Please Wait
6186
จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของ ค่าปรับ จะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของ เศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะ วัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไป อีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคม กล่าวคือ อิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชาย ทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่า ผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือ การจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัว
ถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า อิสลามได้ให้การสนับสนุนภารกิจหนึ่ง ที่มีผลในทางเศรษฐศาสตร์สำหรับผู้ชาย และหนึ่งในนั้นคือเรื่องค่าปรับ หรือค่าชดเชย ตามหลักคำสอนของอสิลามถ้าหากพิจารณาถึงหน้าที่และบทบาทของฝ่ายชายในแง่ของรายได้ของครอบครัว ประกอบกับการพิจารณาถึงเรื่องค่าปรับและค่าชดเชย นั้นเกี่ยวข้องกับกายภาพของมนุษย์โดยตรง ฉะนั้น ในแง่ของรายได้ถ้าร่างกายมีความแข็งแรงมากเท่าใด ค่าชดเชยย่อมมีอัตรามากตามไปด้วย และเนื่องจากฝ่ายชายคือผู้รับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายของครอบครัว หรืออาจกล่าวได้ว่าชายคือผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้น ค่าชดเชยของชายจึงต้องมากกว่าฝ่ายหญิง สิ่งนี้มิได้หมายความว่าอิสลามได้ให้เกียรติผู้ชายสูงส่งกว่าผู้หญิง เนื่องจากถ้าจะกล่าวถึงในแง่ของเกียรติยศหรือคุณค่าของมนุษย์แล้วละก็ จะไม่มีวันเท่าเทียมกับเลยในเรื่องของค่าชดเชยระหว่างนักวิชาการ นักคิด ปักปราชญ์ หรือผู้นำศาสนา และนักการเมืองคุณภาพ กับบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือคนงานธรรมดาคนหนึ่ง
อีกประเด็นหนึ่งบทบาทเรื่องความปลอดภัยของผู้ชายคนหนึ่งในครอบครัว เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ชายนั่นเองที่เป็นผู้นำพาความสงบสุขมาสู่ครอบครัว เป็นผู้ปกป้องความปลอดภัยของครอบครัวโดยไม่ให้มีบุคคลอื่นมาระราน ด้วยเหตุนี้ โดยธรรมชาติแล้ว ถ้าหากจะเกิดความเสียหายขึ้นกับครอบครัวในกรณีที่ไม่มีผู้ชายย่อมมีเสียหายมากกว่าการไม่มีผู้หญิง
และแล้วประเด็นสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สำหรับประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้ ได้มีบทบัญญัติทางศาสนาเป็นตัวกำกับไว้ด้วย บนพื้นฐานทางความคิดและคำสอนของศาสนานั้นได้ให้ความสำคัญแก่บุรุษเอาไว้ ประกอบกับทัศนะต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น ด้วยเหตุนี้ ประเด็นเกี่ยวกับค่าปรับหรือค่าสินไหมในอิสลาม จึงได้ถูกบัญญัติขึ้นตามพื้นฐานหน้าที่หลักซึ่งได้มอบไว้ตามเจตนารมณ์เสรีของบุรุษและสตรี ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงกฎเกณฑ์โดยทั่วไปที่มีเหนือระบบครอบครัว อิสลามจึงได้วางกฎนี้ออกมา ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่สามารถคัดค้านได้เลยว่าบทบัญญัติของอิสลามไม่เข้ากันกับสติปัญญา หรือว่าเป็นการเอาเปรียบฝ่ายหญิงแต่อย่างใด
