การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8043
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/24
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1473 รหัสสำเนา 19085
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
คำถาม
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท
.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้ แข็งแรงและเศาะฮี้ห์
 กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถือ อ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.
ฮะดีษที่ยกมานั้น หนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บ ของอิบนิ ชะฮ์รอชู้บ แต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจน จึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ
แต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์ เราสามารถชี้แจงความไม่เหมาะสมของเนื้อหาได้ดังนี้
1.  ต้องคำนึงว่าท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ล้วนมีฐานะภาพที่สูงส่งและปราศจากราคะมลทิน ดังที่กุรอานก็กล่าวยืนยันความบริสุทธิของท่านเหล่านี้ไว้ในโองการ"ตัฏฮี้ร"
2.
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)มีคุณลักษณะเด่นที่แตกต่างจากบุตรีท่านอื่นๆของนบี(..) เนื่องจากท่านหญิงถือกำเนิดจากเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นกับท่านนบี(..)
3.
สัมผัสที่เปี่ยมด้วยความรักและความเอื้ออาทรเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในครอบครัวทั่วไป ดังจะเห็นว่าลูกชายจะโอบกอดแม่ พ่อจะจุมพิตบุตรสาวหลังจากกลับมาจากการเดินทาง สัมผัสเหล่านี้ล้วนเกิดจากความความรู้สึกห่วงหา มิไช่กามารมณ์
4.
สันนิษฐานว่าอคติดังกล่าวเกิดจากการเข้าใจผิดคิดว่าท่านนบี(..)จุมพิตบริเวณที่กล่าวถึงโดยไม่มีอาภรณ์ปกปิด กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจากปุถุชนคนทั่วไปก็รักษามารยาทและขอบเขตดังกล่าวตามปกติ การไม่ปกปิดบริเวณดังกล่าวย่อมเป็นเรื่องไม่เหมาะสมในแง่มารยาทขั้นพื้นฐานของครอบครัว เมื่อทราบดังนี้ ไฉนเราจึงจะมองปูชณียบุคคลอย่างอะฮ์ลุลบัยต์ในแง่ลบเช่นนั้น
สรุปก็คือ ในเมื่อสัมผัสอันเปี่ยมด้วยความรักและความเอ็นดูเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกครัวเรือนตามปกติ ฉะนั้นหากท่านนบี(..)จะปฏิบัติกับบุตรีของตน (ตลอดจนกรณีอะฮ์ลุลบัยต์ท่านอื่นๆ) ก็มิไช่เรื่องแปลกประหลาด โดยเฉพาะเมื่อตระหนักว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ละซึ่งบาปกรรมทุกประการ

คำตอบเชิงรายละเอียด

โดยทั่วไป ฮะดีษจะแบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือฮะดีษที่น่าเชื่อถือเนื่องจากมีสายรายงานชัดเจน ซึ่งจะใช้สำนวนเช่น เศาะฮี้ห์, แข็งแรง ...ฯลฯ ส่วนอีกประเภทคือฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ โดยจะใช้สำนวนเช่น ฎ่ออี้ฟ (อ่อน), มัจฮู้ล (ไม่ทราบที่มา) ...ฯลฯ
ก่อนที่บรรดาอุละมาอ์จะนำฮะดีษใดมาศึกษา จะต้องวิเคราะห์สายรายงานเสียก่อน เพื่อที่จะทราบสถานะของผู้รายงานว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ หากพบว่าสายรายงานน่าเชื่อถือพอ ก็จะคัดเลือกและนำไปศึกษาเชิงเนื้อหา เพื่อใช้วินิจฉัยปัญหาศาสนาต่อไป แต่หากฮะดีษใดมีสายรายงานที่ไม่ต่อเนื่อง หรือมีสายรายงานที่อ่อนแอ ถือว่าฮะดีษดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ และอุละมาอ์จะไม่นำมาใช้อ้างอิงใดๆทั้งสิ้น

ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือบิฮารุลอันว้าร ซึ่งรายงานจากหนังสือมะนากิ๊บ อาลิอบีฏอลิบ ประพันธ์โดยอิบนิ ชะฮ์รอชู้บ

ตัวบทฮะดีษมีดังนี้

 "انه کان النبی (ص) لاینام حتی یقبل عرض وجه فاطمة و یضع وجهه بین ثدیی فاطمة و یدعولها، و فی روایة: حتی یقبل عرض وجنة فاطمة او بین ثدییها"

"รายงานจากอิมามบากิร(.)และอิมามศอดิก(.)ว่า:  ท่านนบี(..)จะไม่นอนจนกว่าจะจุมพิตใบหน้าของฟาฏิมะฮ์(.)และแนบใบหน้าของท่าน  หว่างอกของเธอ จากนั้นจึงดุอาให้เธอ" อีกฮะดีษกล่าวว่า "...จนกว่าจะจุมพิตที่ใบหน้าหรือหว่างอกของเธอ" [1]
ท่านชะฮ์รอชู้บกล่าวไว้ในอารัมภบทของหนังสือมะนากิ๊บว่า "ฉันได้รวบรวมฮะดีษในหนังสือเล่มนี้จากมิตรสหายและจากพี่น้องซุนหนี่" เขาได้ระบุสายรายงานของตำราอ้างอิงต่างๆที่ใช้ในการประพันธ์หนังสือของตน ไม่ว่าจะเป็นตำราซุนหนี่หรือชีอะฮ์

