การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7085
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/29
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ขัดวาง การห้ามมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม?
คำถาม
เพราะเหตุใด เมื่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องการเขียนบางสิ่งแก่บรรดาสหายก่อนที่ท่านจะจากไป ซึ่งจะไม่ทำให้พวกเขาหลงทางตลอดไป, แต่ท่านอะลีมิได้กล่าวสิ่งใดเลย, ทั้งที่ท่านเป็นผู้มีความกล้าหาญ ไม่เคยกลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ และท่านก็ทราบดีว่าบุคคลใดไม่พูดความจริง เขาคือปีศาจมุสา?
คำตอบโดยสังเขป

การขัดขวางหรือห้ามมิให้นำปากกาและกระดาษมาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) (เพื่อที่จะเขียนพินัยกรรมบางอย่างก่อนที่ท่านจะจากไป) เป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, การนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว มิได้เป็นเหตุผลที่มายืนยันหรือปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ท่านอิมามมีเหตุผลอะไรถึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านอิมามขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่?

เมื่อศึกษาเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสืออื่นๆ ทำให้ได้บทสรุปว่า

1.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถูกกล่าวร้ายว่า เป็นคนพูดจาเพ้อเจ้อ ศาสดาผู้ซึ่งอัลกุรอานได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านว่า: »ท่านจะไม่พูดจากด้วยอารมณ์ ทว่าจะพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นวะฮฺยูที่ได้ประทานลงมายังท่านเท่านั้น« ขณะที่เรื่องพินัยกรรม ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กับการประกาศสาส์นของท่าน

2.การเริ่มต้นความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกัน ต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประกอบกับท่านป่วยอยู่ด้วยในขณะนั้น แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้อง และไม่ใช่เรื่องดีแต่อย่างใด ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกันมากเท่าใด การวิวาทของพวกเขาก็ยิ่งทำให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทุกข์ยิ่งขึ้นเท่านั้น

3.มีบุคคลหลายคนในที่ประชุมนั้น พยายามขัดขวางมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การโต้เถียงกันขยายวงกว้างออกไป เขาและพรรคพวกของเขาต่างไม่ยอมรับการเขียนพินัยกรรมในเวลานั้น จนกระทั่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทนไม่ได้จึงไล่ทุกคนออกไปให้พ้นหน้าท่าน ซึ่งบางรายงานตามบันทึกของซุนนียฺกล่าวว่า บุคคลที่เป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้คือ ท่านอุมัรบินเคาะฏ็อบ[i]

4.วิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และสิทธิอันชอบธรรมของท่าน เป็นที่ชัดเจน ซึ่งไม่มีบุคคลใดสงสัยในการเป็นตัวแทนของท่านแต่อย่างใด ซึ่งแน่นอนว่าการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็เพื่อรักษากาลเทศะบางอย่าง อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์สะกีฟะฮฺแล้ว ท่านอิมาม (อ.) ได้ทักท้วงเรื่องการปฏิเสธสิทธิของท่าน แต่เพื่อรักษาความสงบสันติแก่อิสลาม และมุสลิมท่านจึงนิ่งเงียบอยู่หลายปี นอกจากนั้นท่านยังให้คำปรึกษากับผู้ปกครองอิสลามในสมัยนั้น ก็เพื่อการปกปักรักษาอิสลามให้ดำเนินต่อไป

 


[i] บุคอรียฺ, กิตาบอิลมฺ, บาบกิตาบุลอิลมฺ, 1/22-23.

