Please Wait
7477
คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4]
นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5]
ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7]
คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด
[1] นิซาอ์,4, «وَ آتُوا النِّساءَ صَدُقاتِهِنَّ نِحْلَةً فَإِنْ طِبْنَ لَكُمْ عَنْ شَيْءٍ مِنْهُ نَفْساً فَكُلُوهُ هَنيئاً مَريئاً»؛ และจงจ่ายสินสอดของสตรี (ให้ครบถ้วน) และจงจ่ายสิ่งนี้ซึ่งมันเป็นหนี้ (หรือของขวัญ) (แต่) หากพวกนางได้ยกบางส่วนของสิ่ง ๆ นี้ให้กับท่านด้วยความเต็มใจ จงใช้มันเนื่องจากมันเป็นฮะลาลและน่ารื่นรมย์.
[2] มะการิม ชีรอซีย์, นาศิร, ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 3, หน้า 262, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี 1374 ؛ ฏอบาฏอบาอีย์, ซัยยิดมูฮัมหมัดฮุเซน, อัลมีซาน ฟีย์ ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 4, หน้า 169, สำนักพิมพ์อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 5, ฮ.ศ.1417
[3] ตัฟซีร เนมูเนฮ์, เล่ม 3, หน้า 262 ؛ ฮุซัยนีย์ จุรจานีย์, ซัยยิดอามีร อาบูรฟูตูฮ, อายาตุลอะฮ์กาม, การค้นคว้า, อิชรอกี สะรอบี , มิรซา วาลียุลลอฮ์, เล่ม 2, หน้า 329 และ 330, สำนักพิมพ์นะวีด, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, 1404 ฮ.ศ.
[4] อายาตุล อะฮ์กาม, เล่ม 2, หน้า 330 ؛ ฏอบารีซีย์, ฟัซล์ บิน ฮาซัน, มัจมะอุลบะญาน ฟีย์ ตัฟซีริล กุรอาน, พร้อมคำนำของบิลากีย์, มูฮัมหมัดญาวาด, เล่ม 3, หน้า 12, สำนักพิมพ์นาซีร คุซรู, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 3, 1372
[5] ฮุเซนีย์, ฮาเมดานีย์, ซัยยิดมูฮัมหมัดฮุเซน, อันวอเร เดรัคชอน, การค้นคว้า, เบฮ์บูดีย์, มูฮัมหมัดบากิร, เล่ม 3, หน้า 342 และ 343, ร้านหนังสือ ลุตฟีย์, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, 1404 ฮ.ศ.
[6] นิซาอ์/24, «... فَمَا اسْتَمْتَعْتُمْ بِهِ مِنْهُنَّ فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَريضَةً ...»؛ และสตรีที่พวกท่านได้ทำการมุตอะฮ์ (แต่งงานชั่วคราว) ด้วย, เป็นวาญิบที่จะต้องจ่ายสินสอดของพวกนาง
[7] ตัฟซีรเนมูเนะฮ์, เล่ม 3, หน้า 335