การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13633
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa319 รหัสสำเนา 10188
คำถามอย่างย่อ
จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
คำถาม
จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
คำตอบโดยสังเขป

พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงาม ความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเ

พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา แต่เขากลับเลือกหนทางที่ถูกต้อง, แน่นอน เวลานั้นเขาจะสูงส่งกว่ามลาอิกะฮฺ เพราะว่ามวลมลาอิกะฮฺไม่มีพลังของเดรัจฉานและชัยฏอนมาลวงล่อใจ แต่ถ้ามนุษย์เลือกแนวทางผิด แน่นอนตรงนี้เขาจะตกต่ำยิ่งกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย เนื่องจากสรรพสัตว์ไม่มีพลังแห่งปัญญาในการคิดเหมือนกับมนุษย์

ถ้าหากพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาให้สมบูรณ์ตั้งแต่แรกและมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ สิ่งนี้จะไม่ถือว่าเป็นความสมบูรณ์ในเชิงของเจตนารมณ์เสรี เพราะพระเจ้าทรงสร้างสิ่งสมบูรณ์ที่สุดก่อนหน้าพวกเขามาแล้วตั้งแต่ต้น ดังนั้น จุดประสงค์ของการสร้างมนุษย์จะบรรลุก็ต่อเมือเขามีศักยภาพของความสมบูรณ์ และมีเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไม่สามารถเข้าถึงความสมบูรณ์แบบของอัลลอฮฺได้ แม้ว่าจุดประสงค์หลักของการสร้างมนุษย์ – ก็คือการวางกฎหมายของพระเจ้า -- ยังไม่บรรลุผลก็ตาม แต่ไม่ได้คัดค้านการสร้างมนุษย์ในเป้าหมายของการรังสรรค์โดยการกำหนดกฎเกณฑ์จากพระองค์ เนื่องจากพระเจ้าทรงอุปสงค์ (การพัฒนาความต้องการ) ให้พวกเขาสามารถเลือกหนทางที่ถูกหรือผิดได้ด้วยตนเอง ถ้าหากพระเจ้าทรงให้การเลือกแนวทางผิดพลาดเป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์แล้ว ความเชื่อและเชื่อฟังปฏิบัติตามของเขา ก็จะไม่เป็นความประสงค์หรือเจตนารมณ์เสรีของเขา

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อความเข้าใจอันดีงามในคำตอบ จำเป็นต้องพิจารณาเนื้อหาบางอย่างต่อไปนี้ :

ก. จุดประสงค์ของพระเจ้าในการสร้าง :

1) พระเจ้าผู้ทรงอำนาจในฐานะที่เป็น วาญิบุลวุญูด (จำเป็นต้องมี) การมีอยู่ของพระองค์ไม่เกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่มีข้อจำกัดและข้อบกพร่อง พระองค์มีความสมบูรณ์แบบทั้งหมด

2) เนื่องจากพระองค์ทรงงดงามทรงเมตตา พระองค์ตรัสในอัลกุรอานว่า :และการประทานให้ของพระเจ้าของเจ้านั้นมิถูกห้าม (แก่ผู้ใด)[1] พระเจ้านั้นการประทานให้จากพระองค์ไม่มีข้อจำกัดอันใดทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าหากพระองค์ไม่ประทานให้ทุกที่ ก็เนืองมาจากศักยภาพในการรับมีข้อจำกัด มิใช่ผู้ให้มีข้อจำกัด ฉะนั้น ทุกสิ่งที่คู่ควรต่อการให้พระองค์จะประทานให้เขา

3) ทุกสิ่งที่ดีและความสมบูรณ์แบบนั้นมาจากพระองค์ และทุกความบกพร่องและทุกความชั่วร้ายเกิดขึ้นจากการไม่มี ตัวอย่างเช่น ความรู้เป็นสิ่งที่ดีและเป็นความสมบูรณ์แบบ, ความไม่รู้, ความชั่วร้าย และความล้มเหลวเป็นความบกพร่อง นอกจากนี้อำนาจ ที่เผชิญกับความไร้อำนาจหรือไร้ความสามารถ ถือเป็นความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าการมีอยู่เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งนั้นคือ ทุกความชั่วร้ายและความบกพร่องไม่มีอยู่จริง

4) เมื่อพิจารณาบทนำที่สามแบ้วสามารถได้บทสรุปว่า ความงดงามและความเมตตาของพระเจ้าการสร้างสรรค์ของพระองค์จะสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ความจำเป็นของความงดงามคือ การสร้างสรรค์

อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากสิ่งสมควรและเหมาะสมต่อการสร้าง แต่พระองค์ไม่ทรงสร้าง ซึ่งการไม่สร้างของพระองค์ประกอบกับความดีของการมีอยู่ ถือว่าเป็นการขัดขวางความดีและเป็นความตระหนี่ถี่เหนียวอย่างยิ่ง แน่นอนว่า ความตระหนี่ถี่เหนียวเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์ จากบทนำดังกล่าวได้บทสรุปว่า ถ้าหากถามว่า เพราะสาเหตุใดพระเจ้าจึงสร้าง คำตอบคือ เพราะความเมตตาและความงดงามของพระองค์นั่นเอง

5) คุณลักษณะของพระเจ้ามิใช่สิ่งเพิ่มเติมบนอาตมันของพระองค์ คุณลักษณะของมนุษย์และร่างกายส่วนอื่น ๆ คือสิ่งที่เพิ่มเข้ามาบนตัวตนของเขา ตัวอย่าง เช่น ผลแอ

ปเปิ้ลหนึ่งผล แต่มีคุณสมบัติคือผิวสีแดง และรสชาติหวาน สีแดงกับความหวานคือสิ่งที่นอกเหนือไปจากแก่นแท้ของแอปเปิ้ล ดังนั้น แอปเปิ้ล อาจแทนที่คุณสมบัติดังกล่าวด้วยการมี รสเปรี้ยว สีเขียว แก่นแท้ของแอปเปิ้ลก็ยังคงอยู่

บทวิพากษ์เกี่ยวกับ ความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้า เป็นหนึ่งในวิชาวิพากษ์วิทยาที่ลุ่มลึก ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหมวด ความเป็นเอกะของพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ สิ่งที่สำคัญสำหรับเราในที่นี้คือ ความเป็นผู้มีเมตตาและงดงามคือสาเหตุสุดท้ายของการสร้าง – เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ซึ่งไม่ได้ออกจากอาตมันของพระองค์ ดังนั้น ถ้าถามว่า เพราะเหตุใดพระเจ้าทรงสร้าง เราสามารถกล่าวได้ว่า "เนื่องจากทรงเป็นพระเจ้า ดังนั้น สาเหตุสุดท้ายอันที่จริงก็คือพระเจ้า และนี่ก็คือคำพูดในเชิงปรัชญาของเราที่กล่าวว่า สาเหตุสิ้นสุดและสาเหตุของการกระทำในการกระทำพระเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกัน[2] บางทีอาจเป็นไปได้ที่จะนำเอาคุณลักษณะนั้นออกมาจากบางโองการ[3] เช่นกัน ที่กล่าวว่า และยัง: และยังพระองค์การงานทั้งมวลจะถูกนำกลับไป [4]

ข.จุดประสงค์ของของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ :

สิ่งที่กล่าวมาแล้วคือ เป้าหมายของผู้กระทำในการสร้างทั่วไป แต่จุดมุ่งหมายของผู้สร้างในการสร้างสิ่งอันเฉพาะ เช่น มนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยจุดที่เป็นความพิเศษ ซึ่งจุดพิเศษเกี่ยวกับมนุษย์นั้นก็คือ ความสมบูรณ์แบบอันเฉพาะบางประการ ซึ่งพระเจ้าประสงค์ที่จะสร้างสิ่งนั้นด้วยการสร้างมนุษย์

