การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7233
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2573 รหัสสำเนา 16841
คำถามอย่างย่อ
อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
คำถาม
คุณมีทัศนะอย่างไรต่อคำพูดที่อ้างถึงอิมามโคมัยนีที่ว่า "อัลลอฮ์มิได้สร้างมนุษย์มาเพื่อการละเล่น เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อทดสอบมนุษย์ด้วยความยากลำบาก อุปสรรค และศาสนกิจ, ระบอบอิสลามจะต้องจริงจังในทุกด้าน, การหยอกล้อไม่มีความหมายในทัศนะอิสลาม, ผู้ที่จริงจังจะต้องไม่หยอกล้อกัน, อิสลามไม่อนุญาตให้ว่ายน้ำในทะเล, อิสลามคัดค้านการเสพสื่อไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หรือการรับชมละครทีวี, อิสลามอนุญาตให้เล่นกีฬายิงธนู ขี่ม้า หรือแข่งขันม้าเท่านั้น ฯลฯ
อยากทราบว่าคำพูดเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่? อิสลามสอนเช่นนี้หรือ?
คำตอบโดยสังเขป

เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการ เพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุด ดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่า การสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าว ซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์

เพื่อการนี้ อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ ดังที่อิมามอลี(.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา : ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลก ส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์ โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]
อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้อง ไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเล ซ้ำบรรดาอิมาม(.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติ ท่านนบี(..)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุข

ท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขต ท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้อง ท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์ บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วย แต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้ โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรม
อย่างไรก็ดี การที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้น จำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนี หรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์ นู้ร ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)
http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm



[i] ซูเราะฮ์ อัซซาริยาต,56 " و ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلاَّ لِیَعْبُدُونِ"

[ii] یَا بُنَیَّ لِلْمُؤْمِنِ ثَلَاثُ سَاعَاتٍ سَاعَةٌ یُنَاجِی فِیهَا رَبَّهُ وَ سَاعَةٌ یُحَاسِبُ فِیهَا نَفْسَهُ وَ سَاعَةٌ یَخْلُو فِیهَا بَیْنَ نَفْسِهِ وَ لَذَّتِهَا فِیمَا یَحِلُّ وَ یُحْمَدُ وَ لَیْسَ لِلْمُؤْمِنِ بُدٌّ مِنْ أَنْ یَکُونَ شَاخِصاً فِی ثَلَاثٍ مَرَمَّةٍ لِمَعَاشٍ أَوْ خُطْوَةٍ لِمَعَادٍ أَوْ لَذَّةٍ فِی غَیْرِ مُحَرَّمٍ

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจทัศนะของอิสลามเกี่ยวกับเป้าหมายของการสร้างมนุษย์ ประเด็นการใช้ประโยชน์จากทัศนียภาพธรรมชาติเช่นป่าเขาลำเนาไพร และประเด็นการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อเสียก่อน แล้วจึงนำเสนอโอวาทของท่านอิมามโคมัยนีเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ แล้วจะทราบว่าสิ่งที่อิสลามสอนมิได้แตกต่างจากโอวาทของอิมามโคมัยนีเลยแม้แต่น้อย 

กุรอานในฐานะที่เป็นแหล่งอ้างอิงของอิสลาม ได้กล่าวถึงการสรรสร้างมนุษย์ว่า ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อสักการะภักดีต่อข้า" (เพื่อพัฒนาตนเองให้ใกล้ชิดพระองค์)[1] ฉะนั้น เมื่อพิจารณาเพียงเล็กน้อยก็สามารถได้สรุปว่า เป้าหมายหลักของการสร้างมนุษย์คือการสักการะภักดีพระองค์ (เพื่อให้บรรลุจุดสูงสุดของมนุษย์) เป้าหมายอื่นๆอาทิเช่น ความรู้ การทดสอบ ฯลฯ ล้วนเป็นช่องทางสู่การสักการะภักดีพรองค์ โดยที่การภักดีนี้จะนำสู่กรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระองค์[2] ท่านอิมามโคมัยนีเองก็กล่าวไว้ว่าเป้าหมายของอิสลามก็คือการนำทางมนุษย์ เราท่านทั้งหลายถูกสร้างขึ้นเพื่อพุ่งผงาดจากแดนดินสู่ฟากฟ้า และนี่คือเป้าหมายของการสถาปนาและการคงอยู่ของรัฐอิสลามที่รณรงค์ให้ประชาชนภักดีต่อพระองค์[3]

