Please Wait
7133
1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง
2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ของมนุษย์ในเงื่อนไขเหล่านี้จะมีการพัฒนาและเจริญเติบโต
3.ในโลกแห่งการมีอยู่นั้นจะไม่มีความชั่วร้ายที่สุด (กล่าวคือสรรพสิ่งซึ่งไม่มีความสวยงามในทุกด้าน และไม่มีความดีเหลืออยู่เลย) หรือมีความชั่วร้ายอย่างมากมาย
สำหรับความชัดเจนในคำตอบ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
- โลกนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม,ต้นไม้ดอกที่ปลูกอยู่ในกระถางที่มีความสวยงาม ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในสวนมีความสวยสดและเขียวขจี ทารกน้อยที่นอนอยู่ในเปล และรวมไปถึงทุกสรรพสิ่งที่อยู่รายลอบตัวเรา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? เช่น ต้นไม้ในกระถางถ้าหากเราไม่ดูแลรักษา ไม่ลดน้ำ ต้นไม้นั้นจะเติบโตขึ้นมาได้ไหม? ดังนั้น การที่ต้นไม้ในกระถางจะยังคงอยู่ต่อไปได้ก็ขึ้นอยู่กับเรา ซึ่งได้ลดน้ำอยู่เสมอ แน่นอน ถ้าไม่มีเมล็ดพันธ์ที่เจริญงอกเงย หรือเครื่องหมายที่เหมาะสมเพียงพอแล้ว ดอกไม้นั้นจะไม่เปล่งบานออกมาอย่างแน่นอน ดอกไม้ได้ใช้ออกซิเจน และแก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ แน่นอน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ มวลไม้เหล่านั้นจะไม่มีวันชูช่อออกดอก และไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ และในความเป็นจริงแล้วไม้ดอกเหล่านั้นโดยตัวของมันแล้วก็จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ กล่าวคือ เมื่อแก๊สต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมันก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ถ้าหากได้รับออกซิเจน ออกซิเจนก็จะลดน้อยลงไป แต่ถ้ารับเอาคาร์บอนได้ออกไซเข้าไป ออกซิเจนก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จะเห็นว่าไม้ดอกมีความสัมพันธ์กับอากาศที่อยู่รายลอบตัวเอง มิใช่อากาศมีความเป็นเอกเทศไปจากกระถางใบ และมิใช่ไม้ดอกจะเป็นอิสระไปจากอากาศ ความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นเองเราก็จะพบในหมู่บรรดาสรรพสัตว์ด้วยเหมือนกัน หรือแม้แต่สรรพสิ่งที่ไม่มีชีวิต ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านั้น ก็จะพบว่าทุกปรากฏการณ์ได้เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ก่อนหน้านั้น, ดวงอาทิตย์ได้ฉายแสงเหนือผิวน้ำ น้ำก็จะเหยกลายเป็นไอ, และไอน้ำก็จะกลายเป็นกลุ่มเมฆ, แล้วกลุ่มเมฆจะรวมตัวกันแล้วกลายเป็นฝนหรือหิมะตกลงมา, ชุบชีวิตพื้นดินที่แห้งแล้งให้มีชีวิตขึ้นมาใหม่,มวลไม้พันธ์และความโปรดปรานอีกหลายพันชนิดได้งอกเงยขึ้นจากพื้นดินนั้น แต่ถ้าพื้นดินที่สูญเสียสภาวะการดูดซับน้ำ น้ำฝนนั้นก็จะกลับกลายเป็นอุทกภัยน้ำท่วมนำความเสียหายมาสู่ และนี่คือระบบที่ปกครองโลกนี้อยู่ ระบบที่มีความเหมาะสม สอดคล้อง มีผลและบังเกิดผลแก่กันและกัน ซึ่งสิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องการเหตุผลในเชิงปรัชญามาอธิบายแต่อย่างใด