การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7494
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7258 รหัสสำเนา 19623
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
คำถาม
เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
คำตอบโดยสังเขป

ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือด แต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกัน
ตามความหมายแรก อิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่าน
แต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:
1. "
ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่ง เนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง
2. มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับ ต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้า ชิวหาพระเจ้า และโลหิตพระเจ้า หมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใด มนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์ หากทรงประสงค์จะตรัส เขาจะเป็นดั่งชิวหา และหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิต เขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์ อิมามฮุเซน(.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์ เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์
เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่า แต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับประเด็นนี้ต้องเรียนว่า ฉายานามดังกล่าวมักใช้กับท่านอิมามอลี(.)และอิมามฮุเซน(.) ดังปรากฏในซิยารัตอิมามฮุเซน(.)ว่า السَّلَامُ عَلَیْکَ یَا ثَارَ اللَّهِ وَ ابْنَ ثَارِهِ [1](ศานติยังท่าน โอ้โลหิตแห่งพระองค์ บุตรของโลหิตแห่งพระองค์)

คำว่าษารุลลอฮ์แปลได้สองความหมายด้วยกัน:
1. 
แปลว่าการชำระหนี้เลือด:
คำว่า พจนานุกรมให้ความหมาย"อัษษะอร์" ว่า الطلب بالدم การชำระด้วยเลือด ตามความหมายนี้ ษารุลลอฮ์ จึงแปลว่าผู้ที่มีอัลลอฮ์เป็นผู้ทวงหนี้เลือด
สำนวนที่ใช้ทวงหนี้เลือดให้อิมามฮุเซนอย่างเช่น " یا لثارات الحسین" เคยเป็นคำขวัญของขบวนการเตาวาบีนและมุคต้ารมาก่อน[2]  อีกทั้งยังเป็นคำขวัญของมวลมะลาอิกะฮ์ที่สถิต  กุโบรอิมามฮุเซนจนถึงการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(.)[3] และจะเป็นคำขวัญของอิมามมะฮ์ดี(.)และสาวกผู้กล้าหาญ[4]ยามที่เริ่มการต่อสู้[5]ด้วย

ความหมายนี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิชาการอิสลาม[6] ซึ่งอธิบายได้ว่า ษารุลลอฮ์ หมายถึงบุคคลที่พระองค์เป็นผู้ถือสิทธิเหนือโลหิตของเขา และจะทรงทวงคืนสิทธิของพระองค์จากผู้ทหลั่งเลือดเขา ทั้งนี้ก็เนื่องจากเขาดังกล่าวมิได้เกี่ยวดองกับครอบครัวหรือเผ่าพันธ์ใดๆเป็นพิเศษ ที่จะรอให้หัวหน้าครอบครัวหรือหัวหน้าเผ่าทวงหนี้เลือดให้  แต่บุคคลดังกล่าวมีความสำคัญต่อมนุษยธรรมและชาวโลก สำคัญต่อโลกและพระผู้สร้าง ฉะนั้น ผู้ที่จะทวงหนี้เลือดเขาก็คือพระเจ้าเท่านั้น นอกจากนี้ บุคคลผู้นี้ยังเป็นบุตรของอลี บิน อบีฏอลิบ ซึ่งเคยพลีชีพแด่พระองค์ อัลลอฮ์จึงจะทรงทวงหนี้เลือดของบุคคลทั้งสองอย่างแน่นอน
2.
แปลว่า โลหิตแห่งอัลลอฮ์:
จากคำกล่าวของอัลลามะฮ์ มัจลิซี เข้าใจได้ว่า ษะอร์ แปลว่าเลือดและการทวงหนี้เลือด[7] สิ่งที่ยืนยันความหมายดังกล่าวก็คือการแปลคำว่า ษะอร์ โดยหนังสือ "ลิซานุ้ลอรับ" ซึ่งระบุว่า الثَّأْرُ الطَّلَبُ بالدَّمِ، و قیل: الدم نفسه ษะอร์ หมายถึงการทวงหนี้เลือด และสามารถแปลได้ว่า เลือด[8] เมื่อรวมแล้วจึงหมายความว่า อิมามฮุเซน(.)เป็นโลหิตของพระองค์
แต่ถามว่าจะยอมรับความหมายดังกล่าวได้อย่างไร? พระองค์มีเนื้อหนังมังสาหรืออย่างไร ที่จะมีเลือด การมโนภาพอัลลอฮ์เช่นนี้ถูกต้องแล้วหรือ?