อิสลามมีคำแนะนำเกี่ยวกับการหยอกล้อ อาทิเช่น ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวไว้ว่า ไม่มีผู้ศรัทธาผู้ใดที่ปราศจาก "ดิอาบะฮ์"ในชีวิตประจำวัน นักรายงานถามท่านว่า" ดิอาบะฮ์"คืออะไรหรือ? ท่านตอบว่า "การหยอกล้อ" [4]
ตำราประมวลฮะดีษของเราล้วนรายงานฮะดีษมากมายที่มีเนื้อหารณรงค์ให้หยอกล้อกัน[5]
ยูนุส ชัยบานี รายงานว่า วันหนึ่งท่านอิมามศอดิก(.)ได้เอ่ยถามฉันว่า เธอหยอกล้อกับผู้อื่นบ้างหรือไม่? " ฉันตอบว่า "ค่อนข้างน้อยขอรับ" ท่านกล่าวด้วยน้ำเสียงจริงจังว่า "เหตุใดจึงไม่หยอกล้อกับผู้อื่นเล่า การหยอกล้อเป็นส่วนหนึ่งของอัธยาศัยที่ดี" และท่านยังเสริมว่า "ท่านนบี(..)ก็เคยหยอกล้อกับบุคคลต่างๆเพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุข"[6]

เมื่อพิจารณาถึงการหยอกล้อของท่านนบี(..)จะทราบว่า แม้ท่านจะมีอัธยาศัยที่ดีและหยอกล้อกับผู้อื่นอย่างเป็นกันเอง แต่ท่านไม่เคยใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง การหยอกล้อของท่านปราศจากเรื่องไร้สาระ ดังที่ท่านกล่าวว่า "แม้ฉันจะหยอกล้อ แต่จะไม่กล่าวคำพูดใดนอกจากข้อเท็จจริง"[7] ประโยคนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านนบี(..)ก็หยอกล้อเช่นกัน แต่มีขอบเขตที่ชัดเจน

ส่วนคำพูดของอิมามโคมัยนีที่ว่า "อิสลามไม่ล้อเล่น"[8]นั้น ไม่ได้หมายความว่าอิสลามคัดค้านการหยอกล้อ แต่ต้องการสื่อว่าอิสลามจะต้องได้รับการตีแผ่อย่างชัดเจนและจริงจัง สังเกตุได้จากประโยคต่อมาที่ว่า "...อิสลามจริงจังในทุกเรื่อง ไม่มีเรื่องไร้สาระไม่ว่าจะในเชิงวัตถุหรือจิตใจ อิสลามต้องการจะสร้างนักต่อสู้ มิไช่คนที่ใช้ชีวิตเสเพลไปวันๆ" [9] ซึ่งแน่นอนว่าโอวาทนี้ไม่ได้สื่อว่าจะต้องห้ามมิให้บุคคลหยอกล้อกันโดยสิ้นเชิงแม้ในเวลาว่าง (หลังเลิกงานหรือหลังเวลาเรียน ฯลฯ) สังเกตุได้จากการที่ท่านไม่เคยระบุว่าอิสลามห้ามไม่ให้หยอกล้ออย่างมีขอบเขต เนื่องจากอิสลามมีคำสอนเกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อตามอัธยาศัย
ท่านอิมามอลี(.)กล่าวแก่บุตรของท่านว่า "ผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์และการวิงวอนพระองค์ ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลก ส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและไม่ขัดต่อหลักศาสนา"[10] น่าสนใจที่มีฮะดีษอื่นๆกล่าวเพิ่มเติมว่าส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น
อย่างไรก็ดี เงื่อนไขหลักของการหยอกล้อก็คือ จะต้องไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา เพราะหากไม่เป็นเช่นนี้ก็ย่อมจะก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ซึ่งอาจจะทำลายสุขภาพจิตของผู้ฟังจนไม่มีสมาธิที่จะทำงานทำการได้อีกต่อไป

ต้องเรียนว่าในทัศนะอิสลาม การพักผ่อนหย่อนใจมีความสำคัญถึงขั้นที่มีการแข่งขันให้ท่านนบี(..)ชม บางครั้งท่านเป็นผู้ตัดสินการแข่งขัน[11] อิมามโคมัยนีก็เคยให้โอวาทและระบุไว้ในหนังสือประมวลปัญหาศาสนาของท่านว่า การเดินทางท่องไปในดินแดนต่างๆถือเป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่เหมาะสม ท่านระบุว่า "หากผู้ใดออกเดินทางเพียงต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ก็ไม่ถือเป็นสิ่งต้องห้ามแต่อย่างใด การพักผ่อนหย่อนใจจะต้องถูกทำนองคลองธรรม"[12] ท่านกล่าวเสริมอีกว่า"ฉันไม่เคยห้ามมิให้พักผ่อนหย่อนใจ ไม่เคยสั่งให้หมกมุ่นอยู่กับงานตลอดเวลา เพียงแต่ฉันต้องการให้คนหนุ่มสาวจัดระเบียบเวลาของตนเองเท่านั้น"[13]

