การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9492
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2551/01/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2024 รหัสสำเนา 28164
คำถามอย่างย่อ
อัลกุรอานและรายงานกล่าวถึงหรือนำเสนอเรื่องราวของเคฎ (อ.) ไว้บ้างหรือเปล่า?
คำถาม
เราประสบปัญหามากมายเกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาศาสดา ในคัมภีร์อินญีล? อัลกุรอานและรายงานกล่าวถึงหรือนำเสนอเรื่องราวของเคฎ (อ.) ไว้บ้างหรือเปล่า?
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงนามของ ท่านเคฎ ไว้อย่างตรงไปตรงมา แต่กล่าวในฐานะของ

"عَبْداً مِنْ عِبادِنا آتَيْناهُ رَحْمَةً مِنْ عِنْدِنا وَ عَلَّمْناهُ مِنْ لَدُنَّا عِلْماً"

“แล้วทั้งสองได้พบบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้จากเราให้แก่เขา”[i] โองการสาธยายถึงฐานะภาพความเป็นบ่าว และความรู้อันเฉพาะของเขา,และอยู่ในฐานะของครูของมูซา บิน อิมรอน ซึ่งรายงานจำนวนมากมายกล่าวแนะนำถึงชายผู้มีความรู้นี้คือ เคฎ นั่นเอง

เขาเป็นหนึ่งในผู้มีความรู้ และได้รับความโปรดโปรานอันเฉพาะจากพระผู้อภิบาล นอกจากนั้นท่านยังล่วงรู้ในระบบกฎเกณฑ์การสร้างสรรค์โลก ความเร้นลับบางประการ และในด้านหนึ่งเป็นครูของศาสดามูซา บิน อิมรอน แม้ว่ามูซาจะมีความรู้เหนือพวกเขาอยู่หลายด้านก็ตาม

บางส่วนของรายงาน และคำอรรถาธิบายโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่าเขามีฐานะเป็นนะบี และเป็นหนึ่งในศาสดาที่ถูกส่งมา ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเพื่อประชาชาติของเขา เพื่อเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว การเป็นศาสดา และคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ปาฏิหาริย์ของท่านคือ ทุกครั้งที่ต้องการท่านจะกล่าวว่า โดยอนุมัติของพระเจ้าต้นไม้ที่แห้งหรือแผ่นดินที่แล้งก็จะกลายเป็นสีเขียวขจีทันที ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกชื่อเขาว่า เคฎ (อ.) ซึ่งเป็นสมัญญานามของท่าน ชื่อจริงของท่านคือ ตาลียา บิน มะลิกาน บิน อาบิร บิน อัรฟัค บิน ซาม บิน นูฮฺ