คำอธิบาย : ความสมบูรณ์แบบการเป็นผู้งดงามของพระเจ้าคือ พระองค์สามารถสร้างทุกความสมบูรณ์ที่มีความเป็นไปได้  ซึ่งก่อนการสร้างมนุษย์พระองค์ได้สร้างสิ่งอื่นที่มีความสมบูรณ์แบบมาก่อน ซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้นเรียกว่าทูตสวรรค์หรือมะลาอิกะฮฺ มวลมะลาอิกะฮฺเป็นสิ่งถูกสร้างสมบูรณ์แบบนับตั้งแต่เริ่มต้นของการสร้าง หมายถึง มีความสมบูรณ์โดยรูปธรรม ดังนั้น มวลมะลาอิกะฮฺจึงไม่มีโอกาสไปถึงยังความสมบูรณ์แบบใหม่ และการมีอยู่ของมะลาอิกะฮฺก็จะไม่สมบูรณ์ยิ่งไปกว่านี้อีก อัลลอฮฺ ตรัสด้วยภาษาของมะลาอิกะฮฺว่า: และไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเรา เว้นแต่เขาได้มีตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้แล้ว แท้จริง เรานั้นเป็นผู้ที่ยืนเข้าแถวอยู่แล้ว แท้จริง เรานั้นเป็นผู้แซ่ซ้องสดุดีอัลลอฮฺ”[5]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ต่อมาพระองค์ทรงเปิดเผยสิ่งที่อยู่ท่ามกลางฟากฟ้าอันสูงส่ง ทรงจัดสรรให้ที่นั่นดาษดื่นไปด้วยมวลมลาอิกะฮฺของพระองค์ที่มีหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกันไป จำนวนหนึ่งมุ่งมั่นเฉพาะการกราบกรานโดยไม่ได้โค้ง อีกจำนวนหนึ่งมุ่งมั่นเฉพาะการโค้งคารวะโดยไม่ได้เงยขึ้นเลย จำนวนหนึ่งได้ประชิดแถวเข้าด้วยกันโดยไม่แยกจากกัน มลาอิกะฮฺจำนวนหนึ่งสรรเสริญพระองค์โดยไม่เหนื่อยหน่าย”[6] พวกเขาได้มนัสการพระเจ้าและนี่คือความสมบูรณ์ที่พระเจ้าทรงประทานแก่พวกเขา ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ อัลลอฮฺ ตรัสว่า : พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์[7] บางโองการตรัสว่า : ไฟนรกซึ่งเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน มีมลาอิกะฮฺผู้แข็งกร้าวคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชาอย่างเคร่งครัด”[8]

พระเจ้าเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีความงดงาม  ซึ่งนอกจากมลาอิกะฮฺที่มีความสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว พระองค์ยังทรงประสงค์ที่จะสร้างความสมบูรณ์แบบที่เหนือกว่ามลาอิกะฮฺขึ้นไปอีก ซึ่งความสมบูรณ์แบบนั้นอยู่ในการเลือกสรรของมนุษย์ หมายถึง พระองค์จะทรงสร้างสรรพสิ่งหนึ่งซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดเหล่านี้ เขาสามารถนำมาได้ด้วยการเลือกสรรและเจตนารมณ์เสรีของตน ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มนุษย์ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มต้นเขาไม่มีความสมบูรณ์นี้อยู่ในตัว แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการเขาสามารถไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้ เป็นที่ชัดเจนว่า ความสมบูรณ์ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์เสรีและการเลือกสรรอย่างเสรีของตน ซึ่งแน่นอนว่าความสมบูรณ์อันนั้นสูงส่งกว่าความสมบูรณ์ของมลาอิกะฮฺเสียอีก ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรทรงสร้างมลาอิกะฮฺขึ้นจาก ภูมิปัญญา และไม่ได้ประทานความต้องการแก่มลาอิกะฮฺ พระองค์ทรงสร้างบรรดาสรรพสัตว์ขึ้นมาจากความต้องการ (ชะฮฺวัต) และไม่ได้มอบปัญญาแก่สรรพสัตว์ ขณะที่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากสติปัญญาและความต้องการ ดังนั้น ใครก็ตามที่เอาสติปัญญาควบคุมต้องการได้ เขาจะสูงส่งกว่ามลาอิกะฮฺ แต่บุคคลใดก็ตามเอาความต้องการควบคุมสติปัญญา เขาจะเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน[9] เมาลาได้เน้นย้ำประเด็นดังกล่าวไว้ว่า

ฮะดีซ กล่าวถึงการรังสรรค์อันสูงส่ง

พระองค์ทรงสร้างจักรวาลใน 3 ลักษณะ

กลุ่มหนึ่ง เปี่ยมด้วยสติปัญญาและความรอบรู้

นามว่ามลาอิกะฮฺ พวกเขาไม่รับรู้สิ่งใดนอกจากการกราบกราน

ความโลภ และโมหะไม่มีอยู่ในตัว

รัศมีสมบูรณ์แห่งชีวิตคือความรักต่อพระเจ้า

อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่มีความรอบรู้

นามว่าสัตว์ ไม่รู้จักสิ่งใดนอกจากใบหญ้า

มันมองไม่เห็น เว้นแต่คอกและยอดหญ้า

มันไม่เห็นมีเกียรติและศักดิ์ศรี

กลุ่มที่สามนามว่ามนุษย์ผู้มีเนื้อหนัง

ครึ่งหนึ่งจากเทพแห่งฟากฟ้าและครึ่งหนึ่งจากลาผู้โง่เขลา

ครึ่งหนึ่งของลาคือความต่ำทราม

อีกครึ่งหนึ่งคือความสูงศักดิ์

สิ่งใดมีชัยเหนืออีกสิ่งในการต่อสู้

คือเครื่องประดับที่จะชนะคู่ต่อสู้

ดังนั้น จุดประสงค์ของผู้กระทำและสาเหตุสุดท้ายในการสร้างมนุษย์ คือความงดงามของพระเจ้า ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับความงดงามของพระเจ้าคือ การสร้างความสมบูรณ์แบบที่เป็นไปได้ สมบูรณ์ซึ่งดีกว่าความสมบูรณ์นั้นคือ ความสมบูรณ์ยิ่งกว่า