ต้องเรียนชี้แจงว่า คำบางประเภทอย่างเช่น หัตถาของอัลลอฮ์ ...ฯลฯ ในคติของอิสลามแล้ว มีความหมายเชิงอุปมาอุปไมยทั้งสิ้น[9] ตัวอย่างเช่น หากเรียกอิมามอลี(.)ว่าเป็นหัตถาของอัลลอฮ์ ก็ไม่ได้หมายความว่าพระองค์มีเนื้อหนังมังสา มีมือมีแขน โดยอิมามอลีเป็นมือของพระองค์ แต่หมายความว่าท่านอิมามอลี(.)คือภาพลักษณ์ของพลานุภาพของอัลลอฮ์ คำชี้แจงต่อไปนี้ทำให้สามารถเชื่อมโยงความหมายดังกล่าวของษารุลลอฮ์เข้ากับอิมามฮุเซน(.)ได้:
1. 
การเชื่อมคำว่า ษ้าร เข้ากับคำว่าอัลลอฮ์ เป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง กล่าวคือโลหิตนี้เกี่ยวเนื่องกับอัลลอฮ์ผู้ทรงประเสริฐสุด ทำให้ได้รับเกียรติในฐานะโลหิตที่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากถูกหลั่งในหนทางของพระองค์จึงทำให้มีความเกี่ยวเนื่องกับพระองค์ ดังที่คำว่า
 
هذِهِ ناقَةُ اللَّه [10]ซึ่งเชื่อมระหว่างอูฐกับอัลลอฮ์ หรือคำว่า بیت الله หรือ  عِْندَ بَیْتِکَ الْمُحَرَّم [11] อันเป็นการเชื่อมบ้านกับอัลลอฮ์นั้น ก็ล้วนเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่องทั้งสิ้น[12]
2.
มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับ[13] ต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้า ชิวหาพระเจ้า และโลหิตพระเจ้า หมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใด มนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์ หากทรงประสงค์จะตรัส เขาจะเป็นดั่งชิวหา และหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิต เขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์ อิมามอลีและอิมามฮุเซน(.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์ เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์

อย่างไรก็ดี ในตำรับตำราทางศาสนาของเรา สำนวน "ษารุลลอฮ์" มักจะใช้กับอิมามฮุเซนเป็นหลัก เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่า แต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจจะทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า
จากมุมมองนี้ อิมามฮุเซน(.)เปรียบดั่งโลหิตแห่งพระเจ้า เนื่องจากเลือดของท่านช่วยสูบฉีดให้ศาสนามีชีวิตชีวา ช่วยให้ผู้คนรำลึกถึงอัลลอฮ์ ในยุคที่นามของพระองค์เริ่มเลือนหายไปจากสังคม ในยุคที่ผู้คนทำอิบาดัตเพียงเพราะความเคยชิน

ด้วยเหตุนี้เองที่กล่าวกันว่า อิสลามจุติขึ้นโดยนบี และคงอยู่ต่อไปด้วยอิมามฮุเซน ตราบใดที่มนุษย์ต้องมีเลือดเพื่อมีชีวิตต่อไป และตราบใดที่ชีพจรยังถือเป็นสัญญาณชีวิตมนุษย์ การขาดเลือดย่อมเท่ากับความตาย เช่นเดียวกัน อิสลามก็จำเป็นต้องดำรงอยู่ด้วยการไหลเวียนของโลหิต และหากวันใดโลหิตนี้หมดลง ความหายนะย่อมมาเยือนอิสลาม จะเหลือก็เพียงแค่โครงสร้างศาสนกิจอันปราศจากจิตวิญญาณอิสลาม[14]



[1] กุลัยนี, มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ, อัลกาฟี,เล่ม 4,หน้า 576 ประโยคนี้ปรากฏในบทซิยารัตวันแรกของเราะญับ, กลางเดือนเราะญับและชะอ์บาน และวันอะเราะฟะฮ์

[2] มัจลิซี, มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 45,หน้า 333 และ กะเราะมี,อลี, อาลัยจอมทัพแห่งเสรีภาพ- ประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนที่สุดของกัรบะลา,หน้า 485

