การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9579
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11624 รหัสสำเนา 21050
คำถามอย่างย่อ
การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
คำถาม
เราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการดำรงชีวิต และใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ,การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่า เราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือ เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ "وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ หมายถึงอะไร? อิบาดะฮฺ คือการแสดงตนเป็นบ่าวต่ออัลลอฮฺ หมายถึงภารกิจเหล่านี้เองที่เราได้กระทำอยู่ทุกวัน หรือแม้แต่ภารกิจขั้นธรรมดาที่สุดที่ได้กระทำทุกวัน เช่น การกิน การดื่ม สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นอิบาดะฮฺเพื่อพระเจ้าได้. การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺหมายถึง การที่มนุษย์ได้กระทำภารกิจบางอย่าง ซึ่งงานเหล่านี้เองหรืองานประจำวันที่ได้กระทำโดยตั้งเจตนา หรือกระทำลงไปตามเงื่อนไขทางศาสนา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ถ้าหากศึกษาอัลกุรอาน และถามอัลกุรอานว่า เราถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือ..

 "وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ[1] อิบาดะฮฺคืออะไร? บางครั้งกาลเวลาของเราในมุมมองหนึ่งมีความจำกัดสำหรับการมองคำว่า อิบาดะฮฺ และคิดว่า อิบาดะฮฺ เองก็มีความจำกัดด้วยเหมือนกัน และมีแนวทางเฉพาะสำหรับตน, เช่น นมาซ, ศีลอด, ฮัจญฺ, และ ...แน่นอน สิ่งที่กล่าวมาคือ อิบาดะฮฺแท้จริง, แต่คำถามมีอยู่ว่า แล้วมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสิ่งเหล่านี้เท่านั้นหรือ และเฉพาะแนวทางนี้เท่านั้น? บางที่อาจคิดว่าการมีชีวิตอย่างนี้ ช่างเป็นชีวิตที่มีความจำกัดสิ้นดีและคับแคบด้วย แต่ถ้าหากเราอธิบายความหมายของคำว่าอิบาดะฮฺได้อย่างถูกต้อง และสร้างความเข้าใจกับคำๆ นี้ให้มากยิ่งขึ้น เราก็จะเห็นว่า อิบาดะฮฺ หมายถึงการแสดงความเคารพภักดีต่อพรเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีกับพระองค์ ซึ่งซ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ใน หนังสือปรัชญาของท่านนามว่าอัสฟารว่า อิบาดะฮฺ ของแต่ละคนขึ้นอยู่ขนาดของการรู้จักและความเข้าใจของเขา ที่มีต่ออัลลอฮฺ, หมายถึงระหว่างการอิบาดะฮฺของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้า, คือการสร้างสายสัมพันธ์โดยตรงกับพระองค์ ดังนั้น เมื่อมนุษย์เข้าใจและรู้จักอัลลอฮฺมากเท่าไหร่ การอิบาดะฮฺของเขาก็จะลุ่มลึกยิ่งกว่า และกว้างมากกว่าไปถึงขั้นที่ว่า อิสลามต้องการเขา, อิสลามต้องการอะไรจากเราหรือ? อิสลามต้องการชีวิตที่แห้งแล้งปราศจากจิตวิญญาณจากเรากระนั้นหรือ? เรานมาซเพียงอย่างเดียว, ถือศีลอด, หรือกล่าวซิกรุลลอฮฺ, และขอดุอาอฺเท่านั้น, อิสลามต้องการเฉพาะสิ่งเหล่านี้จากเราเท่านั้นหรือ? และไม่ต้องการภารกิจหรือการกระทำอื่นใดจากเราอีกกระนั้นหรือ?