แต่กรณีของฮะดีษนี้ เขาไม่ได้ระบุสายรายงานใดๆ แต่กลับรายงานในลักษณะ"มุรซั้ล"(ข้ามสายรายงาน) ฉะนั้น จึงไม่สามารถเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ดี สมมติว่าฮะดีษบทนี้เป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ ก็ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดต่อไปนี้ด้วย
1. ท่านนบี(..)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ล้วนมีสถานภาพอันสูงส่งโดยเฉพาะคุณสมบัติทางจิตวิญญาณ จึงไม่ควรจะนำไปเปรียบเทียบกับตาสีตาสาทั่วไป กุรอานได้ยืนยันถึงความบริสุทธิผุดผ่องอันไร้เทียมทานของบุคคลเหล่านี้ไว้ในโองการ"ตัฏฮี้ร"ที่ว่า 

انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت و یطهرکم تطهیراً

"แท้จริงพระองค์ทรงประสงค์ที่จะเปลื้องมลทินจากสูเจ้า โอ้ อะฮ์ลุลบัยต์ และชำระสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์" [2]
สำนวน "อินนะมา"ในภาษาอรับ จะใช้เพื่อจำกัดประเด็นใดประเด็นหนึ่งเป็นการเฉพาะ จึงแสดงว่ามหากรุณาธิคุณดังกล่าว(การชำระมลทิน)มีไว้เพื่อวงศ์วานนบี(..)เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ท่านเหล่านี้จึงสังวรตนเองกระทั่งพ้นจากบาปกรรมด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮ์และความยำเกรงที่ตนมี

คำว่า"ริจส์" หมายถึงมลทินทั้งปวง ไม่ว่าจะมลทินในแง่รสนิยมมนุษย์ สติปัญญา หรือบทบัญญัติศาสนาก็ตาม
คำว่า"ตัฏฮี้ร" หมายถึงการชำระให้สะอาด ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงการขจัดมลทินนั่นเอง
ส่วนคำว่า"อะฮ์ลุลบัยต์" ตามทัศนะของอุละมาอ์และนักตัฟซี้รทั่วไปหมายถึงวงศ์วานของท่านนบี(..) ซึ่งตำราของทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ล้วนระบุว่าเป็นบุคคลห้าท่านดังต่อไปนี้ : ท่านนบี(..),ท่านอิมามอลี(.), ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.), ท่านอิมามฮะซัน(.) และท่านอิมามฮุเซน(.) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "ค็อมซะฮ์ ฏ็อยยิบะฮ์"(ห้าผู้บริสุทธิ์) และ "อัศฮาบุ้ลกิซาอ์"(ชาวผ้าคลุม)
อายะฮ์ตัฏฮี้รถือเป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงสภาวะไร้บาปของท่านนบี(..)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็เนื่องจากบาปทุกประเภทจัดอยู่ในประเภทของ"มลทิน"ทั้งสิ้น[3]

ในบทซิยารัตอันเลอค่าอย่าง"ญามิอะฮ์ กะบีเราะฮ์"ระบุว่า 

عصمکم الله من الزلل و آمنکم من الفتن و طهرکم من الدنس و اذهب عنکم الرجس و طهرکم تطهیراً

"อัลลอฮ์ทรงปกปักษ์พวกท่านให้พ้นจากความสั่นคลอนและฟิตนะฮ์ และทรงชำระพวกท่านให้สะอาดจากพฤติกรรมสกปรก และขจัดมลทินจากพวกท่านและชำระให้บริสุทธิ์[4]

2. ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)มีฐานะภาพที่โดดเด่นที่สุดในบรรดาบุตรีของท่านนบี(..) ทั้งนี้ก็เนื่องจากเธอมีจุดเด่นทั้งในแง่ของการประสูติและการเลี้ยงดู
มีฮะดีษที่อิบนิ ชะฮ์รอชู้บบันทึกไว้โดยมีสายรายงานหลายสายด้วยกัน กล่าวว่า :
อบูอุบัยดะฮ์ ค็อดดา และท่านอื่นๆรายงานจากท่านอิมามศอดิก(.)ว่า ท่านนบี(..)มักจะจุมพิตฟาฏิมะฮ์เป็นประจำ ภรรยาของท่านบางคนท้วงติงพฤติกรรมดังกล่าวของท่าน ท่านนบี(..)ตอบว่า "เมื่อครั้งที่ฉันขึ้นเมี้ยะรอจ ญิบรออีลได้จูงมือฉันให้เข้าสู่สรวงสวรรค์ และได้มอบอินทผลัมเม็ดหนึ่งให้ (บางรายงานระบุว่าเป็นผลแอปเปิ้ล) หลังจากที่ฉันรับประทาน มันก็กลายเป็นอสุจิที่อยู่ในไขสันหลังของฉัน เมื่อกลับสู่พื้นดิน ฉันได้ร่วมหลับนอนกับคอดีญะฮ์ นางได้ตั้งครรภ์ฟาฏิมะฮ์ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าฟาฏิมะฮ์คือนางสวรรค์ที่อยู่ท่ามกลางมนุษย์ปุถุชน และเมื่อใดที่ฉันหวลรำลึกถึงกลิ่นอายสรวงสวรรค์ ฉันก็จะหอมลูกสาวของฉัน"[5]

