การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10559
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2207 รหัสสำเนา 13580
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
คำถาม
เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
คำตอบโดยสังเขป

หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือ เรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชาย กล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้ว ยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆ อีกด้วย อีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺ ส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้น

ตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือ ทรัพย์สะสม ขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตน ของภรรยา และบรรดาลูกๆ นอกจากนี้แล้ว ตามหลักการของอิสลามค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายเป็นทรัพย์สิน เช่น ค่าใช้จ่ายที่ชายต้องจ่ายเพื่อร่วมในการญิฮาดหรือในกรณีที่ญาติหากกระทำผิดพลาดขึ้น เช่น ฆ่าคนตาย หรือก่อให้เกิดบาดเจ็บเสียหายแก่ฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายชายในฐานะที่มีสติสัมปชัญญะจำเป็นต้องรับผิดชอบ จ่ายค่าปรับและค่าสินไหมต่างๆ ขณะที่ฝ่ายหญิงไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับกรณีต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าภายนอกจะมองดูว่าส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงก็ตาม แต่ในเชิงปฏิบัติแล้วผลประโยชน์ที่แท้จริงของฝ่ายชายที่ได้รับมรดกทางสังคมนั้น น้อยกว่าฝ่ายหญิง แม้ว่าดูเหมือนว่าเขาจะได้รับมรดกมากกว่าฝ่ายหญิงก็ตามที แต่ความรับผิดชอบเรื่องทรัพย์สินเขาก็มีมากกว่า อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวในเชิงสรุปได้ว่า สาเหตุที่มีความแตกต่างกันในส่วนแบ่งมรดก ระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงก็คือ การสร้างสมดุลระหว่างสิทธิและหน้าที่ของแต่ละคนจากพวกเขานั่นเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนที่จะตอบคำถาม สิ่งที่จำเป็นต้องกล่าวก่อนคือ กฎของการมากกว่าสองเท่า ที่ว่าด้วยส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าผู้หญิงสองเท่า มิได้เป็นกฎทั่วๆไป, ทว่าในบทบัญญัติและกฎหมายอิสลามนั้น มีกรณีของการรับทอดมรดกไม่มีความแตกต่างระหว่างชายและหญิง เช่น บิดามารดาซึ่งทั้งสองจะได้รับมรดกเท่ากัน ซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างพวกเขา

จากอดีตผ่านมาคำถามนี้ได้ถูกถามเสมอว่า เพราะเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายหญิงจึงน้อยกว่าฝ่ายชาย ถามว่าการทำเช่นนี้มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายชายดอกหรือ ? รายงานจากท่านอิมามญะอฺฟัร อัซซอดิก (.) ซึงมีผู้ถามท่านว่า เพราเหตุใดฝ่ายหญิงซึ่งมีความอ่อนแอกว่าชาย ต้องการการสนับสนุนมากกว่า และในส่วนแบ่งมรดกนั้นเธอได้รับเพียงหนึ่งส่วนของฝ่ายชายเท่านั้น ทั้งที่ผู้ชายในแง่ของกำลังทางกายภาพของร่างกายมีความแข็งแรงกว่า เขาจึงได้ส่วนแบ่งอันเป็นมรดกของผู้ตายมากกว่า?

ท่านอิมาม (.) ตอบว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าชายมีหน้าที่รับผิดชอบมากกว่า ซึ่งมีความรับผิดชอบและการดำเนินการที่หนักกว่า ชายออกสงครามและต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในสงคราม ฝ่ายชายนอกจากต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเองแล้ว ยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของภรรยาและครอบครัวอีกด้วย ชายในฐานะที่เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ จำเป็นต้องรับผิดชอบการก่ออาชญากรรมของญาติ ต้องจ่ายทรัพย์สินแทนค่าเสียหายต่างๆ ขณะที่หญิงไม่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในกรณีเหล่านี้เลย[1]

อีกรายงานหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (.) ได้เน้นย้ำประเด็นดังกล่าว การจ่ายมะฮฺรียะฮฺของชายแก่หญิงเท่ากับเป็นการชดเชยส่วนน้อยจากส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายหญิง[2]