แน่นอน มิใช่อย่างที่กล่าวมาอย่างแน่นอน, ถามว่าวิถีชีวิตของมะอฺซูม (.) มีเพียงเท่านี้หรือ? ท่านอิมามอะลี (.) บุตรของอบูฏอลิบ ได้อ่านดุอาอฺตั้งแต่เช้าจรดเย็นกระนั้นหรือ? หรือว่าท่านนมาซเพียงอย่างเดียว? หรือเฉพาะกล่าวซิกรุลลอฮฺเท่านั้น? กระทำเฉพาะเพียงเท่านี้ มิได้กระทำอย่างอื่นอีกใช่ไหม? แน่นอน มันมิได้เป็นเพียงเท่านี้. ท่านอิมามอะลี (.) บุตรของอบูฏอลิบ คือบุรุษ์แห่งการเมอง, บุรุษแห่งสงคราม, บุรุษแห่งความรู้, บุรุษแห่งงาน , บุคคลที่ได้กระทำงานถึงขนาดนั้น ท่านขุดบ่อน้ำเอง, ซ่อมทางน้ำ ดูแลทางเดิน นำน้ำไปแจกจ่าย, ท่านมิได้นั่งซิกรุลลอฮฺเพียงอย่างเดียว,ดังนั้น แล้วอิบาดะฮฺของอะลีอยู่ตรงไหนหรือ? อิบาดะฮฺของอะลี (.) เฉพาะช่วงเวลาที่ท่านอ่านดุอาอฺโกเมลเท่านั้นหรือ? อิบาดะฮฺอะลี (.) เฉพาะช่วงเวลา เช่น ขณะนมาซเท่านั้นหรือ? นมาซซึ่งท่านได้มุ่งมั่นเฉพาะอัลลอฮฺ (ซบ.) ถึงขนาดที่ว่าสามารถดึงลูกธนูที่ปักอยู่ที่ขาของท่านออกโดยไม่รู้ตัว. มิใช่เช่นนั้นหรอก ทว่าอะลี (.) แม้กระทั่งช่วงเวลาขุดบ่อน้ำ ท่านก็อิบาดะฮฺ. ขณะกำลังทำสงครามท่านก็อิบาดะฮฺ, ดังคำกล่าวของท่านเราะซูล (ซ็อล ) ที่ว่า :

"لضربة علیّ یوم الخندق افضل من عبادة الثقلین".

การฟันของอะลีในวันคอนดักนั้น ประเสริฐยิ่งกว่าการอิบาดะฮฺอันหนักอึ้งทั้งสอง[2] การตีความดังกล่าวนี้ มิได้หมายความว่าการฟันของท่านอิมามอะลี บุตรของอบูฏอลิบในวันนั้น จะยิ่งใหญ่และสูงส่งกว่าการอิบาดะฮฺของมนุษย์และญิน ทว่าตัวท่านคืออิบาดะฮฺ, หมายถึงการดำรงชีวิตทั้งหมดของมนุษย์คือ อิบาดะฮฺ, ด้วยเหตุนี้, ถ้าเรากลับไปสู่คำถามเก่าอีกครั้งหนึ่งที่ว่า การมีชีวิตเยี่ยงอัลลอฮฺหมายถึงอะไร? คำตอบก็คือ ภารกิจการงานต่างๆ ที่เราได้กระทำในแต่ละวัน แม้กระทั่งงานในระดับธรรมดาที่สุด เช่น การกิน การดื่ม, สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นอิบาดะฮฺได้, อาจมีคนถามว่าเป็นไปได้อย่างไร?