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

การห้ามและขัดขวางมิให้เจตนารมณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สมจริง บนคำสั่งที่ให้นำเอาปากกาและกระดาษมาให้ท่าน  เพื่อจะบันทึกบางอย่างในฐานะพินัยกรรมก่อนที่ท่านจะจากไป เป็นเหตุการณ์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทางหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ว่าเป็นมุตะวาติร ดังปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซของฝ่ายซุนนียฺมากมาย และการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มิได้เป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงการปฏิเสธความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทว่าประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ท่านมีเหตุผลอะไรจึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่ หรือสิ่งที่ท่านกระทำลงไปนั้นเป็นการรักษาความสงบในสังคมอิสลาม ความสงบสันติซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมอิสลามอย่างยิ่งในตอนนั้น เป็นสาเหตุทำให้ท่านต้องเปลี่ยนใจไม่ทำตามความต้องการของตน แน่นอน สิ่งนี้มิได้ขัดแย้งกับความกล้าหาญชาญชัยของท่านแต่อย่างใด

ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้อันดับแรกจะกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งรู้จักกันดีในนามของเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« หรือ »วันพฤหัสทมิฬ« หรือ »วันพฤหัสอัปยศ« :

อิมามบุคอรียฺ เป็นหนึ่งนักรายงานฮะดีซผู้อาวุโสของฝ่ายซุนนียฺ และเป็นเจ้าของหนังสือเซาะฮียฺบุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซว่า : ใกล้เวลาที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะอำลาจากโลกไป มีสหายกลุ่มหนึ่ง เช่น อุมัร บิน เคาะฎ็อบได้รวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ท่านได้สั่งพวกเขาว่า : จงนำเอาปากกาและกระดาษมาให้ฉัน เพื่อฉันจะได้บันทึกบางสิ่งแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป, อุมัร บิน เคาะฏ็อบกล่าวว่า : อาป่วยได้ครอบงำท่านศาสดาเสียแล้ว, พวกเรามีอัลกุรอานคัมภีร์แห่งพระเจ้าเล่มเดียวก็เพียงพอแล้ว สำหรับพวกเรา คำพูดของเขาทำให้อะฮฺลุลบัยตฺและผู้ที่อยู่ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ขัดแย้งกัน,มีบางกลุ่มที่ยอมรับทัศนะของอุมัร และอีกบางกลุ่มไม่เห็นด้วยและแสดงความเห็นขัดแย้งออกมา เมื่อความขัดแย้งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า : จงออกไปให้พ้นหน้าฉันทั้งหมด ไม่สมควรอย่างยิ่งที่พวกท่านจะมาถกเถียงและวิวาทกันต่อหน้าฉัน[1]

บุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซ ในอีกรายงานหนึ่งว่า อิบนุอับบาซกล่าวว่า : ปัญหาและความเลวร้ายต่างๆ ได้เริ่มต้นตั้งแต่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา จนกระทั่งท่านไม่ได้เขียนพินัยกรรมฉบับสุดท้าย[2]

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงกับวันพฤหัสบดี กล่าวคือ 4 วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สิ่งที่สมควรพิจารณาตรงนี้คือ ท่านศาสดาต้องการป้องกันมิให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น กับวิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี ท่านจึงมีคำสั่งให้สหายกลุ่มหนึ่ง เช่น ท่านอบูบักรฺ,อุมัร, อุสมาน, อบูอุบัยดะฮฺ ญัรรอฮฺ, ฏ็อลฮะฮฺ, ซุบัยรฺ, อับดุรเราะฮฺมาน บิน เอาฟฺ และสะอฺดฺ บิน วะกอซ[3] ร่วมออกศึกไปยังจุดที่ห่างไกลที่สุดของชายแดน ติดกับโรม ภายใต้การนำทัพของอุษามะฮฺ ทั้งที่การปล่อยให้เมืองหลวงว่างเปล่าจากทหาร ในช่วงของการกำลังจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นไปได้ที่ผู้เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่, เพื่อนบ้านซึ่งเป็นชนต่างเผ่าพันธุ์ที่อยู่รายล้อมรอบมะดีนะฮฺ อาจจะลุกฮือและก่อกบฏได้ แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นการตัดสินใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพียงคนเดียว เพื่อต้องการให้ผู้ที่จะคิดต่อต้านวิลายะฮฺของท่านอะลี (อ.) ออกไปจากมะดีนะฮฺ, การจัดทัพดังกล่าวได้เกิดขั้นเพียงไม่กี่วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และเป็นคำสั่งของท่าน ซึ่งท่านกล่าวว่า : ขออัลลอฮฺ ทรงสาปแช่งบุคคลที่ทรยศขัดขืนการนำทัพของอุษามะฮฺ และไม่ร่วมทัพไปพร้อมกับเขา[4] ในทางตรงกันข้ามเหล่าสหาย และผู้เห็นด้วยกับการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) เช่น ท่านอัมมาร มิกดาร และซัลมาล ได้รับการยกเว้นไม่ต้องร่วมทัพไปกับอุษามะฮฺ ขณะเดียวกันก็ไม่มีชื่อของท่านอิมามอะลี (อ.) อยู่ในกองทัพด้วย[5]