อัลกุรอาน กล่าวถึงเรื่องราวของศาสดามูซา และศาสดาเคฎ (อ.) ไว้ว่า เมื่อท่านมูซา (อ.) ได้ร่วมทางไปกับเขา บ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวทั้งหลาย อันเป็นสาเหตุให้ ความโปรดปราน (ความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่) จากพระองค์ไปยังเขา วิทยปัญญาอีกจำนวนมากมายได้ถูกสอนสั่งแก่เขา เขาได้กล่าวแก่มูซาว่า  »เจ้าไม่อาจอดทนต่อฉันได้ดอก เจ้าจะอดทนต่อสิ่งซึ่งเจ้ามิได้ล่วงรู้ถึงความลับของมันได้อย่างไร (มูซา) กล่าวว่า » ด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ฉันจะอดทน และฉันจะไม่ขัดแย้งคำสั่งท่านในภารกิจต่างๆ« (เคฎ) กล่าวว่า » ดังนั้น ถ้าท่านต้องการติดตามฉันไป จงอย่าถามทุกสิ่งที่ได้พบเห็น และเมื่อถึงเวลาแล้วฉันจะบอกท่านเอง« แล้วทั้งสองก็ได้ออกเดินทางไปจนกระทั่งได้ขึ้นเรือ (เคฎ) ได้เจาะเรือจะทะลุ (มูซา) กล่าวว่า »ท่านเจาะเรือจนทะลุเพื่อต้องการให้คนที่อยู่บนเรือจมน้ำตายกระนั้นหรือ ท่านกำลังทำสิ่งที่เลวร้ายยิ่ง« กล่าวว่า »ฉันมิได้บอกท่านหรือว่า ท่านไม่อาจอดทนต่อสิ่งที่ฉันทำได้ดอก« มูซา กล่าวว่า »ฉันลืมไป อย่าได้ตำหนิฉันเลย อย่าได้ปฏิบัติกับฉันรุนแรงนัก« แล้วทั้งสองก็ได้เดินทางต่อไป จนกระทั่งได้พบเด็กหนุ่มคนหนึ่ง แล้วเคฎได้สังหารเด็กหนุ่มนั้นตาย (มูซา) กล่าวว่า »ทำไมท่านสังหารมนุษย์ที่มีความบริสุทธิ์สะอาด ทั้งที่ไม่มีความผิดเล่า ท่านกระทำสิ่งที่เลวร้ายอีกแล้ว«  (เคฎ) กล่าวว่า » ฉันไม่ได้บอกกับท่านดอกหรือว่า ท่านไม่อาจอดทนต่อสิ่งที่ฉันทำได้ดอก« (มูซา) กล่าวว่า »หลังจากนี้ ถ้าฉันได้ถามท่านถึงสิ่งที่ท่านทำอีก ท่านก็ไม่ต้องร่วมเดินไปกับฉันอีก เนื่องจากฉันเป็นผู้ไร้สามารถ« แล้วทั้งสองได้ร่วมเดินทางกันต่อไปอีก จนกระทั่งไปถึงหมู่ชนเกาะรียะฮฺ พวกเขาได้ขออาหารจากหมู่ชน แต่ได้รับการปฏิเสธไม่มีบุคคลใดต้อนรับทั้งสองเป็นแขก (ในสภาพนั้น) เขาทั้งสองได้พบกำแพงที่กำลังจะพังทลายลงมา (เคฎ) ได้ซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์ (มูซา) กล่าวว่า » (อย่างน้อย) ท่านก็ควรจะเรียกร้องค่าจ้างบ้างในสิ่งที่ท่านทำ« เคฎกล่าวว่า » และนี่ก็ถึงเวลาแล้ว ที่ฉันกับท่านจะแยกทางกัน แต่ในไม่ช้านี้ฉันจะบอกความลับ ในสิ่งที่ท่านไม่อาจอดทนได้ให้รับรู้, ในความเป็นจริงการที่ฉันได้เจาะเรือจนทะลุ เพราะเรือเป็นของชนกลุ่มหนึ่งที่ยากจน เขาได้ใช้เรือทำมาหากินในทะเล แต่ฉันต้องการให้เรือนั้นมีตำหนิ (เพราะอะไร) เนื่องจากเบื้องหลังพวกเขามีผู้ปกครองคนหนึ่ง (อธรรมอย่างยิ่ง) เขาจะยึดเรือที่สมบูรณ์แข็งแรงทุกลำที่พบเจอ, ส่วนเด็กหนุ่มที่ฉันสังหารไปนั้น บิดามารดาของเขาเป็นผู้มีศรัทธา และฉันก็เกรงว่าพวกเขาจะกลายเป็นผู้จองหองและปฏิเสธศรัทธา ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ให้ประทานบุตรที่ดีสะอาดบริสุทธิ์คนใหม่แก่ทั้งสอง, ส่วนการที่ฉันซ่อมแซมกำแพงให้ดีขึ้น เนื่องจากเด็กกำพร้าสองคนที่อยู่ในเมือง ซึ่งใต้กำแพงนั้นมีหีบสมบัติซึ่งเป็นของทั้งสองซ่อนอยู่ บิดาของเด็กทั้งสองเป็นคนดี และพระผู้อภิบาลของท่าน ประสงค์ให้ทั้งสองบรรลุภาวะเสียก่อน แล้วค่อยนำทรัพย์สมบัติออกมา และเหล่านี้เป็นความโปรดปรานหนึ่งจากพระผู้อภิบาล ซึ่งสิ่งที่ฉันกระทำลงไปมิได้เป็นความต้องการของฉัน และนี่คือความลับของสิ่งที่ฉันได้ทำ แต่ท่านไม่อาจอดทนได้ ฉะนั้น เราจงแยกทางกันเถิด