สิ่งที่อิสลามได้กล่าวถึงเรื่องมรดกนั้น ตามความเป็นจริงแล้วเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายหญิงทั้งสิ้น ในสมัยสังคมอานารยชนนั้นจะเห็นว่า สตรีและบุตรสาวถูกกีดกันมรดกหมายถึงไม่มีสิทธิรับมรดกแต่อย่างใด ซึ่งมรดกของผู้ตายทั้งหมดจะตกเป็นของฝ่ายชายหรือบุตรชายเท่านั้น แต่อิสลามได้ยกเลิกกฎเกณฑ์ของสังคมอานารยชน[3] และนำเอาสตรีมามีส่วนในการรับมรดกของผู้ตาย และนับตั้งแต่เริ่มต้นอิสลามแล้วที่ฝ่ายหญิงมีความอิสระในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทรัพย์สิน ซึ่งจะเห็นว่ากรณีดังกล่าวนี้จะเห็นว่าประเทศแถบยุโรป เพิ่งจะบรรจุในรัฐธรรมนูญของพวกเขาสักประมาณ 2 ศตวรรษที่ผ่านมา

ทั้งที่ภายนอกจะเห็นว่าชายได้ส่วนแบ่งมรดกมากกว่าหญิงสองเท่า แต่ถ้าใคร่ครวญให้ละเอียดถี่ถ้วนสักเล็กน้อย จะเห็นว่าด้านหนึ่งมรดกของฝ่ายหญิงนั้นมากกว่าชายสองเท่าด้วยซ้ำไป เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากอิสลามได้ให้การสนับสนุนสิทธิสตรีไว้เป็นกรณีพิเศษนั่นเอง

นั่นเป็นหน้าที่ที่ได้มอบให้เป็นภาระรับผิดชอบของฝ่ายชาย ทำให้การดำเนินการครึ่งหนึ่งของรายได้จึงต้องใช้สำหรับผู้หญิง ฝ่ายชายมีหน้าที่เลี้ยงดูภรรยาของเขาบนพื้นฐานความต้องการของเธอทั้งที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย อาหาร และอุปกรณ์ของใช้อื่น  และฝ่ายชายยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเองและลูกๆ ของพวกเขา ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเขา แม้ว่าฐานะของฝ่ายหญิงสามารถจ้างคนรับใช้และจ่ายค่าจ้างได้ก็ตาม กระนั้นค่าใช้จ่ายและค่าจ้างของคนรับใช้ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายอยู่ดี[4]

ด้วยคำอธิบายดังกล่าวนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ส่วนแบ่งมรดกจำนวนมากของฝ่ายหญิงนั้นมีความสมดุลระหว่างบุรุษและสตรี ฉะนั้นหากจะมีการทักท้วงฝ่ายชายต่างหากที่จะต้องทักท้วง มิใช่ฝ่ายหญิง[5]

ตรงข้ามกับภาระหน้าที่ของฝ่ายชายที่ต้องรับผิดชอบจะเห็นว่าฝ่ายหญิงไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นแม้แต่ค่าใช้จ่ายของตัวเองก็ตาม เช่น ค่าเสื้อผ้า อาหาร และอื่นๆ ซึ่งฝ่ายหญิงไม่มีหน้าที่รับผิดชอบอันใดทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เอง ในแง่ของการปฏิบัติจะเห็นว่าฝ่ายหญิงจะได้รับส่วนแบ่งมากกว่าจากทรัพย์มรดก ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้กล่าวว่า สมมุติว่าทรัพย์ต่างๆ ที่มีอยู่บนโลกนี้มีประมาณ 3 พันล้าน แล้ค่อยๆแบ่งปันไปให้คนหนุ่มสาวบนโลกนี้ จะเห็นว่าจำวน 20 ล้านเป็นของฝ่ายชาย และ 10 ล้านเป็นของฝ่ายหญิง ซึ่งผู้หญิงนั้นต้องแต่งงานตามธรรมชาติ แล้วค่าเลี่ยงดูของนางอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชาย ด้วยเหตุผลนี้เอง ฝ่ายหญิงสามารถเก็บส่วนแบ่งมรดกของตนเองจำนวน 10 ล้านไว้เป็นเงินสะสม แล้วพวกเธอยังมีส่วนร่วมในส่วน 20 ล้านของฝ่ายชายอีกต่างหาก ดังนั้น ถ้าเอาส่วนแบ่งทั้งสองส่วนมารวมกันจะเห็นว่าฝ่ายหญิงได้รับมรดกโดยรวมแล้วมากกว่าฝ่ายชายเสียด้วยซ้ำ[6]