ค.  ทำไมพระเจ้าจึงไม่สร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์ :

ถ้าหากพิจารณาเรื่องราวที่ได้นำเสนอไป สามารถสรุปได้ว่า จุดประสงค์ในการสร้างมนุษย์จะมีความเป็นไปได้ก็ต่อเมือ มนุษย์มีศักยภาพที่จะไปถึงยังความสมบูรณ์ ซึ่งเขาจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยการกระทำและเจตนารมณ์เสรีของตนเอง ในขณะที่ถ้าเขามีความสมบูรณ์แบบนั้นตั้งแต่แรกแล้ว ความสมบูรณ์แบบนั้นก็จะไม่ได้เกิดจากเจตนารมณ์เสรีของตน และจุดประสงค์ในการสร้างมนุษย์ก็จะบกพร่อง

สิ่งที่ควรพิจารณาคือ แม้แต่การพัฒนาขั้นหนึ่งของบันไดแห่งความสมบูรณ์สำหรับมนุษย์, ก็จะถูกนับว่าเป็นความสมบูรณ์ที่เกิดจากเจตนารมณ์เสรี ซึ่งจะทำให้จุดประสงค์หลักของการสร้างนั้นสมบูรณ์ไปด้วย

ง. มนุษย์ผู้ปฏิเสธและมีความผิด :

ถ้าหากมนุษย์ไม่สามารถวิวัฒนาการความสมบูรณ์ของตนขึ้นไปสักขั้นหนึ่ง ตลอดอายุขัยของเขาก็จะจมปรักอยู่กับบาปกรรมและการปฏิเสธ ซึ่งเท่ากับเขาได้ออกจากจุดประสงค์ของการสร้าง เนื่องจากเขาได้ทำให้ศักยภาพของตนเป็นรูปธรรมขึ้นมา ทั้งที่ในตัวมนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนไปสู่ก้นบึ้งของความตกต่ำ อันเป็นชั้นที่ต่ำที่สุด พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะที่ว่าเขาสามารถเลือกหนทางสมบูรณ์หรือหนทางตกต่ำก็ได้ แม้คนผิดและผู้ปฏิเสธก็จะไม่ขับเคลื่อนไปในหนทางที่ขัดแย้งกับความประสงค์ที่ดีของพระเจ้า ทว่าพระเจ้าทรงทรงยอมรับความสูงส่งของมนุษย์ไปตามความสมบูรณ์แต่ไม่ทรงยอมรับความตกต่ำของเขา อีกนัยหนึ่ง ในการสร้างมนุษย์ของพระเจ้านั้นทรงมีจุดประสงค์ที่เป็นตักวียน์ และตัชรีอีย์ จุดประสงค์ที่เป็นตักวีนีย์คือ : มนุษย์ทุกคนสามารถทำให้ศักยภาพของตนเป็นรูปธรรมทั้งดีและไม่ดีได้ ส่วนความต้องการที่เป็นตัชรีอีคือ เฉพาะพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์เท่านั้น ที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนศักยภาพให้เป็นรูปธรรม

จากคำอธิบายสามารถกล่าวได้ว่า ผู้ศรัทธาคือผู้ที่ทำให้จุดประสงค์ที่เป็นตัชรีอีย์ บรรลุผลและตนยังตั้งอยู่ในจุดประสงค์ที่ป็นตักวีนีย์อีกด้วย ส่วนผู้ปฏิเสธและคนบาป แม้ว่าจะไม่ทำให้เป้าหมายของตัชรีอีบรลุผล แต่ก็ยังอยู่ในเป้าหมายของตักวีนียะฮฺ

หมายเหตุ : เนื่องจากการให้ความสำคัญต่อประเด็นของการมีอยู่ มีเหตุผลอ้างอิงเป็นจำนวนมาก เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อไป



[1] อัลกุรอานบทอัสรอ 20

[2] เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัดฮุซัยนฺ อัลมีซาน เล่ม 8 หน้า 44, มิซบายัซดี มุฮัมมัดตะกี มะอาริฟกุรอาน เล่ม 1 หน้า 154