 


[i] กะฮฺฟิ 65, 82

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงนามของ เคฎ โดยตรง ทว่ากล่าวถึงในฐานะของบ่าวที่ดีว่า

"عَبْداً مِنْ عِبادِنا آتَيْناهُ رَحْمَةً مِنْ عِنْدِنا وَ عَلَّمْناهُ مِنْ لَدُنَّا عِلْماً"[1]

 

ซึ่งอธิบายให้เห็นถึงตำแหน่งของความเป็นบ่าวที่ดี และมีความรู้อันเฉพาะเจาะจงของเขา รายงานจำนวนมากกล่าวแนะนำถึง ชายผู้มีความรู้คนนี้ว่านามของเขาคือ “เคฎ”

เขาเป็นผู้รู้คนหนึ่งที่นับถือพระเจ้า และได้รับความเมตตาพิเศษจากพระองค์ เขาได้ล่วงรู้ความลับของระบบการสร้างโลกและสรรพสิ่ง และอีกด้านหนึ่งเขาเป็นครูของมูซา บุตรของอิมรอน แม้ว่าในแง่ต่างๆ มูซาจะมีความรู้เหนือเขาก็ตาม

จากรายงานฮะดีซและการตึความของอัลกุรอานเข้าใจได้ว่า เขามีตำแหน่งนบูวัติด้วย, และเป็นหนึ่งในศาสดาที่ถูกประทานลงมา ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแต่งตั้งเขาขึ้นยังหมู่ชนของเขา เพื่อให้เขาทำหน้าที่เชิญชวนประชาชนไปสู่การเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียว ศรัทธาต่อเราะซูล และคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ปาฏิหาริย์ของเขาคือ ทุกครั้งที่ต้องการเขาจะกล่าวว่า โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ แผ่นดินที่แห้งแล้งและไม้ที่แห้งเหี่ยวจงเขียวขจีขึ้นมา แล้วสิ่งนั้นก็เป็นจริงโดยฉับพลัน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกนามของเขาว่า เคฎ ซึ่งนามเคฎนั้นเป็นสมัญญานามของเขา ชื่อจริงของท่านคือ ตาลียา บิน มะลิกาน บิน อาบิร บิน อัรฟัค บิน ซาม บิน นูฮฺ[2]

อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงเรื่องราวของเคฎ นอกจากการร่วมเดินทางไปกับมูซา ยังทะเลทั้งสอง นอกจากนั้นยังมิได้กล่าวถึงคุณสมบัติอื่นของท่าน เว้นเสียแต่ที่กล่าวว่า “ดังนั้น การได้พบเจอบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ซึ่งเราได้มอบความเมตตากับเขา และเราได้ประสอนสั่งความรู้แก่เขา”[3]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ส่วนบ่าวผู้บริสุทธิ์ของอัลลอฮฺคนนั้นคือ เคฎ อัลลอฮฺ ทรงให้เขามีอายุยืนยาวนาน มิใช่เพื่อการประกาศสาส์นของเขา มิใช่เพื่อคัมภีร์ที่ประทานแก่เขา มิใช่เพื่อให้เขายกเลิกบทบัญญัติของศาสดาก่อนหน้า มิใช่เพื่อตำแหน่งอิมามัตเพื่อให้คนอื่นเชื่อฟังปฏิบัติตาม หรือมิใช่เพราะการเชื่อฟังเขา เนื่องจากพระองค์กำหนดให้เป็นวาญิบ,ทว่าพระผู้อภิบาลแห่งสากโลก ประสงค์ให้อายุขัยของกออิมมะฮฺดีย (อ.) ยืนยาวในช่วงเร้นกายของเขา พระองค์ทรงทราบดีว่า จะมีปวงบ่าวจำนวนมากมาย ทักท้วงเกี่ยวกับอายุขัยที่ยืนยาของเขา ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงให้อายุขัยของบ่าวผู้บริสุทธิ์ (เคฎ) ยืนยาวนาน เพื่อเป็นเหตุผลเปรียบเทียบ และเป็นข้อพิสูจน์สำหรับอายุขัยที่ยาวนานของมะฮฺดียฺ (อ.) เพื่อต้องการให้ข้อท้วงติงของเหล่าผู้ปฏิเสธโมฆะ”[4]