บทบัญญัติทั้งหมดของอิสลามวางอยู่บนพื้นฐานของสิ่งถูกต้อง และความเสียหายอันเฉพาะด้วยความมั่นคง ซึ่งสำหรับทุกๆ กฎเกณฑ์ย่อมมีวิทยปัญญาอันเฉพาะ และสำหรับทุกการร่างบทบัญญัติย่อมมีความดีและสิ่งถูกต้องควบคู่เสมอไป ถ้าหากอิสลามได้ห้ามมนุษย์จากสิ่งหนึ่ง ก็เนื่องจากว่าสิ่งนั้นมีความเสียหายร่วมอยู่อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันถ้าอิสลามได้มีบัญชาให้กระทำสิ่งหนึ่งก็เนื่องจากว่าสิ่งนั้นมีความดีงามแอบแฝงอยู่ แน่นอนว่าการที่เราจะติดตามความดีและไม่ดีของทุกบทบัญญัตินั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่จะมีกฎโดยรวมวางไว้เพื่อช่วยให้เราได้สัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว นั่นคือ สติปัญญาสมบูรณ์ หรือความจริงภายนอก และคำอธิบายของบรรดาผู้นำบริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้เราได้เข้าใจถึงมุมมองหนึ่งของบทบัญญัติเหล่านั้น ดังนั้น การที่อิสลามได้บัญญัติว่า ค่าชดเชย หรือค่าปรับ หรือค่าสินไหมของสตรีนั้นน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นย่อมมีวิทยปัญญาซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ว่า
1) ถ้าหากอิสลามเป็นศาสนาแห่งวัตถุโดยสมบูรณ์ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่วัตถุปัจจัย เศรษฐกิจ และทรัพย์สินเป็นหลัก เวลานั้นได้กำหนดว่า ค่าชดเชยของสตรีน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง ตรงนี้ข้อท้วงติงที่ว่าเป็นการลดคุณค่าของสตรีให้น้อยไปจากบุรุษ เพราะเหตุใดราคาของสตรีจึงมีค่าเพียงครึ่งหนึ่งของบุรุษ จึงจะสมจริง ขณะที่อิสลามถือว่าคุณค่าของมนุษย์นั้นอยู่ที่จิตวิญญาณและจิตด้านในที่มีความสมบูรณ์ของพวกเขา สิ่งที่อิสลามได้ให้ความสำคัญมากที่สุดคือมาตรฐานของคุณค่าอันได้แก่ ความสำรวมตนจากบาป มนุษย์สามารถเป็นเยี่ยงศาสดามูซา (อ.) หรือท่านหญิงมัรย้ม (อ.) ที่สามารถติดต่อกับอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยผ่านวะฮฺยูก็ได้ สตรีและบุรุษที่อยู่ในหนทางของการแสวงหาความจำเริญ และการได้รับตำแหน่งอันสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ มีความเท่าเทียมกันไม่ได้มีความแตกต่างกันแม้แต่น้อยระหว่างบุรุษและสตรี ซึ่งขึ้นอยู่กับความอดทนและความพยายามของแต่ละบุคคล
แต่เรื่องค่า ชดเชย เป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องรายได้ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับร่างกายมนุษย์ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงมีความแตกต่างกันระหว่างค่าชดเชยของผู้นำประเทศ กับพลเมืองที่เป็นคนงานธรรมดาคนหนึ่ง[1]
2) ในมุมมองหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มนุษย์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรีมี 3 ลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
2.1 ความสูงส่งในความเป็นมนุษย์ ประเด็นนี้ไม่มีความแตกต่างกันทั้งบุรุษและสตรี ประกอบกับหนทางที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นมนุษย์แห่งพระเจ้านั้น ก็ไม่มีความจำกัดแต่อย่างใดหนทางเปิดกว้างสำหรับทั้งสองเสมอ
อัลกุรอานบทอันนะฮฺลุ โองการที่ 97 กล่าวว่า “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้มีศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี แน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของ พวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้”
อัลกุรอาน บทอะฮฺซาบ โองการที่ 35 ก็ได้ถึงความหมายดังกล่าวไว้เช่นกัน
2.2 ในแง่ของความรู้ ในมุมมองนี้เช่นกันไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรี อิสลามไม่เคยให้ความแตกต่างในการแสวงหาความรู้ทั้งบุรุษและสตรี รายงานฮะดีซกล่าวว่า
"طلب العلم فریضة على کل مسلم و مسلمة".
การแสวงหารความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งบุรุษและสตรี[2]
อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรีในการแสวงหาความรู้ หรือในแง่ของความรู้ ซึ่งมีโองการกล่าวโดยรวมถึงประเด็นเหล่านี้เกินกว่า 40 โองการด้วยกัน
2.3 ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ระหว่างสตรีและบุรุษตามทัศนะของอิสลามจากรายงานฮะดีซ หน้าที่ด้านนี้มีความแตกต่างกัน เนื่องจากหน้าที่นี้วางอยู่บนพื้นฐานความสามารถ ศักยภาพ และพลังของร่างกาย ซึ่งได้จัดแบ่งไว้แล้วตามลักษณะของจิตวิญญาณระหว่างสตรีและบุรุษ สตรีนั้นในแง่ของการแบกรับภาระด้านเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าบุรุษ แม้ว่าในแง่ของไหวพริบและสติปัญญาทางด้านเศรษฐศาสตร์อาจเท่าเทียมหรือดีกว่าบุรุษก็ตาม แต่การแบกรับภาระอันหนักอึ้งนี้เธออ่อนแอกว่า แม้แต่ในสังคมตะวันตกที่มีค่านิยมและแสดงความเห็นว่าว่าบุรุษและสตรีเท่าเทียมกัน ก็ให้การยอมรับว่าการแบกรับภาระอันหนักอึ้งนี้สตรีอ่อนแอกว่าบุรุษ
ตามความเป็นจริงแล้วสตรีมีหน้าที่หลักคือ การให้กำเนิดบุตร เธอต้องตั้งครรภ์และหลังจากคลอดบุตรแล้วเธอต้องให้นมลูก ต้องคอยดูแลปกปักรักษาและคอยเลี้ยงดูจนกว่าจะเติบโต ดังนั้น ช่วงเวลาตั้งครรภ์และการให้นมนั้นได้บั่นทอนความสามารถของสตรีไปไม่น้อย พลังงานและเวลาของเธอได้ถูกใช้ไปเป็นจำนวนมาก แม้ว่าภารกิจนี้โดยตัวของมันแล้วเป็นงานใหญ่ และมีคุณค่าอันมหาศาล แต่อย่างไรก็ตามงานด้านเศรษฐกิจนั้นต่างไปจากสิ่งที่กล่าวมา อีกด้านหนึ่งโครงสร้างทางกายภาพของสตรีและบุรุษนั้นมีความแตกต่างกัน สตรีนั้นมีร่างกายและโครงสร้างที่อ่อนแอพร้อมที่จะรับผลกระทบและความเสียหายต่างๆ ได้สูง ขณะที่โครงสร้างด้านร่างกายของบุรุษมีความแข็งแรงกว่า มีความอดทนกับความลำบาก และเหมาะสมกับงานหนักต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลนี้เองการงานและอาชีพส่วนใหญ่ในสังคมจึงมีความเหมาะสมกับบุรุษมากกว่า ฉะนั้น เป็นที่ประจักษ์ว่าการปราศจากผู้ชายในสังคม ครอบครัวจะพบกับความเสียหายมากกว่า ด้วยเหตุนี้ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจ่ายค่า ชดเชยจำนวนมากเมื่อสูญเสียบุรุษไป[3]
3. ความว่างเปล่าเนื่องจากครอบครัวปราศจากผู้ชาย นั้นจะมีช่องว่างมากกว่าขาดสตรี จากการค้นคว้าของนักนิติศาสตร์และประวัติศาสตร์[4] ดียะฮฺ หรือค่าชดเชยนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อชดเชยค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิด หรือการก่ออาชญากรรมกับคนๆ หนึ่ง หรือกับครอบครัวหนึ่ง ขณะที่สังคมเป็นสังคมศาสนาภารกิจด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่ จึงอยู่ในการดูแลของบุรุษ ส่วนสตรีมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในครอบครัว เป็นธรรมชาติที่ว่าร่องรอยของงานทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากผู้ชายนั้นมีมากกว่าสตรี ด้วยเหตุนี้การปราศจากผู้ชายไปจากสังคมและครอบครัว ในแง่ของเศรษฐกิจถือว่าเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่ครอบครัว เนื่องจากขาดผู้นำและคนหาเลี้ยงครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ค่าชดเชยของผู้ชายจึงต้องจ่ายตามเหมาะสมกับสถานภาพของเขาในครอบครัว[5]
นอกจากนั้นแล้ว ค่าเลี้ยงดูครอบครัวยังเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ชาย มิใช่ผู้หญิง ด้วยเหตุนี้การสูญเสียผู้ชายไปบรรดาลูกๆ อีกหลายคนที่ต้องอาศัยค่าเลี้ยงดูจากเขายังคงอยู่ ดังนั้น จำเป็นต้องชดเชยในลักษณะเติมเต็มความว่างเปล่าของเขา ด้วยเหตุผลนี้เอง โดยหลักการแล้วค่าชดเชยของผู้ชายจำเป็นต้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งประเด็นนี้มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าใครดีกว่าใคร หรือผู้ชายดีกว่าผู้หญิงแต่อย่างใด ทว่าได้พิจารณาจากองค์ประกอบภายนอกถึงสาเหตุการเสียชีวิตของเขา และบทบาทของเขาในครอบครัวเป็นหลัก[6]