[3] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 210, อาลิอิมรอน 109, อินฟิอาล 144, ฮัจญ์ 76, ฟาฏิร 4, ฮะดีด 5

[4] อัลกุรอาน บทฮูด 123

[5]  อัลกุรอานบทซอฟาต 164-166

[6] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนา 1

[7] อัลกุรอาน บทอัลอันบิยาอ์ 27

[8] อัลกุรอาน บทอัตตะฮฺรีม 6

[9]  วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 11 หน้า 164

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16383 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17805 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    7333 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
    11254 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/29
    สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา ...
  • ท่านอับบาสอ่านกลอนปลุกใจว่าอย่างไรขณะกำลังนำน้ำมา
    8982 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/25
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    6859 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • ผู้มีญุนุบที่ได้ทำตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ สามารถเข้ามัสยิดได้หรือไม่?
    6954 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ผู้ที่มีญุนุบที่อยู่ในเงื่อนไขที่สามารถทำตะญัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นหลังจากที่ได้ทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่แล้วก็สามารถเข้าไปในมัสยิดเพื่อร่วมทำนมาซญะมาอัตหรือฟังบรรยายธรรมได้ท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า: “ผลพวงทางด้านชาริอะฮ์ที่เกิดขึ้นจากการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่จะมีในกรณีการทำการตะยัมมุมทดแทนเช่นกันนอกจากกรณีการตะยัมมุมทดแทนด้วยเหตุผลที่จะหมดเวลานมาซมัรญะอ์ท่านอื่นๆก็มีทัศนะนี้เช่นเดียวกัน
  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7696 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • กาสาบานต่อท่านศาสดาและอิมามในเดือนรอมฎอนคือ สาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือ?
    7299 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    การสาบาน มิใช่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดเสีย แต่ถ้าได้สาบานโดยพาดพิงสิ่งโกหกไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่านโดยตั้งใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่กล่าวว่า เป็นการโกหกที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ ศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ส่วนคำสาบานต่างๆ ที่อยู่ในบทดุอาอฺไม่ถือว่าโกหก ทว่าเป็นการเน้นย้ำและอ้อนวอนให้ตอบรับดุอาอฺที่ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียแต่อย่างใด ...
  • ปรัชญาของการมีทาสในอิสลามคืออะไร? อิสลามมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่าอย่างไร?
    12116 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    ถูกต้องบทบัญญัติเกี่ยวกับ การแต่งงานกับทาส, การเป็นมะฮฺรัมกับทาส, สัญญาซื้อขาย (ข้อตกลงที่จะปล่อยทาสเป็นไท) และ ...ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน, การมีทาสได้รับการยืนยันว่ามีจริงในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต้นยุคอิสลาม แต่จำเป็นต้องกล่าวว่าอิสลามมีโปรแกรมที่ละเอียดอ่อน และมีกำหนดเวลาในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท ซึ่งบั้นปลายสุดท้ายของทั้งหมดเหล่านั้นคือ การได้รับอิสรภาพเป็นไททั้งสิ้น ดังนั้นการเผชิญหน้าของอิสลามกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้: 1-อิสลามมิเคยเริ่มต้นปัญหาเรื่องทาส 2-อิสลามถือว่าปัญหาชะตากรรม และความเจ็บปวดใจของทาสในอดีตที่ผ่านมาคือ ปัญหาความล้าหลังอันยิ่งใหญ่ของสังคม 3-อิสลามได้วางโครงการที่ละเอียดอ่อน เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็นไท, เนื่องจากครึ่งหนึ่งของพลเมืองในสมัยก่อนเป็นทาสทั้งสิ้น, พวกเขาไม่มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพการงาน, ไม่มีปัจจัยสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป.ถ้าหากอิสลามได้มีคำสั่งต่อสาธารณชนว่าให้ทั้งหมดปล่อยทาสให้เป็นไท, ซึ่งเป็นไปได้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะต้องสูญเสียชีวิต หรือไม่ชนส่วนใหญ่ก็จะต้องว่างงานไร้อาชีพ หิวโหย ถูกกีดกัน และพวกเขาต้องได้รับแรงกดดันจนกระทั่งเข้าทำร้ายและโจมตีในทุกที่ การประจัญบาน การนองเลือด และการทำลายกฎระเบียบของสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามได้วางแผนการไว้อย่างละเอียด เพื่อดึงดูดสังคมให้ทาสเหล่านี้ได้รับอิสรภาพ และเป็นไทไปที่ละน้อย ซึ่งแผนการดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60136 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57576 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42222 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39377 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38954 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34008 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28026 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27971 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27808 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25805 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...