มิต้องสงสัยเลยว่าปัจจุบันเขายังมีชีวิตอยู่ ซึ่งยาวนานเกิน 6000 กว่าปีไปแล้ว[5]

วิถีชีวิตของศาสดาเคฎ การเดินทางไปสู่ทะเลมืด และอายุทียาวนานของท่าน เหล่านี้เป็นประเด็นที่บันไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ และมีฮะดีซมากมายที่อรรถาธิบายไว้ ท่านสามารถศึกษาได้จากหนังสืออธิบายฮะดีซ[6]

การเข้าร่วมในเหตุการณ์เฆาะดีรคุมของศาสดาเคฎ ณ แผ่นดินเฆาะดีรคุม ช่วงที่ท่านเราะซูล ซ็อลฯ) ใกล้จะวะฟาด และช่วงชะฮาดัตของท่านอิมามอะลี (อ.) ทั้งหมดถูกบันทึกอยู่ในหนังสือฮะดีซ

ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า ศาสดาเคฎได้ดื่มน้ำชีวิต จนกระทั่งมีชีวิตยืนยาวนาน และเขาจะไม่ตายจนกว่าเสียงสังข์จะถูกเป่าขึ้น เขาจะมายังพวกเรา ให้สลามพวกเรา เราได้ยินเสียงเขา แต่มองไม่เห็นเขา[7]เขาเข้าร่วมพิธีฮัจญฺ และปฏิบัติทุกขั้นตอนของฮัจญฺ เขายืนอยู่ในแผ่นดินอาเราะฟาตในวันอาเราะฟะฮฺ เพื่อกล่าว อามีน ยามที่มุอินดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงให้เขาขจัดความแปลกหน้าให้แก่กออิม (อ.) ของเรา ในช่วงที่เขาเร้นกาย และให้เขาเป็นสือเปลี่ยนแปลงความหน้ากลัวเป็น ความคุ้นเคย[8] จากรายงานฮะดีซเข้าใจได้ว่า ศาสดาเคฎ (อ.) เป็นหนึ่งใน 30 คน ที่ร่วมอยู่กับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และปฏิบัติตามคำสั่งของท่าน[9]

ศาสดาเคฎในอัลกุรอาน

ศาสดามูซา (อ.) ได้ร่วมเดินทางไปกับบุรุษผู้มีความรู้ของพระเจ้า[10] จนกระทั่งได้ลงเรือ แล้วบุรุษผู้มีความรู้นั้นได้เจาะเรือจนทะลุ

อีกด้านหนึ่งศาสดามูซาคือ ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ของพระเจ้า มีหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินและชีวิตของผู้คน กำชับความดีและห้ามปรามความชั่วร้าย อีกด้านหนึ่งสติปัญญาสมบูรณ์ของท่าน ไม่อนุญาตให้นิ่งเฉยเมื่อเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว ท่านจึงได้กล่าวทักท้วงว่า »ท่านเจาะเรือจนทะลุเพื่อต้องการให้คนที่อยู่บนเรือจมน้ำตายกระนั้นหรือ ท่านกำลังทำสิ่งที่เลวร้ายยิ่ง«

