การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7237
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1478 รหัสสำเนา 18213
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
คำถาม
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้อง เนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์ กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าว อย่างไรก็ดี การปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลาม แต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริง แน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯ
ต้องเข้าใจว่า ที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้น เป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนด ฉะนั้น ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ และนี่คือสารัตถะแห่งฐานะภาพอิมามัตอันสูงส่ง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ท่านอิมามศอดิก(.)รายงานจากท่านนบี(..)ว่า "การจงรักภักดีต่ออลี(.)คือจิตคารวะและความนอบน้อม ส่วนการไม่จงรักภักดีต่อเขาเทียบเท่าการปฏิเสธอัลลอฮ์" ฮะดีษนี้รายงานไว้ในตำราหลายเล่ม แต่เชื่อว่าแหล่งอ้างอิงชั้นต้นก็คือหนังสืออัลกาฟีย์ ของเชคกุลัยนี.[1]
ไม่ทราบว่าผู้ถามต้องการจะทราบสถานะเศาะฮี้ห์ในแง่สายรายงานหรือเนื้อหากันแน่ ฉะนั้น เราจะวิเคราะห์จากทั้งสองมุมมอง

วิเคราะห์สายรายงาน
อัลลามะฮ์มัจลิซีให้ทัศนะไว้ว่า สายรายงานของฮะดีษนี้อ่อน[2] แม้บางท่านจะถือว่าเชื่อถือได้ก็ตาม[3] สายรายงานของฮะดีษนี้มีชายที่ชื่อ สะฮล์ บิน ซิยาด อัลอาดะมีปรากฏอยู่ ซึ่งผู้รู้บางท่านให้ทัศนะว่าเขาไม่น่าเชื่อถือ แต่บางท่านจัดว่าเขาเชื่อถือได้ เชคฏูซีเองก็กล่าวไว้ในหนังสือริญาลว่าเขาเชื่อถือได้[4] แต่ได้วิจารณ์ในหนังสือฟิฮ์ร็อสต์ว่าเขาด้อยความน่าเชื่อถือ[5] ส่วนท่านอื่นๆอย่างเช่น นะญาชี[6] กัชชี[7] และอิบนุ เฆาะฎออิรี[8]ล้วนมีความเห็นว่าเขาไม่น่าเชื่อถือ
อีกคนหนึ่งที่ปรากฏในสายรายงานคือ ยะห์ยา บิน มุบาร็อก ซึ่งไม่มีตำราเล่มใดเอ่ยถึงเขาเลยนอกจากตัฟซี้รกุมี[9] โดยกุมีได้กล่าวไว้ในอารัมภบทตัฟซี้รว่า ฉันรายงานฮะดีษจากครูบาฮาดีษที่น่าเชื่อถือ[10] อย่างไรก็ดี นักวิชาการยังถกเถียงกันเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของนักรายงานบางคนที่ปรากฏในตำราเล่มนี้
สรุปคือ เนื่องจากฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่มีข้อกังขาปรากฏอยู่ จึงไม่น่าเชื่อถือนักในแง่สายรายงาน

วิเคราะห์เนื้อหาฮะดีษ
ประเด็นหลักของเราคือ ในกรณีที่สายรายงานอ่อน สามารถเชื่อถือเนื้อหาของฮะดีษนี้ได้หรือไม่? ขอเรียนว่า เนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นที่ยอมรับโดยเอกฉันท์ เนื่องจากมีฮะดีษที่ถ่ายทอดเนื้อหาดังกล่าวมากมาย[11]
อัลลามะฮ์ ฮิลลี กล่าวไว้ในหนังสือ"มุนตะฮา"ว่า
"
สารัตถะของหลักอิมามัตอันประกอบด้วยการรู้จักและจงรักภักดีต่ออิมามนั้น ถือเป็นแกนหนึ่งของศาสนา และการปฏิเสธสถานะอิมามของท่านอิมามอลี(.)ย่อมถือเป็นกุฟร์"[12]