จากบทนำที่กล่าวมาพร้อมกับข่าวลือว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เสียชีวิตแล้ว ทำให้คนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกจากกองทัพอุษามะฮฺ แล้วรีบกลับมะดีนะฮฺทันที มารวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา จึงทำให้เกิดวันพฤหัสวิปโยคขึ้นมา

ประวัติศาสตร์บันทึกว่าบุคคลหนึ่งที่ทักท้วงคำพูดของอุมัร บินเคาะฏ็อบคือ ญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ[6]

เมื่อศึกษาฮะดีซจากท่านอิบนุอับบาซ ที่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์วันนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การโต้เถียงและทะเลาะวิวาทกันในวันนั้น สร้างความรันทดและไม่เข้ากันกับสภาพของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในตอนนั้น และถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง รายงานยังกล่าวต่อไปอีกว่า สาเหตุที่พินัยกรรมมิได้ถูกบันทึกก็มาจากการทะเลาะวิวาทกันในวันนั้นนั่นเอง

ฉะนั้น ถ้าหากอุมัร บินเคาะฏ็อบ ไม่ขัดขวางเจตนารมณ์ของท่านศาสดา และไม่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) วันนั้นท่านต้องเขียนพินัยกรรมแน่นอน

และตอนนี้ประจักษ์แล้วว่า เพราะอะไรท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่เข้าไปยุ่งในการทะเลาะวิวาท, ขณะที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นผู้จิตใจมุ่งหวังแต่สร้างความสมานฉันท์ และการประสานใจให้เป็นหนึ่งเดียว[7] ไม่เป็นการเหมาะสมแต่อย่างใดที่จะเพิ่มพูนการวิวาทให้มากยิ่งกว่าเดิม นอกจากนั้นแล้วบุคคลที่ไม่ยอมรับคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยกล่าวหาว่าท่านเป็นคนพูดเพ้อเจ้อ เนื่องจากอาการไข้ได้กำเริบ แล้วเขาจะมาฟังคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) กระนั้นหรือ นอกจากนี้แล้วยังมีสหายผู้อาวุโสหลายท่าน เช่น ท่านญาบิร อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ เป็นผู้หนึ่งที่คัดค้านคำพูดของอุมัร บิน เคาะฎ็อบ แต่ทันทีที่ท่านท้วงติงก็ได้รับการคัดค้าน และแรงบีบกดดันจากกลุ่มที่เห็นพ้องกับคำพูดของอุมัรทันที ดังนั้น ในบรรยากาศเช่นนั้นไม่ว่าจะมีใครแสดงทัศนะออกมาทั้งในแง่ลบ หรือแง่ดีก็จะมีการโต้เถียงและทะเลาะกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นความผิดพลาดทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็มิใช่สิ่งที่ถูกปิดบังหรือซ่อนเร้นแต่อย่างใด เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้เน้นย้ำปัญหาดังกล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง ในลักษณะที่ว่าทุกคนต่างรับรู้ ข้อพิสูจน์และชัรอียฺสมบูรณ์แล้วสำหรับพวกเขา. ท่านซุยูฏียฺได้รวบรวมฮะดีซเหล่านี้ไว้นหน้งสือ ตารีคคุละฟาอฺ ซึ่งในฮะดีซเหล่านั้นคือบทที่กล่าวว่า « مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ »ซึ่งติรมีซียฺ ได้รายงานจากอบี ซะรีฮะฮฺ หรือจากซัยดฺ บินอัรกอม ซึ่งประโยคนี้ « اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَ عَادِ مَنْ عَادَاه‏» ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ ได้รายงานมาจาก อิบนุอุมัน, มาลิก บิน อัลเฮารีส, ญะรีร, สะอฺด์ บิน อบีวะกอฟ, อะบี สะอีด คุดรียฺ, อะนัส, อิบนุอับบาซ อีกทีหนึ่ง