มิต้องสงสัยเลยว่า บุรุษผู้มีความรู้คนนั้นมิได้มีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้โดยสารเรือจมน้ำตาย แต่อีกด้านหนึ่งการกระทำเช่นนั้น ในทัศนะของศาสดามูซา (อ.) จะไม่มีผลลัพธ์เป็นอย่างอื่น นอกจากการจมน้ำตาย ท่านศาสดาจึงได้ทักท้วงเขา

บางรายงานกล่าวว่า ผู้โดยสารบนเรือรับรู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขาได้ช่วยกันอุดรอยรั่วด้วยสิ่งต่างๆ แต่เรือลำนั้นไม่อาจเป็นเรือที่ดีและสมบูรณ์ได้อีกต่อไป

ในเวลานั้น บุรุษผู้มีความรู้ได้จ้องมองมูซาด้วยสายตาอ่อนโยน และพูดว่า »ฉันมิได้บอกท่านหรือว่า ท่านไม่อาจอดทนต่อสิ่งที่ฉันทำได้ดอก«

ศาสดามูซา (อ.) ซึ่งได้เอ่ยปากถามออกไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่ง ท่านสำนึกและคิดถึงข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้ จึงได้กล่าวขออภัยต่อครูของตน โดยกล่าวว่า ฉันลืมไป อย่าได้ตำหนิฉันเลย อย่าได้ปฏิบัติกับฉันรุนแรงนัก« หมายถึงมันเป็นความผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตามด้วยเกียรติของท่าน โปรดอย่าใส่ใจต่อสิ่งที่ฉันท้วงติง

การเดินทางโดยเรือของทั้งสองสิ้นสุดลง และทั้งสองได้ขึ้นจากเรือ และเดินทางร่วมกันต่อไป ระหว่างทางทั้งสองได้พบเด็กคนหนึ่ง แต่บุรุษผู้มีความรู้ไม่ได้รีรอเขาได้สังหารเด็กคนนั้นทันที

ตรงนี้ศาสดามูซา (อ.) ได้เอ่ยปากถามอีกว่า »ทำไมท่านสังหารมนุษย์ที่มีความบริสุทธิ์สะอาด ทั้งที่ไม่มีความผิดเล่า ท่านกระทำสิ่งที่เลวร้ายอีกแล้ว«

บุรุษผู้มีความรู้ได้มองมูซา อย่างใจเย็นและกล่าวประโยคเดิมออกมาว่า »ฉันมิได้บอกท่านหรือว่า ท่านไม่อาจอดทนต่อสิ่งที่ฉันทำได้ดอก«

มูซา (อ.) นึกขึ้นได้และรู้สึกอายว่า ทำไมตนถึงผิดสัญญาอีก แม้ว่าจะเกิดจากความหลงลืมก็คาม แต่ก็ครุ่นคิดว่าบางที่คำพูดของครูอาจเป็นจริง เนื่องจากสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปนั้น เกินกว่ามูซาจะอดทนได้ มูซาจึงได้เอ่ยปากกล่าวขอโทษอีกครั้งหนึ่งว่า ขอให้ท่านอภัยให้ฉันอีกครั้งเถิด อย่าใส่ใจต่อความหลงลืมของฉันเลย แต่หลังจากนี้ ถ้าฉันทักท้วงหรือขอคำอธิบายในสิ่งที่ท่านทำอีกละก็ ท่านไม่ต้องให้ฉันร่วมทางไปกับท่านอีก เนื่องจากฉันไร้ความสามารถในความอดทน

หลังจากได้พูดตกลงกันอีกครั้ง และได้ให้สัญญาใหม่ มูซาก็ได้ร่วมเดินทางไปกับครูของเขาอีกครั้ง จนกระทั่งไปถึงเมืองหนึ่ง และทั้งสองได้ขออาหารจากชาวเมือง แต่พวกเขาได้หลีกเลี่ยงการต้อนรับทั้งสองในฐานะแขกที่เดินทางไกลมา ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามูซาและเคฎมิใช่คนที่ต้องการรบกวนคนอื่น ทำให้รู้ว่าทั้งสองมีเสบียงสำหรับการเดินทาง แต่อาจจะหมดระหว่างทาง หรือไม่ก็บูด ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองจึงปรารถนาจะเป็นแขกของชาวเมือง หรือไม่ก็อาจเป็นไปได้ที่ว่าบุรุษผู้มีความรู้นั้น ตั้งใจขออาหารจากชาวเมือง เพื่อให้บทเรียนใหม่แก่มูซา (อ.)

