Please Wait
6136
อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้
อัลกุรอาน กล่าวถึงวันกิยามะฮฺในฐานะสถานพำนักหลักสำหรับมนุษย์ ด้วยนามชื่อที่แตกต่างกัน เช่น อัลวากิอะฮฺ, อัรรอญิฟะฮฺ, อัฏฏอมะฮฺ, อัซซอเคาะฮฺ, อัลฮากเกาะฮฺ, เยามุลฟัฎล์, เยามุลนะดิม, เยามุลนุชูร,เยามุลฮัก, เยามุลมัซอะละฮฺ, เยามุลฮิซาบ, เยามุลมะฮาซิบะฮฺ, เยามุลตะลาก, และเยามุลฮัซเราะฮฺ, ซึ่งคำเหล่านี้ถูกกล่าวในอัลกุรอานในฐานะของ วันกิยามะฮฺ
ความหมายของ ฮัซรัต :
ความหมายเดิมของคำว่า ฮัซรัต คือการเปิดเผยชัดเจน ความชัดเจน[1]มีคำกล่าวว่าเนื่องจากวันกิยามะฮฺความจริง และความเร้นลับต่างๆ จะถูกเปิดเผยชัดเจนออกมา (วันซึ่งความเร้นลับภายในของบุคคลจะถูกเปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน)[2] และวันนั้นเรียกว่า วันแห่งความเสียใจ[3] คำว่า ฮัซรัต ยังถูกใช้ในความหมายอื่นอีก เช่น ในความหมายว่า “การสำนึกผิด” (เนื่องจากสิ่งหนึ่งได้หลุดลอยมือไป และไม่สามารถทดแทนสิ่งนั้นได้อีก) และเนื่องจากว่าผลของการเปิดเผยความจริงอันชัดเจน, เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องเสียใจและสำนึกผิดในสิ่งที่ได้กระทำลงไป, จึงเรียกวันนั้นว่า วันแห่งความเสียใจ ซึ่งการนำไปใช้ในลักษณะนี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นการใช้ในความหมายสำรองมากกว่า. ทำนองเดียวกันบางครั้งกล่าวว่า ฮัซรัต ก็ถูกนำไปใช้ในความหมายว่า การตกค้างจากการขับเคลื่อน ดังนั้น ตามคำอธิบายข้างต้นจะเห็นว่า ในวันกิยามะฮฺมนุษย์จะตกค้างจากขบวนการขับเคลื่อน และเขาไม่สามารถกระทำการงานอื่นใดต่อไปได้อีก งานของเขาจะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งตามคำอธิบายของอัลกุรอาน »ในวันนั้นขณะที่ทุกสิ่งสิ้นสุดลง«[4] ซึ่งไม่อาจทดแทนได้อีกต่อไป, ดังนั้น วันฟื้นคืนชีพถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจ ทำนองเดียวกันบางครั้งหมายถึง ความหวาดกลัวและกังวล ซึ่งวันกิยามะฮฺได้ถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจและเป็นกังวล เนื่องจากในวันนั้นมนุษย์จะได้เห็นฉากใหม่ๆ ที่แปลกประหลาด พวกเขาจะกังวลและมีความงงงวย พร้อมกับความระหนเป็นที่สุด
ส่วนการที่กล่าวว่า “ดารุลฮัซเราะฮฺ” มิได้มีการกล่าวไว้ในตำราศาสนาแต่อย่างใด ทั้งในอัลกุรอาน และฮะดีซ แต่ประโยคที่ว่า »เยามุลฮัซเราะฮฺ« มีกล่าวไว้ทั้งในอัลกุรอานและฮะดีซ
อัลกุรอาน กล่าวว่า : »โอ้ เราะซูลจงเตือนสำทับพวกเขาถึงวันแห่งความเสียใจ ขณะที่วันนั้นทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง และพวกเขาอยู่ในหลงลืมและพวกเขาไม่มีศรัทธา«[5]
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวอธิบายไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : จากบริบทของโองการเข้าใจได้ว่าสาเหตุของความเสียใจของพวกเขาคือ การงานของพวกเขาได้สิ้นสุดลง และพวกเขากำลังติดตามผลงานของตน ต่อมาทราบว่าพวกเขาได้รับความเสียหายและขาดทุนยิ่ง สิ่งที่พวกเขาได้พยายามสั่งสมไว้ ได้อันตรธานหายไปจากมือ ซึ่งโองการกล่าวต่อไปว่า : สาเหตุของความเสียหายของพวกเขาคือ การหลงลืมของพวกเขาบนโลกนี้นั่นเอง[6]
วันแห่งความเสียใจ, คือวันซึ่งประชาชนรู้สึกหดหู่และเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความเพิกเฉยและเลยในการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ[7] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : »ความหายนะประสบแด่บุคคลที่หลงลืมและเพิกเฉย ซึ่งอายุขัยของเขาต่อต้านการดำรงอยู่ของเขา มิหนำซ้ำชีวิตประจำวันของเขายังฉุดกระชากเขาไปสู่ความอับโชค«[8]