ด้งนั้น เมื่อพิจารณาประเด็นที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเราสามารถทราบถึงสาเหตุได้ทันทีว่า เป็นเพราะสาเหตุใดที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายหญิงต้องน้อยกว่าชายครึ่งหนึ่ง ซึ่งพอกล่าวสรุปได้ดังนี้

1. มะฮฺรียะฮฺ เมื่อข้อตกลงการแต่งงาน (อักด์นิกาฮฺ) ได้ถูกอ่านขึ้น ฝ่ายชายมีหน้าที่จ่ายมะฮฺรียะฮฺแก่สตรี ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เธอเรียกจากฝ่ายชาย เมื่อนั้นเขาต้องจ่ายให้เธอ นอกเหนือจากนี้แล้วสตรีไม่มีหน้าที่อันใด และไร้ความสามารถเมื่อเผชิญหน้ากับฝ่ายชาย ดังนั้น เมื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ ฝ่ายชายมีหน้าที่ตามบทบัญญัติในการกำหนดมะฮฺรียะฮฺแก่ฝ่ายหญิงทันที และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ก็ได้แนะนำเอาไว้[7]

2. ค่าเลี้ยงดู ชีวิตการครองเรือนฝ่ายชายมีหน้าที่รับผิดชอบค่าเลี้ยงดูของตนเอง และครอบครัว เขามีหน้าที่จัดหาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยเหมาะสมให้แก่ครอบครัว หรือตามเกียรติของภรรยาสิ่งเหล่านี้เป็นหน้ามี่ของสามีหรือฝ่ายชาย ภรรยาแม้ว่าจะเป็นคนมีฐานะดี กระนั้นเธอก็ไม่ได้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอันใดเกี่ยวกับค่าเลี้ยงดูแม้แต่น้อย ฝ่ายหญิงในชีวิตการครองเรือนนอกจากไม่ต้องออกค่าเลี่ยงดูแล้ว การงานบ้านอย่างอื่น เช่น การให้น้ำนมเลี้ยงลูก การหุงหาอาหาร เธอยังสามารถเรียกร้องเงินรางวัลจากสามีได้อีกต่างหาก

3. หน้าที่พิเศษของฝ่ายชาย หน้าที่หนักภายในครอบครัวถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย ซึ่งฝ่ายหญิงไม่จำเป็นต้องไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด เช่น การญิฮาดในหนทางของพระเจ้า ฝ่ายชายต้องเป็นผู้แบ่งปันทรัพย์สินของตนไปเพื่อการญิฮาด ดังที่โองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นเหล่านี้เอาไว้ว่า การญิฮาดด้านทุนทรัพย์นั้นมาก่อนการญิฮาดด้วยชีวิต ดังนั้น ฝ่ายชายต้องให้ทุนทรัพย์ของตนเพื่อการญิฮาด[8] ขณะเดียวกันอาชญากรรมที่ญาติพี่น้องก่อเหตุขึ้นฝ่ายชายต้องเป็นผู้เสียค่าปรับและค่าสินไหมเหล่านั้น ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการยกเว้นเอาไว้จากประเด็นเหล่านี้