หลังจากนั้น อัลกุรอานได้เสริมว่า ในสภาพนั้นทั้งสองได้พบกำแพงหนึ่งในเมืองที่กำลังจะพังพาบ บุรุษผู้มีความรู้นั้นได้ซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์อีกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้พังพาบลงมา

มูซา (อ.) ในสถานการณ์เช่นนั้นคงจะทั้งเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และหิวเป็นที่สุด และสำคัญไปกว่านั้นท่านคิดว่าบุคคลที่มีเกียรติเช่นท่านและครู ต้องลำบากตรากตรำเพราะการกระทำอันไม่สมควรของชาวเมือง อีกด้านหนึ่งท่านได้เห็นว่า เคฎ นิ่งเงียบมิได้ตอบโต้พฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของประชาชน ท่านได้ซ่อมแซมกำแพงจนเสร็จโดยมิได้เอ่ยปากขอค่าจ้างหรือรางวัลแต่อย่างใด เพราะอย่างน้อยจะได้นำเงินค่าจ้างไปซื้ออาหารมารับประทาน

ด้วยเหตุนี้ ท่านได้ลืมตัวเอ่ยปากถามครูอย่างหลงลืมข้อตกลง และทักท้วงเขาด้วยคำพูดที่อ่อนโยนกว่าครั้งที่แล้ว กล่าวว่า ท่านต้องการค่าจ้างสำหรับงานนี้ไหม

ตรงนี้เองที่บุรุษผู้มีความรู้ได้เอ่ยคำพูดสุดท้ายกับมูซา เนื่องจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาเขามั่นใจว่า มูซาไม่อาจอดทนได้กับสิ่งที่เขากระทำ จึงกล่าวขึ้นว่า และนี่ถึงเวลาที่เราต้องแยกทางกันแล้วระหว่างท่านกับเรา แต่ในไม่ช้านี้ฉันจะบอกความลับ ในสิ่งที่ท่านไม่อาจอดทนได้ให้รับรู้ การแยกจากครูผู้มากด้วยความรู้เป็นเรื่องลำบากใจมาก และเป็นความจริงที่ขมขื่น อย่างไรก็ตามมูซาต้องยอมรับในข้อตกลงนั้น

นักตัฟซีรที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งนามว่า อบุลฟุตูฮฺ รอซียฺ กล่าวว่า รายงานหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาได้ถามมูซาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ยากลำบากที่สุดในช่วงยุคของท่านคืออะไร กล่าวว่า ฉันได้เห็นความยากลำบากมามาก (ชี้ให้เห็นช่วงวิกฤติสมัยฟาโรห์ และอุปสรรคนานัปการ ความแห้งแล้งในยุคสมัยของบนีอิสราเอล แต่ทั้งหมดเหล่านี้ไม่มีสิ่งใดยากลำบากเกินกว่า คำพูดของเคฎที่ให้ฉันแยกทางกับเขา มันมีผลต่อจิตใจอย่างรุนแรง[11]

หลังจากได้แยกทางกันระหว่างมูซากับเคฎ เป็นความจำเป็นสำหรับเคฎที่ต้องบอกความลับที่มูซาไม่สามารถทนได้ แก่มูซา และในที่สุดแล้วหลังจากการพูดคุยกับเขา มูซาเข้าใจความลับทั้งสามเหตุการณ์ที่ประหลาด ซึ่งพอเป็นกุญแจสำหรับปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย และเป็นคำตอบสำหรับต่างๆ อีกมากมาย

ความลับของเหตุการณ์:

