Please Wait
7385
สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง
มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง
นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา
สายตาอันร้ายกาจนั้นเป็นผลที่เกิดมาจากจิตวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยภายนอก และไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธสิ่งนั้นด้วย
รายงานบางบทได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงข้อนี้, ตัฟซีร »ดุรุลมันซูร« บันทึกรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่กล่าวว่า : ปัญหาเรื่องดวงตาป่วยเป็นโรคนั้นเป็นความจริงหนึ่ง, ทำนองเดียวกันท่านกล่าวว่า : สายตาอันร้ายกาจ,นั้นจะมองเห็นคนสมบูรณ์แข็งแรงในกุบูร และมองเห็นอูฐที่แข็งแรงอยู่ในแถวเดียวกัน”[1]
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ป้องกันมิให้สายตาของท่าอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ ต้องประสบกับโรคร้าย ท่านได้ทำรุก็ยยะฮฺ (จุดประสงค์ของ รุก็อยยะฮฺคือ การเขียนบทดุอาอฺและบุคคลจะนำดุอาอฺนั้นติดตัวไว้ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็เรียกสิ่งนั้นว่า ตะอฺวีซ) ท่านศาสดาได้จับท่านอิมามทั้งสองไว้แล้วอ่านดุอาอฺว่า :
« أُعِيذُكُمَا بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ وَ أَسْمَائِهِ الْحُسْنَى كُلِّهَا عَامَّةً مِنْ شَرِّ السَّامَّةِ وَ الْهَامَّةِ وَ مِنْ شَرِّ كُلِّ عَيْنٍ لَامَّةٍ وَ مِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ »
หมายถึง : ฉันขอความคุ้มครองให้แก่เธอ ด้วยถ้อยคำสมบูรณ์แห่งอัลลอฮฺ และด้วยพระนามอันไพรจิตของพระองค์ ให้พ้นจากทุกความชั่วร้ายที่นำมาซึ่งความเบื่อหน่าย ความชั่วร้ายของผู้นำที่มีอยู่ซึ่งไม่อาจมองเห็นด้วยสายตา ความชั่วร้ายจากทุกสายตาที่ไม่ดีที่ผ่านพ้นไปถึงมนุษย์ ความชั่วร้ายของความริษยายามเมื่อริษยา หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวแก่เราว่า ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้กระทำเช่นนี้กับอิสมาอีล และอีสฮาก[2]
ฮิกมัตที่ 400 นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ กล่าวว่า สายตาอันร้ายกาจเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรป้องกันด้วยการตะวัซซุล และดุอาอฺ[3]
จากรายงานดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ว่า สายตาอันร้ายกาจ ก่อให้เกิดสิ่งไม่ดีนั้นมิใช่เป็นเรื่องอุปโลกน์ ทว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดภายนอก ดั่งที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาทั่วไป แต่ก็มีแนวทางป้องกันสิ่งเหล่านั้น ซึ่งได้รับคำแนะนำเอาไว้
ดั่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ โองการที่ 51 บทอัลเกาะลัม มีผลต่อการขจัดสายตาร้ายกาจ หรือสายตาริษยา ซึ่งโองการดังกล่าวอัลลอฮฺ ทรงมีบัญชาต่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า »เมื่อบรรดาผู้ปฏิเสธได้ยินอัล-กุรอาน พวกเขาเกือบจะใช้สายตาอันร้ายกาจของพวกเขาทำร้ายเจ้า พวกเขากล่าวว่า แท้จริง เขาเป็นคนเสียสติ«[4]
สาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการนี้กล่าวว่า : มีชายคนหนึ่งจากเผ่าบนีอะซัด, บางครั้งต้องทนหิวโหยนานถึง 3 วัน, เวลานั้นเมื่อเขาพบเจอสิ่งใดจะพูดว่า : เหมือนกับว่าฉันไม่เคยเห็นสิ่งนั้นมาก่อนเลยจนถึงบัดนี้, บางครั้งก็ได้พบเจอสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งมีบางคนต้องการให้เขาทำเช่นนั้นกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ว่าอัลลอฮฺ ทรงปกป้องศาสดาของพระองค์ไว้[5]
