Please Wait
18940
พื้นฐานแนวคิดหลักของชีอะฮฺและวิชาการทั้งหมดของชีอะฮฺได้รับจากอัลกุรอาน
อัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นความหมายภายนอกโองการ หรือภายใน,หรือแม้แต่การนิ่งเฉยหรือการแสดงออกของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผลทั้งสิ้นและผลของสิ่งเหล่านี้,คำพูด การนิ่งเฉย และการกระทำของอิมาม (อ.) ก็เป็นเหตุผลด้วย
นอกจากอัลกุรอานแล้ว ยังถือว่าการพิสูจน์ด้วยสติปัญญาก็เป็นเหตุผลด้วยเหมือนกัน ซึ่งการค้นคว้าได้รับการสนับสนุนและเน้นย้ำไว้อย่างยิ่ง
แนวทางในการได้รับแนวคิดเช่นนี้สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระเจ้าผู้ทรงสูงส่ง อาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์บริสุทธิ์จากความบกพร่อง และคุณลักษณะไม่สมบูรณ์ต่างๆ,พระองค์พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะสมบูรณ์ทั้งหลายทั้งปวง
2. มีความเชื่อในเรื่องความดีและความชั่วของภูมิปัญญา กล่าวคือภูมิปัญญารับรู้ว่าพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากกระทำสิ่งชั่วร้าย
3. มีความเชื่อในเรื่องความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และบรมศาสดาท่านสุดท้าย
4. มีความเชื่อว่าการแต่งตั้งและการกำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องมาจากพระเจ้าเท่านั้น โดยผ่านศาสดาหรืออิมามคนก่อนหน้านั้น จำนวนตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มี 12 คน บุคคลแรกจากพวกเขาคือ ท่านอิมามอะลี บุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ส่วนคนสุดท้ายจากพวกเขาคือท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่รอคอยพระบัญชาจากพระเจ้าให้ปรากฏกายออกมา
5. มีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย การได้รับรางวัลตอบแทนและการลงโทษในการกระทำ
คำตอบโดยละเอียดสำหรับคำถามนี้จำเป็นต้องเขียนหนังสือหลายเล่มทีเดียวจึงจะสมบูรณ์, แต่จะขอตอบสั้นๆ เป็นประเด็นดังนี้ :
1.แหล่งอ้างอิงหนึ่งเดียวที่ชีอะฮฺได้ยึดถือเพื่อค้นคว้าวิชาการ
แหล่งอ้างอิงหนึ่งเดียวของมัซฮับชีอะฮฺที่ใช้อ้างอิง และค้นคว้าทางวิชาการคือ “อัลกุรอาน” อัลกุรอานถือว่าเป็นหลักฐานแน่นอนของนบูวัตและทุกสิ่งตลอดไปของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานคือการเชิญชวนสู่อิสลาม แน่นอน การกล่าวว่าอัลกุรอานคือแหล่งอ้างอิงเพียงประการเดียว มิได้หมายความถึงการปฏิเสธข้อพิสูจน์อย่างอื่น หรือแหล่งอ้างอิงอื่น ทว่าจะอธิบายต่อไปว่า อัลกุรอานคือตัวอธิบายแหล่งอ้างอิงอื่น
2. แนวทางต่างๆ ได้ถูกนำเสนอแล้วโดยอัลกุรอาน เพื่อแนวคิดของมัซฮับ
อัลกุรอาน ตามคำสอนของตนได้วางแนวทางไว้ 3 แนว เพื่อให้ศาสนิกยังความเข้าใจในเป้าหมายของศาสนา และวิชาการต่างๆ ของอิสลาม
ก) ภายนอก