หนึ่ง เรื่องราวการเจาะเรือ กล่าวว่า : ในความเป็นจริงการที่ฉันได้เจาะเรือจนทะลุ เพราะเรือเป็นของชนกลุ่มหนึ่งที่ยากจน เขาได้ใช้เรือทำมาหากินในทะเล แต่ฉันต้องการให้เรือนั้นมีตำหนิ (เพราะอะไร) เนื่องจากเบื้องหลังพวกเขามีผู้ปกครองคนหนึ่ง (อธรรมอย่างยิ่ง) เขาจะยึดเรือที่สมบูรณ์แข็งแรงทุกลำที่พบเจอ,

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้รู้ถึงเป้าหมายของการเจาะเรือว่าคืออะไร เป้าหมายที่สำคัญคือการช่วยเหลือพวกเขาให้รอดพ้นจาก ความอธรรมของผู้ปกครองคนหนึ่งที่ชอบปล้นสะดม เนื่องจากเขาเห็นว่าเรือที่มีตำหนิไม่เหมาะสมกับงานของเขา และเขาจะไม่สนใจ สรุปการกระทำเช่นนั้นก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา ซึ่งจำเป็นต้องทำ

หลังจากนั้นเคฎได้อธิบายความลับที่สองว่า :

ส่วนเด็กหนุ่มที่ฉันสังหารไปนั้น บิดามารดาของเขาเป็นผู้มีศรัทธา และฉันก็เกรงว่าพวกเขาจะกลายเป็นผู้จองหองและปฏิเสธศรัทธา ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ให้ประทานบุตรที่ดีสะอาดบริสุทธิ์คนใหม่แก่ทั้งสอง

เคฎ ได้สังหารเด็กหนุ่มก็เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่ดีทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต่อบิดามารดาผู้มีอีมานของเขา ฉะนั้น เขาจึงได้ยุติเหตุการณ์ดังกล่าวไว้

รายงานสองสามฮะดีซในแหล่งอ้างอิงต่างๆ กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ ได้แทนที่เด็กหนุ่มคนนั้น ด้วยเด็กสาวคนหนึ่ง ซึ่งมีศาสดา 70 คน ได้สืบสายตระกูลมาจากเธอ”[12]

ส่วนโองการสุดท้ายที่กล่าวถึงคือ เคฎ ได้ดำเนินภารกิจของตนต่อไปด้วยการซ่อมกำแพงจนเสร็จสมบูรณ์ โดยกล่าว่า : ส่วนการที่ฉันซ่อมแซมกำแพงให้ดีขึ้น เนื่องจากเด็กกำพร้าสองคนที่อยู่ในเมือง ซึ่งใต้กำแพงนั้นมีหีบสมบัติซึ่งเป็นของทั้งสองซ่อนอยู่ บิดาของเด็กทั้งสองเป็นคนดี และพระผู้อภิบาลของท่าน ประสงค์ให้ทั้งสองบรรลุภาวะเสียก่อน แล้วค่อยนำทรัพย์สมบัติออกมา” ซึ่งฉันมีหน้าที่สร้างกำแพงปกป้องทรัพย์สิน เนื่องจากบิดามารดาของเด็กทั้งสองเป็นคนดี ถ้ากำแพงพังพาบลงมาแล้วทรัพย์สินได้ปรากฏออกมา อันตรายจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

สุดท้าย ความสงสัยคลางแคลงใจได้หมดไปจากมูซา แต่เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่กระทำลงไปนั้น เป็นไปตามแผนการ และเป็นหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมายมาโดยเฉพาะ จึงเพิ่มเติมว่า “ฉันไม่ได้กระทำงานนี้ตามอำเภอใจของฉัน ทว่าฉันได้กระทำไปตามคำบัญชาของพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก”

ใช่ นี่คือความลับของสิ่งที่เคฎได้กระทำ อันเป็นเหตุให้มูซาไม่สามารถอดทนได้ต่อสิ่งนั้น