อย่างไรก็ดี ควรทราบว่ากุฟร์(การปฏิเสธ)ในที่นี้คือการปฏิเสธอีหม่าน หาไช่ปฏิเสธอิสลามไม่ สองสิ่งนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยยะ
ฮะดีษและคำสอนของผู้รู้ทำให้ทราบว่าอิสลามมีขอบเขตที่กว้างกว่าอีหม่าน ฉะนั้นการปฏิเสธอีหม่านจึงครอบคลุมกลุ่มบุคคลได้กว้างกว่าการปฏิเสธอิสลาม กล่าวคือ บุคคลอาจเป็นมุสลิม แต่ไม่ยอมรับหลักวิลายัตและอิมามัต อย่างไรก็ดี ฮุก่มของกาฟิรอาทิเช่นสภาวะความเป็นนะญิส ฯลฯ นั้น ไม่รวมถึงผู้ปฏิเสธอีหม่านแต่อย่างใด[13]

ด้วยเหตุนี้เอง เชคกุลัยนีจึงได้แบ่งหมวดไว้สำหรับข้อแตกต่างระหว่างอิสลามกับอีหม่านเป็นการเฉพาะ[14] ฮะดีษแรกในหมวดนี้มีใจความว่า "ผลประโยชน์ทั่วไป อาทิเช่นการได้รับการพิทักษ์ความปลอดภัยในชีวิต การอนุมัติให้สมรส ฯลฯ นั้น ได้มาด้วยการรับอิสลาม แต่การรับผลบุญนั้น ขึ้นอยู่กับอีหม่าน"[15]
อิมามบากิร(.)กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่ไม่ภักดีต่อท่านอิมามอลี(.)โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ถือเป็นกาฟิร และมิได้ตกศาสนา"[16]
ส่วนที่ว่าเพราะเหตุใดท่านนบีจึงกล่าวว่า "การไม่จงรักภักดีต่ออลี(.)เท่ากับปฏิเสธอัลลอฮ์" และเพราะเหตุใดผู้รู้จึงถือกันว่าเป็นการปฏิเสธอีหม่านนั้น ต้องพิจารณาว่า ท่านนบี(..)ได้กล่าวต่อไปดังนี้ "อลีเชิญชวนพวกท่านสู่สัจธรรม"

การปฏิเสธพระเจ้าจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นหลัก หาไช่ท่านอิมามอลีในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล แต่ในเมื่อทุกอากัปกิริยาและถ้อยคำของท่านตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรมดุจเนื้อเดียว ดังที่ท่านนบีระบุว่า "สัจธรรมจะอยู่กับอลีไม่ว่าเขาจะผินหน้าไปทางใด"[17] ฉะนั้น การไม่เชื่อฟังท่านจึงถือเป็นการปฏิเสธสัจธรรม และการปฏิเสธสัจธรรมก็เท่ากับปฏิเสธพระเจ้า ข้อเท็จจริงนี้เป็นไปตามสถานะภาพอันสูงส่งของอิมามัต อันเป็นฐานะภาพที่พระองค์กำหนดไว้ และเทียบเท่าท่านนบี(..)ในแง่ความจำเป็นที่จะต้องเคารพเชื่อฟัง ดังที่ท่านนบี(..)ได้ประกาศก้องในฮะดีษเฆาะดี้รว่า "ผู้ใดที่ฉันเป็นนายของเขา อลีก็เป็นนายของเขาเช่นกัน"



[1] อัลกาฟีย์,เล่ม 8,หน้า 116,
سَهْلٌ عَنْ یَحْیَى بْنِ الْمُبَارَکِ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ جَبَلَةَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ عَمَّارٍ وَ ابْنِ سِنَانٍ وَ سَمَاعَةَ عَنْ أَبِی بَصِیرٍ عَنْ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص طَاعَةُ عَلِیٍّ ذُلٌّ وَ مَعْصِیَتُهُ کُفْرٌ بِاللَّهِ قِیلَ یَا رَسُولَ اللَّهِ کَیْفَ تَکُونُ طَاعَةُ عَلِیٍّ ذُلًّا وَ مَعْصِیَتُهُ کُفْراً بِاللَّهِ فَقَالَ إِنَّ عَلِیّاً یَحْمِلُکُمْ عَلَى الْحَقِّ فَإِنْ أَطَعْتُمُوهُ ذَلَلْتُمْ وَ إِنْ عَصَیْتُمُوهُ کَفَرْتُمْ بِاللَّه

[2] อัลลามะฮ์มัจลิซี,มิรอาตุลอุกู้ล,เล่ม 11, หน้า 122.

