งทรัพย์สินถือว่าเป็นการฟุ่มเฟือย ซึ่งการสุลุ่ยสุหร่ายและการทำลายทรัพย์สินโดยเปล่าประโยชน์เป็น ฮะรอม ในอิสลาม[15]

การปกป้องทรัพย์สินอยู่ในกฎของการญิฮาด ซึ่งการถูกสังหารในวิถีทางนี้จะได้รับผลรางวัลเท่ากับการเป็นชะฮีด[16]

3.การสั่งสมความมั่งคั่งในอิสลาม

อิสลามได้เชิญชวนมุสลิมด้วยวิถีทางต่างๆ ทั้งในแง่ส่วนตัวและส่วนรวมให้ผลิตและสั่งสมทรัพย์สิน ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่า :เป็นวาญิบสำหรับบุรุษและสตรีที่ต้องแสวงหาเครื่องยังชีพฮะลาลสำหรับตน[17]

ชีวิตและกลไกลของสังคมอยู่ท่ามกลางความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ และความมั่งคั่งที่ถูกต้องของมัน ความยากจนจะมีค่าเท่ากับการเป็นเชลยและทาส. ท่านอิมามอะลี (

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8871 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6979 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    12932 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    9789 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :
  • กาสาบานต่อท่านศาสดาและอิมามในเดือนรอมฎอนคือ สาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือ?
    7502 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    การสาบาน มิใช่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดเสีย แต่ถ้าได้สาบานโดยพาดพิงสิ่งโกหกไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่านโดยตั้งใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่กล่าวว่า เป็นการโกหกที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ ศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ส่วนคำสาบานต่างๆ ที่อยู่ในบทดุอาอฺไม่ถือว่าโกหก ทว่าเป็นการเน้นย้ำและอ้อนวอนให้ตอบรับดุอาอฺที่ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียแต่อย่างใด ...
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    6253 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6593 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์มีทัศนคติเกี่ยวกับความยุติธรรมแตกต่างกันอย่างไร?
    10692 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/24
    ทั้งสองสำนักคิดนี้ต่างก็ถือว่าความยุติธรรมของอัลลอฮ์คือหนึ่งในหลักศรัทธาของตน ทั้งสองเชื่อว่าความดีและความชั่วพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญา กล่าวคือสติปัญญาสามารถจะพิสูจน์ความผิดชอบชั่วดีในหลายๆประเด็นได้แม้ไม่ได้รับแจ้งจากชะรีอัตศาสนา ความอยุติธรรมก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่สติปัญญาของมนุษย์ทุกคนพิสูจน์ได้ว่าเป็นความชั่ว ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์จึงไม่ทรงลดพระองค์มาแปดเปื้อนกับความชั่วดังกล่าว แต่ทรงเป็นผู้ไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย ข้อแตกต่างระหว่างสองสำนักคิดข้างต้นก็คือ เมื่อเผชิญข้อโต้แย้งที่ว่า “หากทุกการกระทำของมนุษย์มาจากพระองค์จริง แสดงว่าการให้รางวัลและการลงโทษมนุษย์ย่อมไม่มีความหมาย” มุอ์ตะซิละฮ์ชี้แจงด้วยการปฏิเสธเตาฮี้ด อัฟอาลี (เอกานุภาพเชิงกรณียกิจ) แต่ชีอะฮ์ปฏิเสธทางออกดังกล่าวที่ถือว่ามนุษย์ไม่ต้องพึ่งพาอัลลอฮ์ในการกระทำ โดยเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์เชื่อมต่อกับการกระทำของอัลลอฮ์ในเชิงลูกโซ่ มิได้อยู่ในระนาบเดียวกัน จึงทำให้ตอบข้อโต้แย้งข้างต้นได้โดยที่ยังเชื่อในความยุติธรรมของพระองค์ดังเดิม ...
  • ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอร่านร็อวเฎาะฮ์?
    6201 تاريخ کلام 2554/12/10
    สำนวน “ร็อวเฎาะฮ์” เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่างๆในหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา”มาอ่านโดยนักบรรยายหนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลาซึ่งเขียนโดยมุลลาฮุเซนกาชิฟซับซะวอรี (เกิด 910 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซีหนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังนั้นพิธีต่างๆที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7813 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60377 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57927 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42473 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39751 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39126 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34235 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28275 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28201 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28139 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26078 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...