Please Wait
12947
การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร บางครั้งไม่สมบูรณ์และเลยเถิด
การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร วิธีการนี้มีปัญหาหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :
1.ขัดแย้งกับซุนนะฮฺและการบริบาลของอัลลอฮฺ, เนื่องจากซุนนะฮฺและพระประสงค์ของอัลลอฮฺคือ ต้องการให้มนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ด้วยเจตนารมณ์เสรี และด้วยเครื่องมือและสื่อที่มีอยู่ หมายถึงการผ่านทางหลงผิดและการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั่นเอง
2.ประเด็นที่ศาสนาของพระเจ้าได้ห้ามไว้ แต่ก็ยังพบความแปลกปลอมของคนอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งกรณีนี้ยังไม่เคยพบว่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และตัวแทนของท่านเหล่านั้นได้ปลีกวิเวกและตัดขาดจากสังคมมนุษย์โดยสิ้นเชิง
3.การปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม มีความขัดแย้งกับจิตวิญญาณคำสอนของศาสนาและมนุษย์ เฉกเช่นการรักษาสิทธิของผู้ศรัทธา, การประพฤติดีกับบิดามารดา, การเยี่ยมเยือนพี่น้องผู้ศรัทธาร่วมสายธารเดียวกัน, การทำให้ความต้องการของผู้ศรัทธาสัมฤทธิ์ผล, การปรับปรุงแก้ไขระหว่างประชาชาติ และ ...อีกมากมาย
4.ไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างการปฏิบัติพิธีกรรมตามคำสั่งสอนของศาสนา กับชีวิตทางสังคม มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตร่วมไปในสังคม ขณะที่เขาจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่จำเป็นทางศาสนาควบคู่ไปด้วย และต้องมีความกระตือรือร้นในการรับใช้พวกเขา แม้ว่าในสังคมจะมีผู้คนคิดเหมือนท่านที่ว่า ความชั่วได้กระจายไปทั่วสังคมแล้วก็ตาม
ตามทัศนะของอิสลามในกรณีเช่นนี้ หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ศรัทธา ในฐานะของผู้ทำความสะอาดสภาพแวดล้อมของสังคม และพยายามที่จะให้บริการประชาชนย่อมมีมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
การถือสันโดษ หรือปลีกวิเวก หรือปาวนาตนเป็นนักบวช หมายถึงการปลีกตัวไปจากสังคมและประชาชนไปอยู่ตามลำพังผู้เดียว[1] ซึ่งมีหลายประเภทด้วยกัน กล่าวคือ
1.การปลีกตัวไปอย่างสมบูรณ์และถาวร
2.การปลีกตัวที่ไม่สมบูรณ์ชั่วครู่ชั่วยาม
การปลีกตัวประเภทแรกถือว่า ไม่อนุญาต แต่การปลีกตัวหรือหลบหน้าสังคมและประชาชนไปชั่วคราว ในช่วงเวลาอันจำกัดโดยมีจุดประสงค์เพื่อการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ หรือเพื่อการขัดเกลาและการจาริกจิตใจไม่เป็นไร
บรรดาศาสดาส่วนใหญ่และผู้เป็นตัวแทนของท่าน มักจะปลีกตัวไปจากสังคมและประชาชนชั่วขณะหนึ่ง เพื่อการขัดเกลาและยกระดับจิตใจ[2] ใช้เวลาส่วนใหญ่เหล่านั้นนมาซ อธิษฐาน คิด และรำลึกถึงอัลลอฮฺ
เหตุผลการประณามและการวิพากษ์วิจารณ์การปลีกตัวประเภทแรก :
1. มีชนกลุ่มหนึ่งจากศาสนาของมูซา (อ.) และอีซา (อ.) ซึ่งมีจำนวนน้อยนิด แต่ได้หนีการปกครองที่อธรรม,เนื่องจากความหวาดกลัวในชีวิตและทรัพย์สินและศาสนาของตน พวกเขาจึงได้ปลีกตัวไปจากสังคมและประชาชน เพื่อการอิบาดะฮฺ[3]
มุสลิมบางกลุ่มคิดว่าการปลีกวิเวกไปอยู่อย่างสันโดษ เป็นวิธีการที่ถูกยอมรับ พวกเขาจึงเลือกปลีกตัวไปถือสันโดษ, แต่ได้รับการห้ามปรามจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่หลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อำลาจากโลกไปแล้ว ก็ยังมีมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งในนามของ พวกซูฟีย์ เลือกการถือสันโดษเพื่อปฏิบัติศาสนกิจส่วนตัว ขัดเกลา และจาริกจิต แต่ได้รับการห้ามปรามและไม่ได้รับการสนับสนุนจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)[4]
2.บรรดาศาสดาแห่งอัลลอฮฺ อัครสาวกและตัวแทนของพวกท่าน, แม้ว่าในช่วงสั้นๆ ของชีวิตท่านเหล่านั้นจะปลีกตัวไปสังคมและประชาชนก็ตาม แต่ในช่วงสั้นๆ นั่นเองท่านมีจุดประสงค์เพื่อการเตรียมพร้อมตัวเองให้มากยิ่งขึ้น เพื่อการยอมรับพระบัญชาของพระเจ้าที่ดีและมากกว่า ในการประกาศสั่งสอนประชาชน, ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าไม่มีใครแม้แต่คนเดียวจากท่านเหล่านั้นได้ปลีกตัวไปอย่างสมบูรณ์และถาวร พวกเขาได้มีส่วนร่วมกับประชาชนในการต่อสู้กับผู้ปกครองที่อธรรม และอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนมาโดยตลอด
3.ซุนนะอฺและการบริบาลของพระเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของประชาชน จะต้องจัดเตรียมพร้อมทั้งอุปกรณ์ที่นำไปสู่การหลงผิด และอุปกรณ์ที่นำไปสู่การชี้นำทาง, เนื่องจากความสมบูรณ์ของมนุษย์นั้นต้องผ่านสื่อต่างๆ เหล่านี้ไปให้ได้
ด้วยเหตุนี้เอง การปลีกตัวไปอยู่อย่างสันโดษ,ถือเป็นตัวการสำคัญหนึ่ง ที่ทำลายความจำเริญก้าวหน้าและการอบรมสั่งสอนจิตวิญญาณของศาสนาให้สูญสิ้นไป
4.ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า นักบวชในหมู่ประชาชาติของฉันคือ การอพยพ, การญิฮาด,นมาซ, ถือศีลอด, การประกอบพิธีฮัจญฺ และอุมเราะฮฺ[5]
ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวประโยคหนึ่งที่เน้นเฉพาะศาสนาอิสลามว่า “การปลีกวิเวกเพื่อความสันโดษ โดยห่างไกลจากประชาชนและสังคม ไม่มีอยู่ในคำสอนของศาสนาอิสลาม”[6]
5.การปลีกวิเวกเพื่อถือสันโดษสมบูรณ์และถาวรไปจากประชาชน มีความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงกับจิตวิญญาณคำสอนของศาสนา เช่น การรักษาสิทธิของมวลผู้ศรัทธา, การประพฤติดีกับบิดามารดา,การเยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ศรัทธาร่วมสายธารเดียวกัน, การทำให้ความต้องการของผู้ศรัทธาสัมฤทธิ์ผล,การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในหมู่ประชาชน, การให้อาหารแก่ผู้ศรัทธา, การช่วยเหลือภารกิจการงานของผู้ศรัทธา, การรักษาสัมพันธ์ทางเครือญาติ และ ...อื่นๆ อีกมากมาย[7]
ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ ระหว่างการปฏิบัติพิธีกรรมตามคำสั่งสอนของศาสนา กับการดำรงชีวิตทางสังคมไม่มีความขัดแย้งกันแม้แต่นิดเดียว, ทว่าการปลีกตัวในชีวิตทางสังคมควบคู่กับการักษาวัตถุประสงค์ของสิ่งนั้น เราก็สามารถกระทำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากจิตวิญญาณของพิธีกรรมทางศาสนาคือการปลีกตัวหาเวลาว่าง, ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างไปจากการออกห่างประชาชนและสังคม เช่น การดำรงวุฎูอฺเสมอ, การรำลึกถึงอัลลอฮฺและอ่านอัลกุรอานประจำ, การนอนน้อย, การพูดน้อย, การรับประทานน้อย, เพื่อปาวนาตัวเองให้อยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของอัลลอฮฺ และ ...[8] ซึ่งขณะที่เราใช้ชิวิตอยู่ในสังคมก็สามารถรักษาสิ่งเหล่านี้ควบคู่ไปด้วยได้อย่างไร้ปัญหา เนื่องจากเป้าหมายโดยแท้จริงของสิ่งนี้ก็คือ ความสมบูรณ์ของศาสนา การรักษาเวลา การพิจารณาสภาพของจิตและความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติ ซึ่งเป้าหมายทั้งหมดเหล่านี้คือวัตถุประสงค์ที่สามารถทำให้เกิดได้ในชีวิตทางสังคมและศาสนา
นอกจากนี้แล้วการอยู่ร่วมกับประชาชนในสังคม จะไม่มีปัญหาเรืองการปลีกวิเวกเพื่อความสันโดษแต่อย่างใด
สรุปก็คือว่า มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในสภาพเช่นใดก็สามารถรำลึกถึงอัลลอฮฺได้ทั้งสิ้น และยังสามารถขัดเกลา จาริก และยกระดับจิตใจตนให้สูงได้ตลอดเวลาอีกด้วย
[1] อัตตะรีฟาต,ซัยยิดชรีฟ อะลี บินมุฮัมมัด ญุรญานียฺ, หมวด ฆัยน์, นิยามของซูฟียฺ, กะมาลุดดีน อับดุรเราะซาก กาชานีย์, หมวดอักษร คอ, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 173.
[2] มิอฺรอจญ์ สะอาดะฮฺ, หน้า 569.
[3] ตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 178.
[4] มิซบาฮุลฮิดายะฮฺ, หน้า 115.
[5] ตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 178.
[6] อุซูลกาฟีย์, กิตาบอีมานวะกุฟร์, หมวดชะรอยิอ์, เล่ม 1.
[7] อุซูลกาฟีย์, กิตาบอีมานวะกุฟร์, กิตาบดุอาอฺ, กิตาบมะอาชิรัต.
[8] เคมีสะอาดะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 454, มิซบาฮุลฮิดายะฮฺ, หน้า 117, อะวาริฟุล มะอาริฟ, หน้า 213, 220