คำตอบ ก็คือช่วงเวลาที่เราต้องการจะกิน, เราได้ใส่ใจต่อกฎเกณฑ์และระเบียบของการกิน, หมายถึงเรากินทุกสิ่งทุกอย่างได้หรือ, แน่นอน ทรัพย์ที่ฮะรอมเราไม่สามารถรับประทานได้. อาหารบางประเภทที่อิสลามได้ห้ามรับประทาน เราก็ไม่อาจรับประทานสิ่งเหล่านั้นได้, และถ้าเราได้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น เราได้พยายามรับประทานเฉพาะทรัพย์สินที่ฮะลาล อาหารที่เรารับประทานเราได้เนียต (ตั้งเจตนา) ว่า เพื่อเราจะได้มีพลัง และจะได้สามารถปฏิบัติงานได้ และงานที่เราได้กระทำลงไปนั้น เพื่อต้องการให้ปมเงื่อนของงานได้เปิดออกเพื่อประชาชนคนอื่น เพื่อว่าเราจะได้สามารถช่วยเหลือพี่น้องของเรา พี่สาวน้องสาว บุตรหลาน ภรรยา เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงานของเราได้ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยกระดับจิตวิญญาณให้สูงส่ง, เราได้ทำงานเพื่อหวังว่าเราได้ปฏิบัติหน้าที่หนึ่ง, ดังนั้น การรับประทานโดยมีจุดมุ่งหมายอย่างนี้จึงถือว่าเป็น อิบาดะฮฺ, และการนอนหลับของเราก็จะเป็นอิบาดะฮฺ ด้วยเหตุนี้ ชีวิตของเราจะมีอีกความหมายหนึ่ง, มีเรื่องเล่าหนึ่งกล่าวว่า ครั้นเมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ) อยู่ในมัสญิด ท่านได้กล่าวว่า ถ้าหากพวกเธอต้องการเห็นชาวสวรรค์จงดูเถิดว่า บุคคลแรกที่ก้าวเท้าเข้ามาในมัสญิด, เขาคือชาวสวรรค์ ขณะนั้นมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งต้องการอยากจะทราบอย่างยิ่งว่า ชาวสวรรค์มีคุณสมบัติอย่างไร? และแล้วเขาได้เห็นชายชราคนหนึ่งเดินเข้ามาในมัสญิด เขาได้พยายามพิจารณาลักษณะท่าทางของชายชราคนนั้น ก็เห็นว่าชายชราคนนั้นมิได้กระทำสิ่งใดเป็นพิเศษ, เขาจึงพูดว่า ชายคนนี้คงต้องทำอะไรเป็นพิเศษในบ้านของเขาอย่างแน่นอน เขาจึงได้เป็นชาวสวรรค์, เด็กหนุ่มคนนั้นได้เดินสะกดรอยตามชายชราคนนั้นออกไปจนกระทั่งไปถึงบ้านเขา, ชายชราได้เข้าบ้าน, ชายหนุ่มจึงคิดว่าเขาไม่สามารถมองเห็นพฤติกรรมของชายชราภายในบ้านได้, จึงได้ตัดสินใจเคาะประตู, แล้วกล่าวว่าฉันเป็นผู้เดินทาง คืนนี้ฉันขอค้างแรมที่บ้านของท่าน, ชายชราคนนั้นกล่าวว่า เชิญตามสบาย, ชายหนุ่มยังเฝ้าคอยดูพฤติกรรมของชายชราด้วยความระมัดระวัง แต่เขาก็ยังไม่เห็นการกระทำพิเศษอันใดจากชายคนนั้น, ชายหนุ่มจึงคิดว่า สิ่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้ตีความนั้น เขาต้องกระทำอะไรบางอย่างแน่นอน, เมื่อถึงเวลานอนเขาก็คิดว่า ชายคนนั้นคงกระทำอิบาดะฮฺในช่วงดึกอย่างมากมายแน่นอน เขาจึงไม่ได้นอนหลับเพื่อจะได้รอดูว่าชายชราเมื่อตื่นขึ้นมาเขาจะทำอะไรเป็นพิเศษ, เขาก็เห็นว่าชายชราได้นอนหลับและตื่นขึ้นนมาซซุบฮฺตามปกติ, ชายหนุ่มได้หาข้ออ้างมาอ้างเพื่อจะได้เฝ้าดูพฤติกรรมของชายชราต่อไปอีกสักสองสามวัน, สุดท้ายเขาก็ได้เข้าไปหาชายชราคนนั้นและกล่าวเล่าเรื่องให้ฟังว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้กล่าวถึงท่านว่าเช่นนี้ ฉันจึงตามท่านมาเพื่อสังเกตดูว่าท่านได้ทำอะไรจึงได้เป็นชาวสวรรค์ แต่ฉันก็มิได้เห็นภารกิจอันใดเป็นการเฉพาะจากท่านเลย ดังนั้น ท่านได้ทำสิ่งใดหรือ?