[3] มีมะลาอิกะฮ์สี่พันองค์ลงมาเพื่อช่วยเหลืออิมามฮุเซน(.) แต่ได้เห็นว่าท่านถูกสังหารแล้ว จึงยังไว้อาลัยอยู่  กุโบรของท่านและอยู่รอจนถึงวันที่อิมามมะฮ์ดี(.)จะปรากฏกายเพื่อช่วยเหลือ คำขวัญของมะลาอิกะฮ์เหล่านี้คือ "ยาละษารอติ้ลฮุเซน" เชคศ่อดู้ก, อัลอะมาลี,หน้า 130 หมวดมัจลิสที่ยี่สิบเจ็ด และ มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 286

[4] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 52,หน้า 308

[5] กุมี,เชคอับบาส, มุนตะฮัลอาม้าล,เล่ม 1,หน้า 542 นอกจากนี้ อิมามบากิร(.)ยังเคยกล่าวว่า " وَ الْقَائِمُ مِنَّا إِذَا قَامَ طَلَبَ بِثَأْرِ الْحُسَیْنِ (ع‏)" บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 218

[6] ผู้ประพันธ์ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์กล่าวว่า ษ้าร ในภาษาอรับมิได้แปลว่าเลือด แต่แปลว่า "หนี้เลือด" (ส่วนเลือดมักจะใช้คำว่า ดัม แทน) และ มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 4,หน้า 229

[7] ท่านได้อธิบายประโยคที่ว่า و أنک ثار الله فی الأرض ว่า الثأر بالهمز، الدم و طلب الدم أی أنک أهل ثار الله و الذی یطلب الله بدمه من أعدائه أو هو الطالب بدمه و دماء أهل بیته بأمر الله فی الرجعة บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 98,หน้า 151

[8] อิบนิ มันซู้ร, มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม,ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 4,หน้า 97

[9] ดู: มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม4,หน้า 229และ กะรออะตี,มุฮ์ซิน,ตัฟซี้ร นู้ร,เล่ม 2,หน้า 443

[10] ฮู้ด, 64

[11] อิบรอฮีม, 37

[12] «هذِهِ ناقَةُ اللَّهِ» الإضافة إلى الله تشریفیة، کإضافة مکة إلى الله یقال: «بیت الله»، و إضافة دم الحسین (ع) إلى الله، یقال: «ثار الله» ดู: ฮุซัยนี ชีรอซี,ซัยยิด มุฮัมมัด, ตักรีบุ้ลกุรอาน อิลัล อัซฮาน, เล่ม 2,หน้า 200

[13] ปัจจัยที่ช่วยให้มนุษย์ชิดใกล้พระองค์มากขึ้นนั้น ประกอบด้วย ภาคอาสา หมายถึงศาสนกิจที่พระองค์มิได้บังคับ แต่มนุษย์อาสาปฏิบัติเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดพระองค์ แลภาคบังคับ หมายถึงศาสนกิจที่พระองค์กำชับให้กระทำ ซึ่งมนุษย์ได้รับความใกล้ชิดจากการปฏิบัติตามคำบัญชา

[14] อ่านเพิ่มเติม ดู: ทัรคอน,กอซิม,บุคลิกภาพและการต่อสู้ของอิมามฮุเซน(.)จากปริทรรศน์อิรฟาน ปรัชญา และเทววิทยา,หน้า 91- 104 แหล่งอ้างอิงทั้งหมดอ้างอิงจากโปรแกรมคอมฯนู้ร

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • บรรดามลาอิกะฮฺมีอายุขัยนานเท่าใด ?มลาอิกะฮฺชั้นใกล้ชิดต้องตายด้วยหรือไม่? เป็นอย่างไร?
    15096 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ตามรายงานกล่าวว่ามวลมลาอิกะฮฺถูกสร้างหลังจากการสร้างรูฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) พวกเขาทั้งหมดแม้แต่ญิบรออีล,
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6891 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...
  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    7695 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26035 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    6459 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน
  • เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
    8848 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืมองค์พระผู้อภิบาลซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้าการใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์
  • มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
    8065 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณี –ยกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาปและต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    6560 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6929 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
    8299 วิทยาการกุรอาน 2557/01/22
    ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60329 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57870 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42429 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39693 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39091 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34178 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28213 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28156 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28084 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26035 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...