จากสิ่งที่อธิบายมานี้สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาเรื่องค่าชดเชย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณค่าของสตรีหรือบุรุษ อันเป็นสาเหตุให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้นได้รับการทักท้วง อีกด้านหนึ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นหน้าที่ของบุรุษในครอบครัวก็ได้สนับสนุนประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดีว่า ความแตกต่างของค่าชดเชยขึ้นอยู่กับเรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัวเป็นหลัก
ผู้ชายในแง่ของร่างกายทางกายภาพนั้นมีความแข็งแกร่งกว่าสตรี สามารถปฏิบัติหน้าที่หนักได้ การมีอยู่ของผู้ชายสำหรับครอบครัวแล้วถือว่าสร้างความมั่นใจและให้พลังแก่จิตใจได้เป็นอย่างดี อีกด้านหนึ่งการไม่มีผู้ชายในครอบครัวเป็นสาเหตุทำให้ผู้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเขาต้องปราศจากผู้นำ และผู้รับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้ เป็นธรรมดาที่ว่าเมื่อต้องสูญเสียผู้ชายไปเนื่องจากอุบัติเหตุหรือด้วยสาเหตุอื่นๆ ค่าชดเชยของเขาจึงต้องมากกว่าผู้หญิง[7]
สุดท้ายของบทความใคร่จะชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ซึ่งมิได้หลุดพ้นไปจากความการุณย์ของพระเจ้าแต่อย่างใด ประเด็นดังกล่าวคือ
ประการแรก ค่าชดเชยของหญิงซึ่งน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่งนั้น ตราบที่ค่าชดเชยนั้นมีไม่ถึง หนึ่งในสามส่วน มิเช่นนั้นแล้วค่าชดเชยของผู้ชายและผู้หญิงถ้าน้อยกว่า หนึ่งในสามจะเท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้เอง ถ้าเหตุผลที่กล่าวว่า ค่าชดเชยของสตรีน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่งนั้นก็เนื่องจากความพร่องของนาง ดังนั้น ในทุกที่ค่าชดเชยของเธอโดยทั่วไปแล้วต้องน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่ง
ประการที่สอง บุรุษคือผู้ที่ได้รับค่าชดเชยมากกว่าผู้หญิงครึ่งหนึ่ง เขามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชยกรณีที่ญาติของตนได้สังหารชีวิตผู้อื่น หรือก่ออาชญากรรมในลักษณะของความผิดพลาด ขณะที่ผู้หญิงได้รับการยกเว้นในกรณีนี้
เป็นไปได้ว่าในสมัยนี้ สตรีและบุรุษมีความเท่าเทียมกัน สตรีก็ประกอบหน้าที่การงานในสังคม มีการทำธุระกรรมด้านการเงินมากขึ้น มีส่วนร่วมกับผู้ชายในการจัดหาค่าเลี้ยงดูครอบครัว ดังนั้น ในสมัยนี้จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะมากล่าวว่า ค่าชดเชย ของสตรีนั้นน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง
คำตอบ สามารถกล่าวได้ว่า ถูกต้องที่ทุกวันนี้สตรีได้ประกอบอาชีพเยี่ยงบุรุษ หรือเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุรุษในการแสวงหาปัจจัยเลี้ยงดูครอบครัว แต่ขณะเดียวกันสตรีไม่อาจสร้างความสงบหรือความปลอดภัยให้แก่ครอบครัวได้เยี่ยงบุรุษ ตามความเป็นจริงแล้วการปกป้องครอบครัวนั้นสตรีไม่อาจทำได้เยี่ยงบุรุษ ประการที่สอง ดังที่กล่าวไปแล้วว่าอาชีพที่มีรายได้มากจำนวนมากมายในสังคมที่ไม่มีความเหมาะสมกับสภาพร่างกายที่อ่อนแอของสตรี จึงเป็นการผูกขาดไว้ที่ผู้ชาย และเป็นธรรมชาติที่ว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจจากผู้จะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าผลทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเท่าเทียมกัน แล้วเป็นเพราะสาเหตุใดในสังคมที่มีการกล่าวอ้างถึง สิทธิของสตรีตำแหน่งรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง หรือนักกฎหมายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ชาย?