ชายชรากล่าวว่า : ฉันเองก็ไม่รู้ตัวเองว่าเป็นชาวสวรรค์หรือเปล่า, แต่ฉันก็ไม่เคยทำสิ่งใดเป็นพิเศษดอก. เพียงแต่ว่าทุกสิ่งที่ฉันได้กระทำฉันได้ทำไปเพื่ออัลลอฮฺ สิ่งที่ฉันกระทำลงไป ฉันพยายามที่จะไม่ทำสิ่งที่ขัดแย้งคำสอนเท่านั้นเอง

และมีเพียงเท่านี้หรือ, ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า ท่านเป็นชาวสวรรค์, มันมีเพียงเท่านี้หรือ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่า การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺนั้นหมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำลงไป หรือภารกิจประจำที่ได้กระทำอยู่ทุกวัน ถ้าหากได้ตั้งเจตนาอย่างถูกต้อง ได้กระทำลงไปโดยพึงระวังรักษากฎเกณฑ์ของศาสนา เวลานั้น เขาจะเห็นว่าสีสันและกลิ่นของชีวิตได้เปลี่ยนไป ซึ่งจะพบว่าผลกระทบของชีวิตได้เปลี่ยนไปด้วย, คำพูดที่เรามักได้ยินกันเป็นประจำที่ว่า จงทำให้ชีวิตของท่านมีบะเราะกัตเถิด นั่นหมายถึงว่า เราได้ดำเนินชีวิตไปตามคำกล่าวที่ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ได้กล่าวเสมอว่า พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติตามฮะดีซที่กล่าวว่า ..

  "مَنْ أَخْلَصَ لِلَّهِ أَرْبَعِینَ یَوْماً فَجَّرَ اللَّهُ یَنَابِیعَ الْحِکْمَةِ مِنْ قَلْبِهِ عَلَى لِسَانِهِ"[3]

จงปฏิบัติการงานเถิด ภายใน 40 วัน จงทำงานเพื่ออัลลอฮฺสักอย่างหนึ่ง, ถ้าหากว่าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น พวกเธอจงสาปแช่งฉัน[4]หมายถึงวาฉันมีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่า พวกเธอคงกระทำเช่นนั้นจริง ด้วยเหตุนี้ เราก็สามารถทดลองดูได้ เพื่อว่าชีวิตของเราจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี อินชาอัลลอฮฺ



[1] อัลกุรอาน บทซารียาต, 59.

[2] ซัยยิด บิน ฏอวูส, อิกบาลลุลอะอฺมาล, หน้า 467, ดารุลกุตุบ อิสลามียะฮฺ, เตหะราน, 1367

[3] บุคคลใดก็ตามได้ปฏิบัติงาน 40 วันด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงเปิดประตูแห่งวิทยปัญญาจากใจของเขา ให้ถ่ายทอดมาทางลิ้นมัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 67, หน้า 249, สถาบัน อัลวะฟาอ์ เบรูต- เลบานอน ปี .. 1404