มีรายงานฮะดีซที่สวยงามหลายบท กล่าวอธิบายไว้ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺและซุนนียฺ โดยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวว่าบรรดามะอฺซูม (อ.) ได้อธิบายโองการดังกล่าวด้วยตัวอย่างที่งดงามยิ่ง มีผู้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) เกี่ยวกับโองการดังกล่าว, ท่านอิมาม กล่าวว่า : »หลังจากชาวสวรรค์ได้เข้าสู่สวรรค์ และชาวนรกได้ถูกนำตัวสู่นรกแล้ว, จะมีเสียงเรียกดังมาจากพระผู้เป็นเจ้าว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย และโอ้ บรรดาชาวนรก พวกเธอรู้ไหมว่าความตายจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร. มีเสียงตอบว่า ไม่. อุปมาความตายประหนึ่งแกะตอนตัวผู้สีเทา ซึ่งจะอยู่ระหว่างสวรรค์และนรก. หลังจากนั้นได้เรียกทั้งหมดให้เข้ามาใกล้ๆ และจงมองดูความตายเถิด, หลังจากเข้ามาใกล้ๆ แล้ว, อัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้เชือดสัตว์ แล้วมีเสียงกล่าวว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย จะได้พำนักอยู่ในสวรรค์ตลอดไป จะไม่มีวันตาย ความหายนะจงมีแด่ชาวนรก ซึ่งพวกเจ้าจะได้พำนักอยู่ในนรกตลอดไป โดยไม่ตาย« หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า : นี่คือคำอธิบายของพระเจ้า ที่ตรัสว่า : »จงทำให้พวกเขากลัววันแห่งความเสียใจ, ในเวลานั้นขณะที่ทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง แต่พวกเขาอยู่ในระหว่างการหลงลืม และไม่ศรัทธา« หมายถึงการงานของชาวสวรรค์ ได้ทำให้พวกเขาธำรงเป็นนิจนิรันดร์อยู่ในสวรรค์ และการงานของชาวนรก ได้ทำให้พวกเขาธำรงอยู่ในนรกตลอดไป«[9] แหล่งอ้างอิงบางฉบับ ได้รายงานฮะดีซต่อไปอีกว่า : » ชาวสวรรค์มีความปิติยินเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะความดีใจ ส่วนชาวนรกจะส่งเสียงตะโกนโหวกเหวก ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะ ความเสียใจ«[10]
ใช่, ในโลกนั้นบรรดาพวกที่ทำความผิด ต่างแสดงความเสียใจและสำนึกผิดว่า เพราะอะไรพวกเขาจึงไม่ทำความดี และผู้ที่ประกอบความดีก็จะเสียใจเช่นกันว่า โอ้ พระเจ้า ทำไมเราจึงไม่ทำความดีงามให้มากกว่านี้.ชาวสวรรค์ในเวลานั้นยังมิได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ เขาจะเสียใจและกล่าวประณามถากถางตัวเอง[11]
ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : จะมีสองคนในวันฟื้นคืนชีพแสดงความเสียใจมากกว่าใครทั้งหมด, หนึ่งในนั้นคือ บุคคลที่สามารถใฝ่หาความรู้ได้บนโลกได้, แต่ว่าไม่ได้กระทำ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ผู้ที่ได้สอนความรู้แก่คนอื่น ซึ่งผู้เรียนรู้ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น, แต่ส่วนเขามิได้รับประโยชน์อันใดจากความรู้ของตน«[12]
การงานไม่ดีและความเฉยเมยทางโลก จะมีความเสียใจตามไปในปรโลกหน้า[13]
[1] อัลอัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 134, ลิซานุลอาเราะบี, เล่ม 4, หน้า 189.
[2] บทอัฏฏอริก, 9.
[3] เราฎุลญินาน และเราฮุลญินาน, เล่ม 13, หน้า 83
[4] บทมัรยัม, 39.
[5] وَ أَنْذِرْهُمْ يَوْمَ الْحَسْرَةِ إِذْ قُضِيَ الْأَمْرُ وَ هُمْ في غَفْلَةٍ وَ هُمْ لا يُؤْمِنُونบทมัรยัม, 39.
[6] อัลมีซาน, เล่ม14. หน้า 51
[7] อัตติบยาน,เล่ม 7,หน้า 127
[8] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เฟฎุลอิสลาม, คำเทศนาที่ 63, หน้า 153.
[9] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 346, และรายงานที่คล้ายกันบันทึกอยู่ใน เซาะฮียฺบุคอรียฺ เล่ม 5, หน้า 236, และในแหล่งอ้างอิงอีกจำนวนมากของชีอะฮฺ และซุนนียฺ
[10] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 345,
[11] กันซุลอุมาล, เล่ม 1, ฮะดีซที่ 1806
[12] นะฮฺญุลฟะซอฮะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 245.
[13] ฆุรรอรุลฮะกัม, ฮะดีซ 10626.