Please Wait
9821
ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์
บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด
คำตอบชัดเจนสำหรับคำถามข้างต้นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
1.เตาฎีฮุลมะซาอิลบรรดามัรญิอฺ[1] ซึ่งบันทึกคำวินิจฉัยของมัรญิอฺไว้ 12 ท่าน กล่าวว่า กรณีปลามีเกล็ด ต้องจับขึ้นจากน้ำขณะยังเป็นอยู่ และปล่อยให้ตายบนบก จึงจะถือว่าสะอาด, สามารถรับประทานได้, ทำนองเดียวกันถ้าตายในน้ำก็ถือว่าสะอาด แต่ถ้ากินเป็นฮะรอม (ไม่อนุญาตให้รับประทาน) ส่วนปลาไม่มีเกล็ดแม้ว่าจะจับมาขณะยังเป็นอยู่ และตายบนบกก็ตาม แต่ก็ไม่อนุญาตให้รับประทาน เป็นฮะรอม
2. เกล็ดละเอียดหรือเกล็ดหยาบบนผิวหนังปลา ต้องสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยไม่ต้องใช้กล้อง ถือว่าเป็นเกล็ดปลา
3.การที่กล่าวว่า ปลามีเกล็ด หมายถึง ก: เกล็ดต้องเป็นสิ่งถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับปลา แม้ว่าจะไม่มีอยู่ตลอดก็ตาม. ข : เกล็ดต้องมีอยู่ตรงบริเวณหัวหรือหางปลาไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม, เล็กหรือใหญ่, แข็งหรืออ่อน, เกล็ดหลุดเพราะติดอวน หรือเพราะถูกประมงจับ ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นปลามีเกล็ด
4.วิธีจำแนกคือ บุคคลนั้นต้องรู้จักปลา, หรือมีคนอาดิล 2 คนยืนยัน, หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาได้ยืนยันว่า ปลามีเกล็ด
5. กรณีที่ปลาสเตอร์เจียน คาเวียร์, ไม่มีเกล็ดเลยแม้แต่นิดเดียว[2], แต่เพื่อการเยียวยารักษาอาการป่วย โดยแพทย์ได้ยืนยันว่า : วิธีรักษามีอยู่วิธีเดียวคือ การบริโภคเนื้อปลาคาเวียร์ ในกรณีนี้ถือว่า ฮะลาล (ซึ่งจัดอยู่ในกรณีของความจำเป็น จึงฮะลาล)
6. ปลาสเตอร์เจียน นอกจากกรณีดังกล่าวว่า, ถ้าฮะลาล, ก็ถือเป็นอาหารสำหรับมนุษย์, อาจจะดัดแปลงเป็นอาหารปลา สำหรับปลาที่เนื้อฮะลาล หรือสำหรับสัตว์ที่เนื้อฮะลาลก็ได้
7.การเป็นฮะรอมเพียงอย่างเดียว ก็มิได้หมายความว่าเป็นอุปสรรคต่อการซื้อขาย หรือการประมงแต่อย่างใด, เนื่องจากบางสิ่งอาจฮะรอมสำหรับบริโภคซึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการซื้อขายเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก ตั้งมากมายหลายประเภทที่ทั้งกินและดื่มเป็นฮะรอม, แต่การซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, เช่น เลือด ถ้ากินเป็นฮะรอม, แต่ถ้าซื้อขายเลือดไม่เป็นไร, เนื่องจากผลประโยชน์มิได้จำกัดเฉพาะเรื่องกินหรือดื่มเพียงเท่านั้น, ทว่าบางสิ่งเช่น เลือด มีประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมายที่นอกเหนือไปจากกินและดื่ม, ด้วยเหตุนี้ การซื้อขายมิได้เฉพาะเจาะจงอยู่เฉพาะเรื่องบริโภคเท่านั้น
8. สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ ท่านอิมามโคมัยนี้ (รฎ.) ได้มีคำวินิจฉัยเรื่องการบริโภคปลาเสตอร์เจียน-คาเวียร์- ท่านอิมามกล่าวว่า : ถ้าหากปลาเสตอร์เจียนเป็นหนึ่งในจำพวกปลามีเกล็ด, หรือสงสัยว่าเป็นปลามีเกล็ดหรือไม่, อนุญาตให้กินได้, ถ้ามิใช่เช่นนี้แล้วไม่อนุญาตให้บริโภค[3]
สรุป ถ้าบุคคลใดตักลีดกับบรรดามัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กรณีที่สงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่ หรือยังพิสูจน์ไม่ได้สำหรับตน, สามารถรับประทานปลาได้, แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺท่านอื่น ซึ่งไม่อนุญาตให้รับประทานปลา แต่เขาสามารถใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่นอกเหนือจากการกินได้ ด้วยเหตุนี้, ปัญหาดังกล่าวให้ทุกคนปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมัรญิอฺ ที่ตนตักลีดตาม
[1] เตาฎีฮุล อัลมะซาอิล มะรอญิอฺ, เล่ม 2, หน้า 590, ข้อที่ 2516, พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ ญามิอฺ มุดัรริซีน ทำนองเดียวกันศึกษาเพิ่มเติมได้จาก อิสติฟตาอาต ภาคการกินการดื่ม และการจับปลา
[2] แม้ว่ารายการโทรทัศน์ รายการหนึ่งได้ออกอากาศสารคดีเรื่อง คาเวียร์ โดยนำเกษตรกรผู้เพราะเลี้ยงปลาคาเวียร์มาให้ความรู้และเขาได้ยืนยันว่า ปลาสเตอร์เจียน มีเกล็ดอยู่ตรงด้านหัว ขณะที่ตัวยังเล็กอยู่
[3] อิมามโคมัยนี, อิสติฟตาอาต, เล่ม 2, หน้า 504