จะเห็นได้ว่าสัมพันธภาพระหว่างท่านนบี(..)และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)แน่นแฟ้นเพียงใด และนี่คือเหตุผลที่ท่านแสดงออกถึงความผูกพันได้เพียงนี้

3. สิ่งที่สัมผัสได้ในวิถีชีวิตของผู้ที่มีวุฒิภาวะทั่วไปก็คือ ความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว อันปราศจากกามารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการมอง การจับต้อง หรือแม้แต่การจุมพิต ตัวอย่างเช่นกรณีการจุมพิตแม่ น้องสาว หรือลูกสาวที่กลับมาจากพิธีฮัจย์หรือเยี่ยมเยียนกุโบร์ของนบี(..) และบรรดาอิมาม(.) แน่นอนว่าการจุมพิตเช่นนี้ย่อมมีจุดประสงค์เพื่อรับบะเราะกัตและผลบุญเท่านั้น
หรือกรณีที่บางคนมีลูกที่หน้าตาน่ารัก มีมารยาทงดงาม หากพ่อแม่จะหอมลูกคนนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าและรู้สึกผูกพันกับลูกคนนี้เป็นพิเศษก็มิไช่เรื่องแปลก เนื่องจากเป็นสัมพันธภาพฉันพ่อแม่ลูกที่พบเห็นได้ทั่วไปในครอบครัวต่างๆ โดยที่ไม่มีใครคิดจะตำหนิพ่อแม่ที่กระทำเช่นนี้กับลูกของตน

4. สันนิษฐานว่าอคติดังกล่าวเกิดจากการเข้าใจผิดคิดว่าท่านนบี(..)จุมพิตบริเวณหว่างอกโดยไม่มีอาภรณ์ปกปิด กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจากปุถุชนคนทั่วไปก็มักจะรักษามารยาทและขอบเขตดังกล่าวตามปกติ การไม่ปกปิดบริเวณดังกล่าวย่อมเป็นเรื่องไม่เหมาะสมในแง่มารยาทขั้นพื้นฐานของครอบครัว เมื่อทราบดังนี้ ไฉนเราจึงจะมองปูชณียบุคคลอย่างอะฮ์ลุลบัยต์ในแง่ลบเช่นนั้น
ในเมื่อสัมผัสอันเปี่ยมด้วยความรักและเอ็นดูเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติในครอบครัว ฉะนั้นในกรณีของปูชณียบุคคลผู้ปราศจากบาปอย่างท่านนบี(..) และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ก็มิไช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี หากปูชณียบุคคลผู้ปราศจากบาปเหล่านี้จะมีวัตรปฏิบัติเช่นที่กล่าวมา นั่นก็เป็นเพราะท่านเหล่านั้นมีเหตุผลรองรับ ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวสามารถชี้แจงฮะดีษที่มีเนื้อหาดังที่ถามมาได้อย่างแน่นอน



[1] อิบนิ ชะฮ์รอชู้บ,อัลมะนากิ๊บ,เล่ม 3,หน้า 334, และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 42

[2] อะห์ซาบ,33

[3] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 17,หน้า 292

[4] มะฟาตีฮุ้ลญินาน,หน้า 902

[5] อัลมะนากิ๊บ,เล่ม 3,หน้า 334

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6397 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9040 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • อะไรคือมาตรฐานความจำกัดของเสรีภาพในการพูดในมุมมองของอิสลาม
    6015 สิทธิและกฎหมาย 2553/12/22
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10540 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • คำว่า “ฮุจซะฮ์”ในฮะดีษของมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ หมายความว่าอย่างไร?
    7248 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/12
    คำว่าฮุจซะฮ์ที่ปรากฏในฮะดีษบทต่างๆแปลว่าการยึดเหนี่ยวสื่อกลางในโลกนี้ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ท่านนบีและบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งก็หมายถึงศาสนาจริยธรรมและความประพฤติที่ดีงามหากบุคคลยึดถืออิสลาม
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    7167 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    7073 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    6259 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5596 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    8274 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57510 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42177 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39317 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38925 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27999 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27929 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27763 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25759 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...