ท่านมัรฮูมอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวอธิบายเกี่ยวกับโองการนี้ว่า จุดประสงค์ของประโยคว่า «ازلاق به ابصار» ซ่อนอยู่ในประโยคว่า «لیزلفونک» หมายถึง สายตาอันร้ายกาจ ซึ่งนักตัฟซีรส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกัน, การกระพริบตา หรือสายตาอันร้ายกาจ นั้นเป็นผลอย่างหนึ่งที่เกิดจากจิตวิญญาณ และไม่มีเหตุผลทางสติปัญญาหักล้าง หรือปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ได้ ทว่าเราเห็นเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลที่มาจากสายตาอันร้ายกาจ ขณะเดียวกันเราก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะปฏิเสธได้ว่าสิ่งนั้นไม่จริง เป็นความเชื่อเหลวไหล ที่อุปโลกน์ขึ้นมา[6]
ซะมัคชะรียฺ กล่าวว่า การอ่านโองการดังกล่าวนี้เพื่อป้องกันสายตาอันร้ายกาจ ซึ่งได้รายงานมาจาก ฮะซัน บัศรียฺ (หนึ่งในผู้รู้และเป็นนักไสยศาสตร์คนหนึ่งของฝ่ายซุนนียฺ)[7]
ท่านมัรฮูม อับบาซกุมกี นักรายงานฮะดีซ และเป็นผู้เขียนหนังสือ มะฟาตีฮุลญินาน ขณะที่เขียนหนังสือท่านได้กล่าวถึงการป้องกัน สายตาอันร้ายกาจ ว่า เพื่อมิให้เกิดโรคร้ายที่เกิดจากสายตาอันร้ายกาจ ให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะฮลัม ที่กล่าวว่า «ان یکاد...» [8]
อย่างไรก็ตามรายงานที่มีอยู่ในตัฟซีรต่างๆ ที่อธิบายถึงโองการข้างต้นนี้ บ่งบอกให้เห็นว่า การอ่านโองการดังกล่าว เพื่อป้องกันสายตาร้ายกาจ ซึ่งเป็นเหตุนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้[9]
นักรายงานฮะดีซท่านหนึ่งนามว่า มัรฮูมอัลลามะฮฺ มัจญฺลีซ (รฮ.) อธิบายถึงการป้องกันสายตาร้ายกาจ, หลังจากอธิบายรายงานที่กล่าวไว้ในตัฟซีรดุรุลมันซูร ดังที่กล่าวผ่านไปแล้ว, ท่านมัรฮูม ได้รายงานมาจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงการป้องกันสายตาร้ายกาจ โดยกล่าวว่า : บุคคลที่หวั่นกลัวสายตาของเขาจะเกิดสิ่งไม่ดีกับคนอื่น หรือสายตาของคนอื่นจะเกิดสิ่งไม่ดีกับเขาให้อ่านประโยคนี้ 3 ครั้งว่า «ماشاء الله لاقوة الا بالله العلی العظیم».หรือกล่าวว่า : ให้อ่านอัลกุรอาน บทฟะลัก และบทอันนาซ อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่าให้อ่าน บทฟาติฮะฮฺ และบทเตาฮีด อย่างไรก็ตามคำอธิบายดังกล่าวนี้ก็มิได้ขัดแย้งกับโองการที่กำลังกล่าวถึงแต่อย่างใด[10]
ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่แน่นอนคือ สายตาร้ายกาจ นั้นสามารถป้องกันได้ด้วยดุอาอฺบางบท
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 24, หน้า 426.
[1] ดุรุลมันษูร, หน้า 651
[2] อัลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 569 ฮะดีซที่ 3 กล่าวว่า
عَلِيُّ بْنُ إِبْرَاهِيمَ عَنْ أَبِيهِ عَنْ بَعْضِ أَصْحَابِهِ عَنِ الْقَدَّاحِ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قَالَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ ع رَقَى النَّبِيُّ ص حَسَناً وَ حُسَيْناً فَقَالَ أُعِيذُكُمَا بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ وَ أَسْمَائِهِ الْحُسْنَى كُلِّهَا عَامَّةً مِنْ شَرِّ السَّامَّةِ وَ الْهَامَّةِ وَ مِنْ شَرِّ كُلِّ عَيْنٍ لَامَّةٍ وَ مِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ ثُمَّ الْتَفَتَ النَّبِيُّ ص إِلَيْنَا فَقَالَ هَكَذَا كَانَ يُعَوِّذُ إِبْرَاهِيمُ إِسْمَاعِيلَ وَ إِسْحَاقَ ع
[3] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ หน้า 547, 547 «العین حق والرقی حق»
[4] وَ إِن يَكاَدُ الَّذِينَ كَفَرُواْ لَيزُلِقُونَكَ بِأَبْصَارِهِمْ لَمَّا سمَعُواْ الذِّكْرَ وَ يَقُولُونَ إِنَّهُ لمَجْنُونٌอัลกุรอานบท เกาะลัม, 51.
[5] อัลกิชาฟ, ซะมัคชะรียฺ, เล่ม 3 และ 4, หน้า 1278, พิมพ์ที่ ดารุลอะฮฺยา
[6] อัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 648.
[7] อัลกิชาฟ, ซะมัคชะรียฺ, เล่ม 3, หน้า 4, หน้า 1279
[8] มะฟาตีฮุลญินาน, เชคอับบาซ กุมมียฺ, หน้า 319, มัรฮูมกุมกี สะฟีนะตุลบิฮาร กล่าวว่า ให้อ่านโองการดังกล่าวเพื่อป้องกัน สายตาร้ายกาจ
[9]ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 651, ตัฟซีรนะซีมเราะฮฺมัต, หน้า 71, ตัฟซีรนูร อัซซะเกาะลัยนฺ, เล่ม 5, หน้า 400, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 24, หน้า 426
[10] ฮิลลียะตุลมุตตะกีน, อัลลามะฮฺมัจญฺลิซซียฺ, หน้า 319, พิมพ์ที่ฮิจญฺรัต