เรื่องเล่าอุปโลกน์

เรื่องราวของมูซาและเคฎ มีพื้นฐานที่มาตามอัลกุรอานกล่าวไว้ แต่น่าเสียดายว่ารอบๆ นั้นมีเรื่องเล่าที่อุปโลกน์ขึ้นมากมาย บางครั้งเรื่องเล่าเหล่านั้นได้เพิ่มเติมให้เกิดความเสียหาย และเบี่ยงเบนไปจากความจริง จำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มิใช่เพียงแค่รู้เรื่องว่าเรื่องราวเบี่ยงเบนไปแล้วเท่านั้น แต่จำเป็นต้องนำเสนอเรื่องราวตามจริงเพื่อแก้ไขด้วย

สำหรับการรับรู้เรื่องราวที่เป็นจริงนั้น จำเป็นต้องนำเอาอัลกุรอานมาเป็นมาตรฐานในการศึกษา[13] หรือแม้แต่ฮะดีซในกรณีที่สามารถยอมรับได้ต้องตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น ถ้าฮะดีซที่ขัดแย้งกับความจริงก็ไม่เป็นที่ยอมรับแน่นอน[14]

ศึกษาเรื่องราวของศาสดาเคฎเพิ่มเติมได้จาก :

1.มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 6, ตอนอธิบายโองการ 65 และ 85

2.นูร อัษษะเกาะลัยนฺ เล่ม 3, ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

3.อัลมีซาน เล่ม 13, ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

4.ดุรุลมันซูร และหนังสืออื่นๆ ที่อธิบายโองการดังกล่าว

 


[1] กะฮฺฟิ 65, 82

[2] ตัฟซีรอัลมีซาน ฉบับแปลฟาร์ซี เล่ม 13, หน้า 584

[3] อ้างแล้วเล่มเดิม

[4] กะมาลุดดีน,เล่ม 3, หน้า 357, บิฮารุลอันวาร เล่ม 51, หน้า 222

[5] เยามุลเคาะลาซ หน้า 157

[6]บิฮารุลอันวาร เล่ม 12, หน้า 172, 215, เล่ม 13, หน้า 278-322

[7] อย่างไรก็ตามมีรายงานที่บ่งชี้ว่า บรรดาอิมาม (อ.) เห็นศาสดาเคฎ เช่น รายงานที่บันทึกอยู่ในหนังสือ กะมาลุดดีน เล่ม 2 หน้า 390, บิฮารุลอันวาร เล่ม 13, หน้า 299. ที่กล่าวว่า لَمَّا قُبِضَ رَسُولُ اللَّهِ (ص) جَاءَ الْخَضِرُ فَوَقَفَ عَلَى بَابِ الْبَيْتِ وَ فِيهِ عَلِيٌّ وَ فَاطِمَةُ وَ الْحَسَنُ وَ الْحُسَيْنُ (عَ)؛

เมื่อท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ใกล้เสียชีวิต เคฎได้มายังท่าน เขายืนหยุดที่ประตูบ้าน ซึ่งขณะนั้นในบ้านมีท่านอะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุซัยนฺ (อ.)

[8] กะมาลุดดีน เล่ม 2 หน้า 390, บิฮารุลอันวาร เล่ม 13, หน้า 299

[9]ฆัยบะฮฺ นุอฺมานียฺ, หน้า 99, บิฮารุลอันวาร เล่ม 52, หน้า 158.

[10] บทความนี้ถ้ากล่าวถึง บุรุษผู้มีความรู้ของพระเจ้า หรือบุรุษผู้มีความรู้ จุดประสงค์คือ ศาสดาเคฎ

[11] ตัฟซีรอบุลฟะตูฮฺ รอซียฺ ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[12] นูร อัษษะเกาะลัยนฺ เล่ม 3, หน้า 286-287

[13] บทกะอฺฟิ 62,82

[14] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 12, หน้า 486,เป็นต้นไป,ตัฟซีรมีซาน เล่ม 13, ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17841 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5863 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11495 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6390 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14676 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9559 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6315 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10427 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11184 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60187 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57647 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42264 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28056 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27879 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25864 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...