ทำนองเดียวกันประโยคที่กล่าวว่า « أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّهُ لَا نَبِيَّ بَعْدِي »ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ โดยรายงานมาจากสายรายงานที่ต่างกัน[8]

ใช่ เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่แห่งเคาะดีรถคุม ยังไม่ทันเจือจาง และเป็นไปไม่ได้ที่บางคนจะลืมเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่จนหมดสิ้น ฉะนั้น ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปยุ่งกับการโต้เถียง หรือทะเลาะวิวาทกันในบ้านท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต่อหน้าท่าน เพราะการให้เกียรติท่านศาสดามีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด การนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการไม่ดูถูกตำแหน่งของท่าน แต่หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ไม่เคยปฏิเสธที่กล่าวถึงความจริงนั้น ทั้งที่อะฮฺมัด ได้บันทึกไว้ในมุสนัด (1/155) หรือฏ็อบรียฺ ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของท่าน (2/466) และบุคคลอื่น เช่น อิบนุกะษีร อิบนุฮิชาม ซึ่งได้กล่าวถึงเหตุการณ์นั้นว่า ตอนแรกพวกเขาแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องเคาะลิฟะฮฺ ทำให้บางกลุ่มได้ไปรวมตัวกันประท้วงที่บ้านท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) และบางกลุ่มก็ไปมัสญิด บังคับให้ประชาชนสาบานว่า ไม่เคยเห็นเหตุการณ์เฆาะดีรคุม และบางกลุ่มจำนวน 30 คนได้ยืนยันถึงเหตุการณ์ดังกล่าว[9] แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพของสังคม และความสามัคคีของมุสลิม อีกทั้งป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกมากไปกว่านั้น ท่านได้ยุติความพยายามในการเรียกร้องสิทธิของท่าน เพราะแน่นอน การทักท้วงของท่านอิมามย่อมนำมาซึ่งความแตกแยกภายในสังคม อิสลามซึ่งเหมือนกับวัยหนุ่มที่เพิ่งเจริญเติบโต ประกอบกับสังคมพึ่งจะสูญเสียผู้นำคือ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ไปหมาดๆ อีกด้านหนึ่งศัตรูต่างเฝ้าคอยโอกาสที่จะโจมตีอิสลามให้พังพินาศ ดั่งที่ประวัติศาสตร์กล่าวว่า การจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทำให้ชนเผ่าอาหรับจำนวนมากไม่ยอมจ่ายซะกาต และบางเผ่าชนก็ออกนอกศาสนาไป[10]

แน่นอน สิ่งที่ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นห่วงมากที่สุดคือ การสูญเปล่าในการงานของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านและครอบครัวต่างเสียสละทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพื่อปกป้องรักษาอิสลาม ให้ธำรงอยู่ต่อไปแด่อนุชนรุ่นหลัง, ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงได้เลือกการนิ่งเงียบ และให้คำปรึกษาผู้นำการปกครองภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และให้ความร่วมมือเท่าที่จำเป็น

 


[1] บุคอรียฺ, กิตาบอิลมฺ, บาบกิตาบุลอิลมฺ, 1/22-23,มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140.

[2] เซาะฮียฺบุคอรียฺ, กิตาบอัลอิอฺติซอม บิลกิตาบวะซุนนะฮฺ, บาบกะรอฮียะฮฺ อัลคิลาฟวะบาบเกาลฺ มะรีฎ}มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140. قوموا عنی از کتاب مرضی؛

[3]เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.