ปัญหาอีกประการหนึ่งที่อาจจะกล่าวเพิ่มได้ในที่นี้ก็คือ ค่าชดเชยของสตรีมีค่าครึ่งหนึ่งของบุรุษ เท่ากับเป็นการแบ่งชนชั้นและให้ความโปรดปรานพิเศษแก่ผู้ชาย
คำตอบ สำหรับคำถามเหล่านี้คือ อิสลามเป็นศาสนาแห่งความเสมอภาค ความเป็นบุรุษและสตรีในแง่ของศาสนาไม่มีความแตกต่างอันใดทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่ค่าชดเชยของฝ่ายหญิงน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่ง นั้นย่อมีความดีอยู่ในนั้น ดังเช่นที่บทบัญญัติอื่นของอิสลามอันเนื่องจากมีวิทยปัญญาอยู่ในนั้น จึงได้ร่างขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สตรี เช่น ถ้าหากมุสลิมตกศาสนา (มุรตัดฟิฎรีย) หมายถึงเป็นมุสลิมและได้ตกสภาพการเป็นมุสลิม แม้ว่าจะขอลุแก่โทษแล้ว บรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกันว่าโทษของเขาคือ การประหารชีวิต แต่ถ้าเป็นสตรีถ้าตกศาสนาและเธอได้ขอลุแก่โทษแล้ว เธอจะได้รับอิสรภาพและดำเนินชีวิตเยี่ยงคนธรรมดาสามัญทั่วไป
หรือการลงโทษบุคคลที่จะก่อกบฏในรัฐอิสลาม ถ้าเป็นชายนอกจากจะได้รับการลงโทษทางกายแล้ว ยังจะถูกเนรเทศไปยังเมืองอื่นอีกด้วย แต่ถ้าเป็นหญิงไม่ต้องถูกเนรเทศ หรือสาเหตุของการยกเลิกการแต่งงาน ถ้าเป็นผู้ชายหลักจากอ่านอักด์นิกาฮฺแล้วกลายเป็นคนวิกลจริต ผู้หญิงมีสิทธิ์ยกเลิกการแต่งงานนั้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าสิ่งนี้ได้เกิดกับผู้หญิง ผู้ชายไม่มีสิทธิ์ยกเลิกการแต่งงาน[8]
[1] ญะวาดี ออมูลีย์ อับดุลลอฮฺ ซันดัรอออีเนะฮฺ ญะลาล วะญะมาล หน้า 400,401
[2] มัจญิลิสซีย์ บิฮารุลอันวาร เล่ม 67 หน้า 68 หมวดที่ 45, มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 17 หน้า 249
[3] มะการิมชีรอซีย์ นาซิร บทเรียนฟิกฮฺระดับสูงหัวข้อ เรื่องค่าชดเชย หนังสือพิมพ์ ฟัยฎียะฮฺ ฉบับที่ 18
[4] ชะฟีอียฺ ซุรูซตานีย์ อิบรอฮีม กฎหมายว่าด้วยเรื่องการชดเชยและความจำกัดของเวลา ศูนย์ค้นคว้าข้อมูลพิเศษสำนักประธานาธิบดี พิมพ์ครั้งแรก
[5] ชะฟีอียฺ ซุรูซตานีย์ อิบรอฮีม ความต่างระหว่างหญิงกับชายในเรื่องการชดเชยและการลงโทษ สะฟีร เระฮฺซุบฮฺ พิมพ์ครั้งแรก หน้า 93
[6] คอมเมเนอี ซัยยิดมุฮัมมัด สิทธิสตรี สำนักพิมพ์ อินติชารอตอิลมี ฟังฮังกีย์ ปี 1375 พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 98
[7] มะฮฺมูดีย อับบาซอะลี ความเสมอภาคระหว่างบุรุษและสตรีในการลงโทษ สำนักพิมพ์ บิอ์ษัต พิมพ์ครั้งแรก ปี 1365 หน้า 83, มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอฮฺ สตรีในสิทธิอิสลาม แปลโดยอับดุลฮาดีย์ ฟะกีฮีย์ ซอเดะฮฺ สำนักพิมพ์สำนักผู้พิพากษา หน้า 24
[8] คัดเลือกมาจากทัศนะของนักปราชญ์แห่งยุคสมัย และริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิลของบรรดามัรญิอ์ทั้งหลาย