เพราะทุกคนก็สามารถทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ และความเป็นเอกภาพของระบบได้ตามศักยภาพ และความรู้ของตน แน่นอนว่าถ้าความรู้ของเรามีความแม่นยำ และมีความกว้างขึ้นมากเท่าใด เราก็จะตระหนักถึงความลึกของความสัมพันธ์ และความดีของการสร้างมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่า โลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถยอมรับคำกล่าวทำนองนี้ได้[1]
- ความเมตตาและความปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานของวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์และบรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์[2] และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้น เพื่อจะได้ไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งอีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ของมนุษย์ในเงื่อนไขเหล่านี้จะมีการพัฒนาและเจริญเติบโต
- ในโลกแห่งการมีอยู่นั้นจะไม่มีความชั่วร้ายที่สุด (กล่าวคือสรรพสิ่งซึ่งไม่มีความสวยงามในทุกด้าน และไม่มีความดีเหลืออยู่เลย) หรือมีความชั่วร้ายอย่างมากมาย ทว่าถ้ามีบางสิ่งบางอย่างในด้านหนึ่งไม่ดี และอีกด้านหนึ่งดี, ด้วยเหตุนี้เองเราจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนั้นไม่ดี, การผ่าตัดด้านหนึ่งสร้างความเจ็บปวดและทรมาน แต่โดยรวมแล้วปวงผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย ต่างมองว่านั้นคือการกระทำที่ถูกต้องและดี
- การสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่ดี ซึ่งดูจากภายนอกแล้วน่าเกลียด ขึ้นมาบนโลกนี้ย่อมมีปรัชญาอันเฉพาะแอบแฝงอยู่ ซึ่งจะของชี้แจงบางประเด็นเหล่านั้น
ก) ถ้าหากความเมตตา, มีความต่อเนื่องและเป็นไปในลักษณะเดียวกัน ก็จะสูญเสียคุณค่าของตนไป ถ้าหากตลอดอายุขัยของตนไม่เคยไม่สบาย เขาก็จะไม่มีวันรู้จักว่าพลานามัยที่สมบูรณ์คืออะไร, แน่นอน การใช้ชีวิตโดยทั่วไปในรูปแบบที่เหมือนกัน ย่อมนำพามาซึ่งความเบื่อหน่าย บางครั้งก็หน้าผิดหวังและบางครั้งร้ายแรง, เพราะเหตุใดโลกธรรมชาติจึงมีความสวยงานขนาดนั้น? เพราะเหตุใดภูมิทัศน์ที่เป็นป่าไม้เขียวขจี ขึ้นอยู่ตามภูเขาต่างๆ มีลำธารไหลผ่านต้นไม้ใหญ่น้อยและภูเขาเหล่านั้น เสียงมวลวิหคระคนเคล้ากับเสียงลมและเสียงน้ำตำ มันช่างดึงดูดใจและให้ความหรรษาแก่จิตใจเป็นอย่างยิ่ง เพราอะไร? เหตุผลอันชัดแจ้งประการหนึ่งคือ สิ่งเหล่านั้นมีความหลายหลาย มิได้เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ระบบของแสงสว่าง ความมืด การมาและจากไปของทิวาและราตรี ซึ่งอัลกุรอาน ได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้เอาไว้ ก็เพื่อต้องการจะบอกว่า สิ้นสุดแล้วสำหรับการดำรงชีวิตไปในลักษณะเดียวกันของมนุษย์ บางครั้งเราจะเห็นว่าปัญหาบางประการ และเหตุการณ์บางเหตุการณ์ ที่ผลกระทบที่หลายหลากซึ่งให้จิตวิญญาณแก่ชีวิตเป็นที่สุด สร้างความชื่นมื่น และทำให้เราสามารถอดทนต่อสิ่งเหล่านั้นได้ ตรงนี้จะเห็นว่าคุณค่าของความโปรดปรานจะปรากฏชัดเจนขึ้นมาทันที