[4] มิลัลวะนิฮัล, ชะฮฺริซตานี, เล่ม 1, หน้า 14, เล่ามาจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กลุ่มนักเขียน, หน้า 132.

[5] เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.

[6] ฮัยซัมมีย์,มัจญฺมะอุลซะวาอิด, เล่ม 4, หน้า 390, เล่ม 8, หน้า 609, ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่และประวัติศาสตร์, หน้า 134.

[7] อัลกุรอานหลายโองการได้เชิญชวนมุสลิมไปสู่เอกภาพ และหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท เช่น โองการที่ 46 บทอันฟาล กล่าวว่า : พวกเจ้าจงอย่าวิวาท เพราะจะทำให้บังเกิดความพ่ายแพ้ และสูญเสียอำนาจ

[8] ตารีคคุละฟาอฺ, ซุยูฏียฺ, หน้า 157.

[9] มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 489.

[10] อ้างแล้ว, เล่ม 1, หน้า 165.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ถูกต้องไหม ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกฟันศีรษะขณะนมาซซุบฮฺ,อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ มิได้อยู่ด้วย?
    7966 تاريخ بزرگان 2554/12/20
    รายงานเกี่ยวกับการถูกฟันของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งขณะนั้นท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ร่วมอยู่ด้วยนั้นมีจำนวนมากด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเป็นไปได้หลายกรณีเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิภาษกันอยู่กล่าวคือ:1.
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10790 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9275 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • กฏการโกนเคราและขนบนร่างกายคืออะไร?
    15065 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    เฉพาะการโกนเคราบนใบหน้า[1]ด้วยมีดโกนหรือเครื่องโกนหนวดทั่วไปถึงขั้นที่ว่าบุคคลอื่นเห็นแล้วกล่าวว่าบนใบหน้าของเขาไม่มีหนวดแม้แต่เส้นเดียว, ฉะนั้นเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบถือว่าไม่อนุญาต
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    9185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
    5971 รหัสยทฤษฎี 2555/03/12
    มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์ ...
  • นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
    14725 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    นมาซ,คือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้ขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งเขาจะได้สัมผัสและสนทนากับพระเจ้าของตนโดยปราศจากสื่อกลางในการพูดอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : จงนมาซเถิด เพื่อจะได้ฟื้นฟูการรำลึกถึงฉัน และฉันจะรำลึกถึงพวกท่านโดยผ่านนมาซ ถ้าหากการรำลึกถึงอัลลอฮฺจะปรากฏออกมาโดยผ่านนมาซแล้วละก็, จะทำให้หัวใจของมนุษย์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าจะทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่น, ผู้นมาซทุกท่านเท่ากับได้ทำลายสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานของตน และฟื้นฟูธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองให้มีชีวิตชีวา,คุณลักษณะพิเศษของนมาซ, คือการฟื้นฟูธรรมชาติแห่งตัวตน,ผู้นมาซทุกคนที่ได้รับความมั่นใจ และความสงบอันเกิดจากนมาซ จะไม่แสดงความอ่อนไหวต่อสภาพชีวิตการเป็นอยู่ จะไม่แสดงความอ่อนแอแม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีความลำบากยิ่ง ถ้าหากมีความดีงามมาถึงยังพวกเขา, พวกเขาจะไม่กีดกันและจะไม่หวงห้ามสำหรับคนอื่นนมาซคือ เกาซัร (สระน้ำ) ...
  • อัลกุรอานเป็นความมหัศจรรย์ในสามลักษณะ : ก.คำ, ข. เนื้อหา, ค.ผู้นำอัลกุรอานมาเผยแผ่ และทั้งสามลักษณะบ่งบอกว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้าได้เพียงมากน้อยเพียงใด ?
    8342 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6768 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    7158 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60084 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57473 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42165 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39265 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38910 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33969 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27985 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27906 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27730 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25745 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...