[4] การตีความของอายะตุลลอฮฺ อามีนนีซึ่งได้เล่ามาจากคำพูดของอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษที่ระบุว่า ในยุคของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะมีผู้คนบางกลุ่มสูญเสียศรัทธา ส่วนกาฟิรบางกลุ่มรับอิสลามนั้น หมายถึงบุคคลกลุ่มใดบ้าง?
    8218 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/04/02
    ฮะดีษที่คุณอ้างอิงจากหนังสือมีซานุลฮิกมะฮ์นี้ รายงานมาจากหนังสือ“อัลฆ็อยบะฮ์”ของท่านนุอ์มานี ซึ่งต้นฉบับดังกล่าวระบุถึงสถานภาพของเหล่าสาวกในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ว่า “รายงานจากอิบรอฮีมเล่าว่า มีผู้รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)แก่ฉันว่า เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ กลุ่มผู้ที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสหายของท่านจะออกจากภารกิจนี้(การเชื่อฟังอิมาม) ส่วนกลุ่มที่คล้ายผู้บูชาสุริยันและจันทราจะเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อท่านแทน”[1] แม้ว่าสายรายงานของฮะดีษนี้จะน่าเชื่อถือ แต่ยังถือว่าเป็นสายรายงานที่“มุรซั้ล”(ขาดตอน) เนื่องจากผู้รายงาน (อิบรอฮีม บิน อับดิลฮะมี้ดซึ่งเป็นสหายของอิมามกาซิม(อ.))นั้น กล่าวว่ารายงานจากบุคคลผู้หนึ่งที่ได้ยินจากอิมามศอดิก(อ.) โดยผู้รายงานมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ฮะดีษข้างต้นจึงถือว่าขาดตอนในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหานั้น ฮะดีษข้างต้นมีใจความว่า ในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกายนั้น เหล่าสหายที่คิดว่าตนเองเป็นพรรคพวกของท่านจะบิดพริ้วไม่เชื่อฟังท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลบางกลุ่มที่มิไช่ผู้ศรัทธา(ซึ่งฮะดีษใช้สำนวนว่า “เปรียบดังผู้บูชาสุริยันจันทรา”) กลับเลื่อมใสและเข้าสวามิภักดิ์ต่อท่าน และกลายเป็นสาวกแท้จริงที่ช่วยเหลือภารกิจต่างๆของท่าน กล่าวได้ว่าฮะดีษข้างต้นต้องการจะตำหนิกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าศรัทธาและภักดีต่อท่าน แต่แล้วเมื่อประสบกับการทดสอบในภาคปฏิบัติ ก็ไม่อาจจะทนอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของท่านได้อีกต่อไป บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆจากการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) แต่กลับต้องประสบกับความวิบัติอีกด้วย ซึ่งอาจจะหนักข้อถึงขั้นลุกขึ้นต่อต้านท่านอิมาม ทว่าในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เคยมีความศรัทธาบกพร่อง (กาฟิรและมุชริกีนบางกลุ่ม) อาจจะเอือมระอาต่อการอยู่ใต้อาณัติของผู้กดขี่ เมื่อได้เห็นรัฐบาลที่เที่ยงธรรมของอิมามก็อาจจะเข้ารับอิสลามและสวามิภักดิ์ต่อท่านก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษนี้ตามสายรายงานเดียวกันนี้ ทว่ามีข้อแตกต่างในเนื้อหาเล็กน้อยว่า: “เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นต่อสู้ บุคคลบางกลุ่มที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสาวกของท่านจะออกจากแนวทางของท่าน และแปรสภาพประดุจเหล่าผู้บูชาสุริยันและจันทรา”[2] กล่าวคือผู้ที่มีศรัทธาสั่นคลอนนั้น ...
  • เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
    6672 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/20
    มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนักได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)ฉะนั้น
  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7809 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8684 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17806 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57580 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7202 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • หากประสบกับภาวะน้ำแพง จะอาบน้ำยกหะดัสใหญ่อย่างไร?
    7871 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    โดยปกติแล้วการทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ถือเป็นมุสตะฮับแต่จะเป็นวาญิบต่อเมื่อต้องทำนมาซฟัรดูหรืออิบาดะฮ์อื่นๆ[1]แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้เพื่ออาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นมีราคาสูงเสียจนอาจสร้างปัญหาแก่คุณในแง่ทุนทรัพย์ในกรณีเช่นนี้การหาน้ำและการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ก็ไม่เป็นวาญิบอีกต่อไปและสามารถทำตะยัมมุมแทนได้[2]ควรใช้น้ำสำหรับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เท่าที่ความสามารถของท่านจะอำนวยฉะนั้นการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่กับน้ำนั้นจะเป็นวาญิบเฉพาะกรณีที่เงื่อนไขด้านน้ำเอื้ออำนวยเท่านั้นอนึ่งหากในหนึ่งวันท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้เพียงครั้งเดียวท่านสามารถเลื่อนการนมาซซุฮริ-อัซริออกไปและอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เพื่อให้สามารถทำนมาซซุฮ์ริ, อัซริ, มักริบและอีชาด้วยกับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ครั้งเดียวได้และหากท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้๒ครั้งให้อาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซซุบฮิหนึ่งครั้งและทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซ๔เวลาที่เหลือดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น (โดยเลื่อนการนมาซซุฮริและอัศริออกไปจนใกล้ถึงเวลานมาซมักริบและอิชา)[1]ประมวลปัญหาศาสนาโดยบรรดามัรญะอ์,เล่ม 1,
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8803 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10551 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60137 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57580 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42225 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39382 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38957 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34011 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28028 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27974 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27812 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25806 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...