ส่วนประเด็นรายการโทรทัศน์และวิทยุ ท่านกล่าวว่า "โทรทัศน์มีความอ่อนไหวมากที่สุดในกลุ่มเครื่องมือสำหรับเผยแพร่เนื้อหา ฉะนั้นจึงต้องให้แง่คิดและเปี่ยมด้วยศีลธรรม และจะต้องรับใช้อิสลาม ซึ่งมิได้หมายความว่าฉันห้ามมิให้รับชมโทรทัศน์"[14]

ส่วนประเด็นการว่ายน้ำทะเล นอกจากอิสลามจะไม่ห้ามปรามแล้ว ยังรณรงค์ให้มุสลิมสอนบุตรหลานให้ว่ายน้ำ ยิงธนู และขี่ม้า[15] แต่ก็ต้องคำนึงว่าการเล่นกีฬาเหล่านี้จะต้องไม่ปะปนกับสิ่งที่ขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา ด้วยเหตุนี้ท่านอิมามโคมัยนีจึงไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของบุคคลบางกลุ่มที่ทำกิจกรรมสรวลเสเฮฮา ดื่มเหล้าเคล้านารีริมชายทะเล[16]

สรุปสั้นๆก็คือ อิสลามไม่สนับสนุนให้ปิดกั้นตนเองอย่างสุดโต่ง ดังที่มีฮะดีษระบุว่า ไม่มีลัทธิปลีกสันโดษในอิสลาม และจากการศึกษาคำสอนในกุรอานและฮะดีษ ทำให้เราทราบว่าอิสลามเพียบพร้อมไปด้วยคำสอนที่ลงตัวสำหรับทุกช่วงโอกาสในชีวิตไม่เว้นกระทั่งกิจกรรมทางโลก อาทิเช่นการใช้ประโยชน์จากลาภอันประเสริฐ การหยอกล้อ และการพักผ่อนหย่อนใจตามอัธยาศัย

และเช่นกัน เมื่อพิจารณาโอวาทของอิมามโคมัยนีอย่างถ่องแท้จะพบว่า ท่านไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจ การหยอกล้อ และความบันเทิงที่ถูกหลักศาสนา ตลอดจนการใช้สอยลาภอันประเสริฐที่อัลลอฮ์ประทานให้
ท้ายนี้ ขอแนะนำว่าหากผู้ใดประสงค์จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนี ควรต้องศึกษาจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีเท่านั้น หรืออาจศึกษาจากหนังสือชุด "เศาะฮีฟะฮ์ นู้ร" ซึ่งลงไว้ในลิ้งก์ด้านล่างนี้ (ภาษาเปอร์เซีย)
http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm



[1] ซูเราะฮ์ อัซซาริยาต, 56

[2] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ฉบับย่อ,อะห์มัดอลี บอบออี,เล่ม4 ,หน้า 533, และ อัลมีซานฉบับแปล(ฟารซี),เล่ม18 ,หน้า 583

[3] ญิฮาด อักบัร, อิมามโคมัยนี, อารัมภบท

[4] อุศูลุลกาฟี,เชคกุลัยนี,เล่ม3 ,หน้า 664.

[5] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เชคฮุร อามิลี, เล่ม 12, หน้า 112, หมวดอิสติห์บ้าบให้หยอกล้อและขำขัน

[6] อ้างแล้ว,เล่ม 12,หน้า 114, ฮะดีษที่ 15794 , และ สุนะนุ้นนบี,อัลลามะฮ์ ฎอบาฎอบาอี,หน้า 60

[7] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 16,หน้า 117

[8] เศาะฮีฟะฮ์ นู้ร,อิมามโคมัยนี,เล่ม 9,หน้า 455

[9] อ้างแล้ว

[10] ตัฟซี้รออซอน,นะญะฟี โคมัยนี,เล่ม 8,หน้า 70 และ มีซานุ้ลฮิกมะฮ์,เล่ม 10,หน้า 376-380