ฉะนั้น ไม่ว่าภายนอกของโลกนี้จะดูว่ามีความน่าเกลียด ไม่มีความเหมาะสม แต่ภายในของมันไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากความสวยงามและความเมตตาปรานีของพระเจ้า
ข) ถ้าสมมติว่าไม่มีความน่าเกลียด หรือไม่มีความชั่วร้ายภายนอกอยู่เลย ก็จะทำให้มนุษย์ไม่มีความกระตือรือร้นในการรู้จักธรรมชาติ รู้จักกลไกลต่างๆ ของโลก และจะไม่ให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านั้น การรู้จักธรรมชาติผลของมันคือ การรู้จักมนุษย์และพระเจ้าให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งมนุษย์และพระเจ้าคือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด ซึ่งถ้าจะนำเอาโลกธรรมชาติทั้งหมดมาเปรียบเทียบแล้วละก็ จะไม่สามารถเทียบเท่าคุณค่าของทั้งสองได้เลย เฉกเช่น อัญมลีอันล้ำค่าแม้ว่าจะเอาก้อนกรวด ก้อนทราย หรือดินไปเทรอบๆ นั้น ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเพชรให้เป็นอย่างอื่นได้ เพชรยังคงเป็นเพชรอยู่เหมือนเดิม สิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด เป็นเพียงปฐมบทสำหรับการสร้างมนุษย์ให้เกิดมาบนโลกนี้ ดังนั้น มนุษย์คือปวงผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีเจตนารมณ์เสรี เขาจำเป็นต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของเขา และความน่าเกลียดของสรรพสิ่งทั้งหลายก็ต้องมีอยู่ เพื่อเป็นเงื่อนไขต่อการสร้างความสมบูรณ์แก่มนุษย์
ฉะนั้น โลกใบนี้มีพระเจ้าเพียงองค์เดียว พระเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงปรานี และทุกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและมีอยู่นั้น ในการมีอยู่ของตัวมันสวยงามและดีสำหรับตัวมัน
[1]การรู้จักอิสลาม,ชะฮีดเบเฮชตียฺ และคนอื่น, เตหะราน, สำนักพิมพ์เผยแผ่วัฒนธรรม อิลาม, พิมพ์คั้งที่ 7, 1370, หน้า 55-86, มะอาริฟกุรอาน, ศาสดาจารย์มุฮัมมัดตะกียฺ มิซบาฮ์, กุม,ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 84, 85, 92, 93-217, มะฮาเฎาะรอต ฟิลอิลาฮียาต, ศาสดาจารย์ญะอฺฟัร ซุบฮานี (ย่อสรุปโดยอะลี ร็อบบานียฺ ฆุลภัยฆอนียฺ กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 6, ปี 1418, หน้า 21, บิดายะตุลมะอาริฟ อัลอิลาอียะฮฺ ฟีชัรฮิ อะกออิด อัลอิมามียะฮฺ, ซัยยิด มุฮฺซิน คัรรอซีย์, กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 37
[2] กัชฟุล มะรอด ฟีชัรฮิ ตัจญฺรีด อัลอิอฺติกอด, อัลลามะฮฺ ฮิลลียฺ,ค้นคว้าโดยอัลลามะฮฺ ฮะซัน ซอเดะฮฺ, กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 8, ปี ฮศ. 1419, หน้า 444-449, ตักรีบุลมะอาริฟ ฟิลกะลาม,เชคตะกียุดดีน อบิล ซิลาฮฺ ฮะละบียฺ, ค้นคว้าโดย ริฏอ อุสตาดี กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, ปี 1363 หน้า 42, 65, 82, อัซซะคีเราะฮฺ ฟิลกะลาม, ชรีฟ มุรตะฎอ อะลัมมุลฮุดา, ค้นคว้าโดยซัยยิด อะฮฺมัด ฮุซัยนี, กุม ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ไม่ทราบ ปี 1411, หน้า 186,