ข้อสังเกต อิสลามไม่ต้องการกระทำสิ่งใดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายหญิง หรือทำลายผลประโยชน์ของฝ่ายชายแต่อย่างใด หรือในทางกลับกัน อิสลามไม่ได้เข้าฝ่ายชายและก็ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายหญิง ตามกฎระเบียบของอิสลามต้องการให้ทั้งสองฝ่ายพบกับความสุขความจำเริญยิ่งขึ้นไป และบรรดาลูกๆ ได้รับการเลี้ยงดูและเจริญเติบโตตามคำสั่งสอนที่ดีของบิดามารดา อีกทั้งยังต้องเอาใจต่อความเจริญและความก้าวหน้าของสังคมมนุษย์อีกด้วย[9] อย่างไรก็ตามอิสลามได้ให้ฝ่ายชายเป็นผู้รับผิดชอบด้านค่างเลี้ยงดูและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นของครอบครัว บนพื้นฐานของหน้าที่ทางด้านเศรษฐกิจ การแบ่งทรัพย์สินในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำให้ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นมรดกตกทอด โดยไม่ได้แบ่งชั้นหรือลำเอียงแต่อย่างใด อีกด้านหนึ่งกลุ่มกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ได้ถูกจัดวางไว้สำหรับบุรุษและสตรีในอิสลาม สิ่งเหล่านี้โดยตัวของมันเองได้ก่อให้เกิดกฎเกณฑ์อันเฉพาะเจาะจงที่ว่าด้วยเรื่องของมรดก ซึ่งสิ่งนี้ไม่อาจมีข้อท้วงติงกับกฎหมายอิสลามในเชิงแพ่งและพาณิชย์ได้

ในที่สุดแล้วอาจำเป็นไปได้ที่จะกล่าวว่า ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้วกล่าวคือ ค่าใช้จ่ายด้านการเลี้ยงดูของฝ่ายหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายแล้ว ดังนั้นสตรียังจะมีความต้องการอันใดในทรัพย์สมบัติอีก ?

คำตอบ อาจกล่าวได้ว่าเนื่องจากมะฮียะฮฺ และส่วนแบ่งมรดกของสตรีคือเงินสะสมประเภทหนึ่ง สำหรับอนาคตข้างหน้าเนื่องจากถ้าเกิดอุบัติการณ์ที่ไม่ดี ทำให้เธอต้องแยกทางกับสามี หรือสามีตายจากไป เธอจะได้สามารถดำรงชีวิตสืบต่อไปได้ด้วยเงินสะสมที่เก็บรักษาเอาไว้[10] และเธอสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความสงบสุข ไม่ต้องเดือดร้อนหรือกังวลใจเรื่องรายได้อีกต่อไป

แต่การที่บอกว่าค่าเลี้ยงดูของฝ่ายหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชาย ก็เพื่อว่าไม่ต้องการให้ฝ่ายหญิงต้องมากังวลใจหรือมายุ่งยากกับเศรษฐกิจของครอบครัว ให้เธอเอาเวลาเหล่านั้นทุ่มเทให้กับการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบรรดาลูกๆ อย่างเต็มที่ เพื่อเธอจะได้สงมอบบุคลากรที่ดีแก่สังคมซึ่งตามหลักการอิสลามถือว่า ทุนมนุษย์คือสิ่งที่ดีเลิศที่สุดกว่าทุนทรัพย์อื่นใดของสังคม ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใดก็ตามระบบครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยเนื้อที่เป็นแก่หลักที่ให้การสนับสนุนสังคม

ดังนั้น ตามหลักการของอิสลามแล้วได้ให้เกียรติและเคารพในสิทธิของสตรีมาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยไม่เคยสั่งสอนเลยว่าสตรีเป็นสิ่งไม่มีค่าทางสังคม สามารถจัดการอย่างไรกับพวกเธอก็ได้ หรือจะนำพวกเธอไปกระทำชำเราอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจ ทว่าสตรีคือผู้มีเกียรติอันยิ่งใหญ่ในฐานะทีเป็นแม่พระและเป็นครูที่ให้การอบรมสั่งสอนบุคลากรที่ดีแก่สังคม และเพื่อเธอจะได้กระทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ อิสลามจึงได้กำหนดการรับผิดชอบเรื่องค่าเลียงดูครอบครัว ให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายชาย



[1] ฮุร อามิลี วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 26 หน้า 93 อาลุลบัยตฺ เชคฏูซีย์ ตะฮฺซีบุลอะฮฺกาม เล่ม 9 หน้า 174 และ 275 ดารุลกุตุบอิสลาม, อัลกาฟีย์ เล่ม 7 หน้า 85

[2]  เชค ซะดูก อิลัลชะรอญิอ์ เล่ม 2 หน้า 57 ดารุลกุตุบอิสลามียะฮฺ 1365

[3] อบุลฟัตฮฺ รอซียฺ ตัฟซีรเราฎุลญันนาน เล่ม 10 หน้า 268 ออกตอนกุดส์ ระฎะวียฺ

[4] มัรยัม ซอวีญีย์ สิทธิสตรีในอิสลามและครอบครัว หน้า 113 พิมพ์ครั้ง 2 ปี 1371

[5] มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอฮฺ บทบาทของสตรีในสิทธิอิสลาม แปลโดยอับดุลฮาดีย์ ฟะกีฮฺซอเดะฮฺ สำนักพิมพ์ สำนักพิพากษา

[6] มะการิม ชีรอซีย์ นาซิร ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 3 หน้า 288 ดารุลกุตุบอิสลามียะฮฺ

[7] มุฮัมมัด อิบนุ ระฏอ อัลกุมมี อัลมัชฮะดียฺ กันซุลดะกออิด เล่ม 3 หน้า 343

[8]  กอฎีย์ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ การวิจัยเกี่ยวกับมรดกของสตรี จากทรัพย์ของสามี มีฮัน 1553 หน้า 143

[9]  มุรตะฎอมุเฏาะฮะรีย นิซอมฮุกูกซันดัรอิสลาม หน้า 253 สำนักพิมพ์ฟังฮังอิสลาม พิมพ์ครั้งแรก ปี 1353

[10]  ฏอละกอนีย์ ซัยยิดมะฮฺมูด พัรตูอัซกุรอาน เล่ม 6 หน้า 90 สำนักพิมพ์เตหะราน ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7241 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    10558 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • การจ่ายคุมซ์เป็นทรัพย์สินเพียงครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกใช่หรือไม่?
    5650 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ดั่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุมซ์คือหนึ่งในการบริจาคทรัพย์อันเป็นวาญิบสำคัญในอิสลามเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามและเป็นอิบาดะฮฺด้วยด้วยสาเหตุนี้เองจำเป็นต้องเนียต (ตั้งเจตคติ) เพื่อแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)ทรัพย์สินและเงินทุนต่างๆที่ต้องจ่ายคุมซ์ถ้าหากจ่ายคุมซ์ไปแล้วเพียงครั้งเดียวไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปีก็ตามแต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่เติบโตหรือมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมทุนเดิมไม่ต้องจ่ายคุมซ์แต่ส่วนที่เป็นผลกำไรงอกเงยอออกมาวาญิบต้องจ่ายคุมซ์[1][1]  เตาฏีฮุลมะซาอิลมะริญิอฺ
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7825 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6643 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6542 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ตามคำสอนของศาสนาอื่น นอกจากอิสลาม, สามารถไปถึงความสมบูรณ์ได้หรือไม่? การไปถึงเตาฮีดเป็นอย่างไร?
    10029 เทววิทยาใหม่ 2554/06/21
    แม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้างในบางศาสนาดั่งที่เราได้เห็นประจักษ์กับสายตาตัวเอง, แต่รูปลักษณ์ที่สมบูรณ์ของความจริงซึ่งได้แก่เตาฮีด, มีความประจักษ์ชัดเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้น, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำพูดดังกล่าว,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้การถูกบิดเบือนและความบกพร่องต่างๆทางปัญญาในศาสนาต่างๆขณะที่ด้านตรงข้าม, การไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกสังคายนาของอัลกุรอาน, มีหลักฐานและประวัติที่เชื่อถือได้, คำสอนที่ครอบคลุมของอิสลาม, การเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติของคำสอนอิสลามกับสติปัญญาสมบูรณ์ ...
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    8331 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    7045 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13663 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60190 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57650 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42267 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38994 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34050 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28063 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28048 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27885 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25866 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...