[11] อ้างแล้ว, หน้า 71

[12] เศาะฮีฟะฮ์ นู้ร, เล่ม 1, หน้า 395, และ ประมวลปัญหาศาสนา,ปัญหาที่1300

[13] อ้างแล้ว, เล่ม 3,หน้า218

[14] อ้างแล้ว, เล่ม 8,หน้า 496

[15] กันซุ้ลอุมม้าล,ฮะดีษที่ 45342

[16] เศาะฮีฟะฮ์ นู้ร,เล่ม 15,หน้า 178

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    7087 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    8348 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    10046 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    9048 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    9814 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
    8788 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆแล้วจะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบันซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมาซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคนตามความเชื่อความประพฤติ
  • วิธีตอบรับสลามขณะนมาซควรทำอย่างไร?
    11920 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ขณะนมาซ, จะต้องไม่ให้สลามบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลอื่นได้กล่าวสลามแก่เขา, เขาจะต้องตอบในลักษณะที่ว่ามีคำว่า สลาม ขึ้นหน้า, เช่น กล่าวว่า »อัสลามุอะลัยกุม« หรือ »สลามุน อะลัยกุม« ซึ่งจะต้องไม่ตอบว่า »วะอะลัยกุมสลาม«[1] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ, คนเราต้องตอบรับสลามอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะอยู่ในนมาซหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าลืมหรือตั้งใจไม่ตอบรับสลามโดยทิ้งช่วงให้ล่าช้านานออกไป, และไม่นับว่าเป็นการตอบรับสลามอีกต่อไป, ขณะนมาซไม่จำเป็นต้องตอบ และถ้านอกเวลานมาซไม่วาญิบต้องตอบรับสลามอีก[2] [1] ...
  • จงอธิบายทฤษฎีของพหุนิยมทางศาสนาและการตีความที่แตกต่างกันของศาสนา และระบุความแตกต่างของพวกเขา?
    18486 เทววิทยาใหม่ 2555/04/07
    1.พหุนิยมหมายถึง ความมากมายในหลายชนิด ทั้งในทางปรัชญาของศาสนา, ปรัชญาจริยธรรม, กฎหมาย และการเมืองและว่า ... ซึ่งทั้งหมดมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งการรับรู้ทั้งหมดเหล่านี้อย่างเป็นทางการในนามของการรู้จักในความหลากหลาย ในทางตรงกันข้ามกับความเป็นหนึ่งเดียว หรือความจำกัดในความเป็นหนึ่งเดียว พหุนิยมทางศาสนา หมายถึงการไม่ผูกขาดความถูกต้องไว้ในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเฉพาะพิเศษ การได้รับผลประโยชน์ของทุกศาสนาจากความจริงและการช่วยเหลือให้รอด 2. พหุนิยม อาจได้รับการพิจารณาในหมู่ศาสนาต่างๆ หรือระหว่างนิกายต่างๆ ในศาสนาที่มีอยู่ก็ได้ 3. ในความคิดของเราชาวมุสลิมทั้งหลาย พหุนิยมถูกปฏิเสธก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ในศาสนาอิสลามมีเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุความถูกต้องของศาสนาอิสลาม ในลักษณะที่ว่าในศาสนาอื่น ๆ ไม่มีเหตุผลที่ถูกต้องพอเหมือนกับศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ คัมภีร์แห่งฟากฟ้า (อัลกุรอาน) ยังไม่มีการบิดเบือนหรือสังคายนาใดๆ ทั้งสิ้น และความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามก็เท่ากับว่าได้ยกเลิกคำสอนของศาสนาอื่นไปโดยปริยาย 4. การตีความที่แตกต่างกันของศาสนา ซึ่งหนึ่งในหลักการพื้นฐานของสิ่งนั้นคือ อรรถปริวรรตศาสตร์ และอีกประการหนึ่งคือการรู้จักต่างๆ ในศาสนาและการวิจัย ...
  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    7192 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]
  • ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
    9506 دین و فرهنگ 2555/09/29
    ศาสนา,เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์,มาจากพระเจ้า ซึ่งในนั้นจะไม่มีทางผิดพลาด และไม่มีผลกระทบอันเสียหายอย่างแน่นอน, การยอมรับความผิดพลาดและการกระทำผิด เกี่ยวข้องกับภารกิจของมนุษย์ แน่นอนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรู้จักผลกระทบของศาสนา และการตื่นตัวของผู้มีศาสนา สิ่งเหล่านี้จะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา, ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา ความเสียหายและผลกระทบต่อศาสนา มีรายละเอียดแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา เป็นความเสียหายที่มีผลกระทบ ต่อความศรัทธาของบุคคลที่นับถือศาสนา หรือผู้มีความสำรวมตน ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้เองจะอยู่ในระดับของการรู้จักทางศาสนา (ความเสียหายทางศาสนาและการศึกษา) บางครั้งก็อยู่ในระดับของการปฏิบัติบทบัญญัติและคำสั่งของศาสนา การรักษาบทบัญญัติ บทลงโทษ และสิทธิ ซึ่งศาสนาได้กำหนดเป็นข้อบังคับให้รักพึงระมัดระวังต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และเกียรติยศ อีกกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา จะอยู่ในปัญหาด้านสังคมทางศาสนา เช่น ความบิดเบือน การอุปโลกน์ และการกระทำตามความนิยมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย และเป็นความกดดันต่อการระวังรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และการขยายศาสนาให้กว้างขวางออกไป ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60336 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57884 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42437 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39699 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39099 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34192 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28225 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28165 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28095 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26044 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...