[3] โปรแกรมดิรอยะตุ้นนู้ร

[4] เชคฏูซี, อัรริญ้าล,หน้า 387

[5] เชคฏูซี, อัลฟิฮ์ร็อสต์,หน้า 228

[6] นะญาชี, ริญ้าลุนนะญาชี, หน้า 185

[7] กัชชี, ริญ้าลุลกัชชี, หน้า 566

[8] อิบนุ เฆาะฎออิรี, ริญ้าล อิบนิล เฆาะฎออิรี, เล่ม 1,หน้า 59,67

[9] อัลกุมี, ตัฟซี้รุลกุมี, เล่ม 2,หน้า 50

[10] เพิ่งอ้าง,เล่ม 1,หน้า 4

[11] ดู: เชคมุรตะฎอ อันศอรี, กิตาบ อัฏเฏาะฮาเราะฮ์, เล่ม 5,หน้า 120-123

[12] الإمامة من أرکان الدین و قد علم ثبوتها من الدین ضرورةً، و الجاحد لها لا یکون مصدِّقاً للرسول فی جمیع ما جاء به، فیکون کافرا อัลมุนตะฮา(พิมพ์โบราณ)เล่ม 1,หน้า 522

[13] เชคมุรตะฎอ อันศอรี, กิตาบ อัฏเฏาะฮาเราะฮ์, เล่ม 5,หน้า 123-124

[14] อัลกาฟีย์,เล่ม 2,หน้า 24-28

[15] الإسلام یُحقن به الدم و تؤدّى به الأمانة و تستحلّ به الفروج، و الثواب على الإیمان (จากฮะดีษแรก)

[16]  و أمّا من لم یصنع ذلک و دخل فی ما دخل فیه الناس على غیر علمٍ و لا عداوةٍ لأمیر المؤمنین علیه السلام فإنّ ذلک لا یکفّره و لا یخرجه عن الإسلام إلى الکفر อัลกาฟีย์,เล่ม 8,หน้า 297, ในฮะดีษที่ 454

[17] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 293

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26076 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    17673 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    11000 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10991 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6777 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11603 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7783 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ กล่าวโดยผู้ใด และปรารภกับผู้ใด?
    6655 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    โองการที่ถามมานั้น กล่าวถึงคำสั่งของท่านนบีมูซา(อ.)ที่มีแด่ท่านนบีฮารูน(อ.)ขณะกำลังจะเดินทางจากชนเผ่าของท่านไป ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งตัวแทนจะกระทำในยามที่บุคคลกำลังจะลาจากกัน เมื่อท่านนบีมูซาได้รับบัญชาให้จาริกสู่สถานที่นัดหมายจึงแต่งตั้งท่านนบีฮารูน (ซึ่งดำรงตำแหน่งนบีอยู่แล้ว) ให้เป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชน และได้กำชับให้ฟื้นฟูดูแลประชาชน และให้หลีกห่างกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย[1]อนึ่ง ท่านนบีฮารูน(อ.)เองก็มีฐานะเป็นนบีและปราศจากความผิดบาป อีกทั้งไม่คล้อยตามผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่แล้ว ท่านนบีมูซาเองก็ย่อมทราบถึงฐานันดรภาพของพี่น้องตนเองเป็นอย่างดี ฉะนั้น คำสั่งนี้จึงมิได้เป็นการห้ามมิให้นบีฮารูนทำบาป แต่ต้องการจะกำชับมิให้รับฟังทัศนะของกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย และอย่าคล้อยตามพวกเขาจนกว่าท่านนบีมูซาจะกลับมา
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    6251 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7662 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60370 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57923 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39745 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39122 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34230 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28270 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28198 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28138 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26076 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...